“กรมโยธาฯ” อัปเดตผลตรวจอาคารโดนแรงสะเทือนแผ่นดินไหว พบเสียหายหนักสั่งระงับใช้ 36 ตึก

แถลงการณ์  ศูนย์รับแจ้งเพื่อตรวจสอบความเสียหายของอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว (ศรต.ยผ.)  กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน 2568

“กรมโยธาฯ” อัปเดตผลตรวจอาคารโดนแรงสะเทือนแผ่นดินไหว พบเสียหายหนักสั่งระงับใช้ 36 ตึก – Top News รายงาน

 

ศูนย์รับแจ้งเพื่อตรวจสอบความเสียหายของอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว (ศรต.ยผ.) ณ กรมโยธาธิการและผังเมือง ถนนพระรามที่ 6 ได้ร่วมกับสภาวิศวกร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร และวิศวกรอาสาภาคเอกชน จำนวน 143 คน ดำเนินการตรวจสอบอาคารที่มี การแจ้งว่าได้รับความเสียหาย โดยมีการแบ่งอาคารในการตรวจสอบออกเป็น 3 กลุ่ม และขอรายงานผล


การดำเนินงานตามการแบ่งกลุ่มอาคาร ดังนี้

อาคารกลุ่มที่ 1 ได้แก่ อาคารภาครัฐ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน อาคารราชการในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการตรวจสอบร่วมกับ สภาวิศวกร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร และวิศวกรอาสาภาคเอกชน ดำเนินการตรวจสอบอาคารที่ได้รับการร้องขอ ในวันที่ 2 เมษายน 2568 จำนวน 26 หน่วยงาน จำนวน 86 อาคาร สามารถใช้งานได้ปกติ สีเขียว จำนวน 78 อาคาร /  มีความเสียหายปานกลาง สามารถใช้งานได้ สีเหลือง จำนวน 8 อาคาร และไม่มีอาคารที่มีความเสียหายอย่างหนักและระงับการใช้อาคาร สีแดง

สรุป ดำเนินการตรวจสอบอาคาร สะสมตั้งแต่ วันที่ 28 มีนาคม – 2 เมษายน 2568 จำนวน 151 หน่วยงาน
จำนวน 432 อาคาร สามารถใช้งานได้ปกติ สีเขียว จำนวน 391 อาคาร / มีความเสียหายปานกลาง สามารถใช้งานได้     สีเหลือง จำนวน 39 อาคาร และทางเชื่อมอาคาร จำนวน 1 แห่ง / โครงสร้างมีความเสียหายอย่างหนักโดยได้สั่งให้
ระงับการใช้งานอาคาร สีแดง จำนวน 2อาคาร

อาคารกลุ่มที่ 2 ได้แก่ อาคารสูง โรงแรม คอนโดมิเนียม หอพัก ห้างสรรพสินค้าที่เป็นของภาคเอกชน อาคารเหล่านี้ เป็นอาคารที่ต้องมีการตรวจสอบอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคารทุกปีอยู่แล้ว กรมโยธาธิการและผังเมืองได้แนะนำให้เจ้าของอาคารให้ผู้ตรวจสอบอาคารที่เคยตรวจสอบเข้าดำเนินการ ตามคู่มือสำรวจความเสียหายขั้นต้นของโครงสร้างอาคารหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวของกรมโยธาธิการและผังเมือง ในกรณีที่ผู้ตรวจสอบอาคาร ไม่สามารถตรวจสอบอาคารได้ ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองมีผู้ตรวจสอบอาคารที่ขึ้นทะเบียน จำนวนมากกว่า 2,600 ราย สามารถค้นหาผู้ตรวจสอบอาคารได้ผ่านเว็บไซต์กรมโยธาธิการและผังเมือง ปัจจุบันกรมโยธาธิการและผังเมือง

เปิดสายด่วนสำหรับขอรับคำปรึกษาและแจ้งเหตุที่หมายเลข 1531 / 02 299 4191 และ 02 299 4312 ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มีหนังสือด่วน สั่งการให้กรุงเทพมหานคร ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น แจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารตามมาตรา 32 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้แก่ อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษอาคารชุมนุมคน โรงมหรสพ โรงแรมตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป โรงงานที่มีความสูงมากกว่า 1 ชั้น และพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป สถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป อาคารชุดหรืออาคารอยู่อาศัย รวมที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป และป้าย ให้ดำเนินการตรวจสอบสภาพอาคาร โครงสร้างของ ตัวอาคารและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ของตัวอาคาร  รายงานผลการตรวจสอบให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ พร้อมมาตรการควบคุมกรณีพบว่าอาคารมีความชำรุดในระดับต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจต่อผู้พักอาศัย และผู้ใช้อาคาร โดยตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2568 กรุงเทพมหานครได้แจ้งเจ้าของอาคารภาคเอกชนที่ต้องทำการตรวจสอบตามกฎหมายแล้วจำนวน 11,000 แห่ง เพื่อดำเนินการตรวจสอบอาคารและรายงานกรุงเทพมหานครทราบซึ่งมีการแจ้งว่าได้มีการตรวจสอบแล้วจำนวน 326 แห่ง

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อาคารกลุ่มที่ 3 ได้แก่ อาคารบ้านพักอาศัย ตึกแถว ห้องแถว และอาคารทั่วไปในพื้นที่กรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานครจะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการตรวจสอบให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาแก่พี่น้องประชาชนผ่าน Traffyfondue ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 2 เมษายน 2568 ได้รับแจ้งทั้งหมด 17,290 เรื่อง และดำเนินการแล้วเสร็จ 15,561 เรื่อง

สำหรับอาคารในต่างจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ทางกรมโยธาธิการและผังเมือง  ได้สั่งการให้โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ดำเนินการตรวจสอบอาคาร ร่วมกับวิศวกรขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นและวิศวกรอาสาของเอกชนในพื้นที่ ร่วมกันดำเนินการเช่นเดียวกับส่วนกลางและให้คำปรึกษาแก่พี่น้องประชาชน ในพื้นที่โดยสั่งการให้มีการตรวจสอบอาคารสาธารณะ เช่น โรงพยาบาล หรืออาคารหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการใช้อาคาร ปัจจุบันได้มีผลการตรวจสอบอาคารในส่วนจังหวัด 76 จังหวัด จำนวน 3,999 อาคารสามารถใช้งานได้ปกติ สีเขียว จำนวน 3,746  อาคาร / มีความเสียหายปานกลาง สามารถใช้งานได้ สีเหลือง จำนวน 219 อาคาร / โครงสร้างมีความเสียหายอย่างหนักโดยได้สั่งให้ระงับการใช้งานอาคาร สีแดง จำนวน 34 อาคาร

 

สรุปผลการตรวจสอบอาคารที่มีการแจ้งว่าได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว ตั้งแต่ วันที่ 28 มีนาคม – 2 เมษายน 2568 ทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด รวมทั้งสิ้น จำนวน 4,431 อาคาร สามารถใช้งานได้ปกติ สีเขียว จำนวน 4,137 อาคาร / มีความเสียหายปานกลาง สามารถใช้งานได้ สีเหลือง จำนวน 258 อาคาร / โครงสร้างมีความเสียหายอย่างหนักโดยได้สั่งให้ระงับการใช้งานอาคาร สีแดง จำนวน 36 อาคาร นอกจากนี้  กรมโยธาธิการและผังเมืองมีช่องทางให้เจ้าของอาคาร ผู้ตรวจสอบอาคาร หรือพี่น้องประชาชน สามารถรับทราบข้อมูลต่าง ๆ และให้คำปรึกษาผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ของกรมฯ สื่อมวลชน โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์

 

 

ทั้งนี้ กรมฯ ได้สร้างความเข้าใจถึงเกณฑ์แบ่งสีระดับสถานะโครงสร้างอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวขั้นต้น และข้อปฏิบัติหลังการตรวจสอบอาคาร ดังนี้

สีเขียว

สถานะโครงสร้างอาคารที่ได้รับการตรวจสอบขั้นต้น : โครงสร้างอาคารมีความเสียหายเล็กน้อยหรือไม่มีความเสียหาย

– คำแนะนำการใช้อาคาร : สามารถใช้งานอาคารได้ตามปกติ

ข้อปฏิบัติหลังการตรวจสอบอาคาร : เจ้าของอาคารควรเฝ้าระวังสภาพความเสียหายของอาคารที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง และหากตรวจสอบพบการเปลี่ยนแปลงหรือพบสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตรายให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลอาคารของหน่วยงาน และแจ้งวิศวกรผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบต่อไป

สีเหลือง

– สถานะโครงสร้างอาคารที่ได้รับการตรวจสอบขั้นต้น : โครงสร้างอาคารมีความเสียหายปานกลาง สามารถใช้งานได้แต่ต้องระมัดระวังภัยจากเศษวัสดุร่วงหล่นจากชิ้นส่วนโครงสร้างและส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาคาร

– คำแนะนำการใช้อาคาร : สามารถใช้งานอาคารได้ต่อไป (บางส่วนหรือทั้งหมด) และอาคารต้องได้รับ
การตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง

– ข้อปฏิบัติหลังการตรวจสอบอาคาร : จัดหาวิศวกรผู้เชี่ยวชาญดําเนินงานสำรวจความเสียหาย
อย่างละเอียดอีกครั้งเพื่อยืนยันความปลอดภัยในการใช้งานอาคารและกำหนดวิธีซ่อมแซมที่เหมาะสมต่อไป

สีแดง

– สถานะโครงสร้างอาคารที่ได้รับการตรวจสอบขั้นต้น : โครงสร้างอาคารมีความเสียหายอย่างหนัก
มีสภาพไม่ปลอดภัย

– คำแนะนำการใช้อาคาร : ห้ามใช้งานอาคาร

ข้อปฏิบัติหลังการตรวจสอบอาคาร : การเข้าภายในอาคาร ต้องได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ รวมถึงต้องจัดหาวิศวกรผู้เชี่ยวชาญดำเนินการสํารวจความเสียหายอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อกำหนดวิธีการซ่อมแชมที่เหมาะสม ก่อนเปิดให้ใช้อาคารต่อไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“รองโฆษกรัฐบาล” ยืนยันค่าไฟไม่ได้เพิ่ม แต่ลดลงเหลือ 3.99 บ.ต่อหน่วย
โค้งสุดท้าย "พิพัฒน์" นำทีมภูมิใจไทย เคาะประตูบ้าน ชาวเมืองคอน ขอเสียงหนุน "ไสว" เป็นสส.เขต 8
ชาวเมืองน่าน เข้าพบ "นิพนธ์" อดีตรมช.มหาดไทย ผลักดันพิสูจน์สิทธิ ออกโฉนดที่ดินสำเร็จ หลังรอคอยนานกว่า 30 ปี
"สันติสุข" ปลื้มปริ่ม "ในหลวง-พระราชินี" ทรงขับเครื่องบิน เสด็จฯเยือนราชอาณาจักรภูฏาน ทรงได้รับการถวายพระเกียรติ สุดประทับใจคนไทย
“ทักษิณ” ลั่นไม่สั่งใครเบรค “กัน จอมพลัง” ยุ่งคดีพีช ฟาด "เต้ มงคลกิตติ์" หลังปูดข่าว
"เจ้าอาวาส" สุดทนขึ้นป้าย “ไม่มีเงินให้ขโมยแล้ว” หลังคนร้ายงัดตู้บริจาคหลายครั้ง
“ทักษิณ” กลับเชียงใหม่อีกครััง เปิดให้รดน้ำดำหัว ขอพรในเทศกาลสงกรานต์ ก่อนช่วย “อัศนี” หาเสียงพรุ่งนี้
“นายกฯ” เตรียมลุยประชุม ครม.สัญจร หลังออกจาก รพ.แล้ว จ.นครพนม 28-29 เม.ย.นี้
"ดีอี" ยกระดับศูนย์ AOC 1441 สู่ ศปอท. เพิ่มประสิทธิภาพบูรณาการข้อมูลปราบ “โจรออนไลน์”
"กนก" โพสต์แฟนข่าว "ท็อปนิวส์" เต็มอิ่ม สนุกสุดทัวร์ย้อนประวัติศาสตร์ "ลั่วหยาง-ซีอาน"

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น