จับตา “รอยเลื่อนภาคใต้” ตะลึง! ยาวสุด 270 กม. พิกัดใกล้ “เขื่อนยักษ์”

“นักวิชาการ” เผยข้อมูลสะพรึง! รอยเลื่อนแผ่นดินไหวภาคใต้ยังมีพลัง จับตา “รอยเลื่อนระนอง” ยาวถึง 270 กม. พาดผ่าน 4 จังหวัดใหญ่ พิกัดใกล้เขื่อน

จับตา “รอยเลื่อนภาคใต้” ตะลึง! ยาวสุด 270 กม. พิกัดใกล้ “เขื่อนยักษ์” – Top News รายงาน

หลังเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในประเทศเมียนมา และบ้านเราก็ได้รับผลกระทบไปแบบเต็มๆ บางคนบอกเลยว่า ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยเจออะไรแบบนี้มาก่อน ไม่อยากจะเชื่อว่าเกิดแผ่นดินไหวกลางกรุงเทพมหานคร ต่อมามีการตั้งคำถามถึงความปลอดภัยในการพักอาศัยบนตึกสูง หรือแม้กระทั่งการตั้งรกรากในเมืองกรุง ว่าเป็นการตัดสินใจถูกแล้วจริงใช่หรือไม่ ขณะที่หลายคนเริ่มมองหาบ้านในต่างจังหวัดกันแล้ว แต่ก็ต้องบอกตรงนี้เลยค่ะว่า ขอให้ศึกษาข้อมูลดีๆ ก่อนตัดสินใจ เพราะในประเทศไทยยังมีรอยเลื่อนที่ยังมีพลัง กระจายตัวอยู่ในภูมิภาคต่างๆ หากไม่เกิดแผ่นดินไหวในบริเวณรอยเลื่อนเหล่านั้น ก็โชคดีไป แต่ข้อมูลพวกนี้ เรารับรู้เอาไว้ ก็ไม่เสียหายค่ะ

 

โดยล่าสุด ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โพสต์เฟซบุ๊กให้ข้อมูลที่น่าสนใจระบุว่า จับตารอยเลื่อนแผ่นดินไหวภาคใต้

ภาคใต้มีกลุ่มรอยเลื่อนที่ยังมีพลัง 2 กลุ่ม ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษคือ กลุ่มรอยเลื่อนระนองและกลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย กลุ่มรอยเลื่อนระนอง ยาว 270 กม. พาดผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และพังงา และมีรอยเลื่อนย่อยมาถึงอ่าวไทย จังหวัดชุมพร บริเวณนี้ กรมชลประทานมีโครงการสร้างเขื่อนท่าแซะ ที่ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร   ที่ผ่านมาในช่วงใกล้ๆ เคยมีแผ่นดินไหวขนาด 4.0 ลึก 10 กม.เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ปี 55

กลุ่มรอยเลื่อนที่ 2 กลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย รอยเลื่อนยาว 150 กม. พาดผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา และภูเก็ต บริเวณนี้มีเขื่อนเชี่ยวหลาน เขื่อนขนาดใหญ่ของ กฟผ. เมื่อวันที่ 16 เมษายน ปี 55 ได้เกิดแผ่นดินไหวบริเวณกลุ่มรอยเลื่อนนี้ ขนาด 4.3 มีศูนย์กลางที่ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เมื่อเวลา 06.17 น. วันที่ 13 กรกฎาคม ปี 55 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.2 ลึก 2 กม. ศูนย์กลางบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนเชี่ยวหลาน ต.เขาพัง อ.ตาขุน จ.สุราษฎร์ธานี

รศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ ได้กล่าวเมื่อ 30 เมษา ปี 55 ว่า เคยเกิดแผ่นดินไหวบนบก 6-7 ริกเตอร์ จากรอยเลื่อนระนอง เมื่อ 2,000 ปีที่แล้ว และรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย เมื่อ 4,000 ปีที่แล้ว ตอนนี้ใกล้คาบอุบัติซ้ำ ของการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่แล้ว แต่ยังไม่มีแผ่นดินไหวรุนแรง

เมื่อปี 55 กรมทรัพยากรธรณี ได้ออกมาแถลงว่า ตัองจับตากลุ่มรอยเลื่อนทั้งสองเป็นพิเศษ

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข้อมูลดังกล่าวนี้ ทำให้ควรดำเนินการดังนี้
1.ไม่ควรสร้างเขื่อนท่าแซะ
2.กรณีเขื่อนเชี่ยวหลาน ควรมีการประเมินความเสี่ยง และมีแผนเผชิญเหตุฉุกเฉินทางสิ่งแวดล้อม ให้ประชาชนท้ายเขื่อน เพราะตอนนี้ใกล้คาบอุบัติซ้ำ ของการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่แล้ว
3.การก่อสร้างอาคาร และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในบริเวณดังกล่าว ควรออกแบบรองรับแผ่นดินไหวด้วย
4.ควรมีระบบแจ้งเตือนภัยแผ่นดินไหวหลังเกิดเหตุทันที
5.ประชาชนควรมีความรู้ในการเอาตัวรอดจากเหตุแผ่นดินไหว
6.รัฐควรมีการประเมินสถานการณ์การเกิดแผ่นดินไหว และความรุนแรง กันไว้ดีกว่าแก้ อย่าให้วัวหายแล้วค่อยล้อมคอก

 

และไม่ใช่แค่เพียงภาคใต้เท่านั้นค่ะ ภาคอีสานก็มีรอยเลื่อนที่มีพลังงานเช่นเดียวกัน แม้ในโลกออนไลน์ จะมีการแชร์ข้อความว่า “ภาคอีสานไม่มีรอยเลื่อน จึงจะไม่เกิดแผ่นดินไหว” เรื่องนี้ ผศ.ดร.ไชยณรงค์ ก็โพสต์เฟซบุ๊กชี้ให้ข้อมูลด้วยเช่นกัน ระบุว่า ความเชื่อนี้ไม่เป็นความจริง พร้อมเผยข้อมูลและหลักฐานเชิงวิชาการ ที่ชี้ชัดว่าในปี 67 เพียงปีเดียว จังหวัดบุรีรัมย์เกิดแผ่นดินไหว 2 ครั้ง ได้แก่
• วันที่ 22 กรกฎาคม 2567 ขนาด 2.9 ริกเตอร์ ลึก 1 กม. ศูนย์กลางอยู่ที่ ต.หินโคน อ.ลำปลายมาศ
• วันที่ 24 กรกฎาคม 2567 เวลา 18.01 น. ขนาด 3.0 ริกเตอร์ ลึก 1 กม. ศูนย์กลางอยู่ที่ ต.โคกล่าม อ.ลำปลายมาศ ห่างจากจุดเดิมประมาณ 10 กม.

 

อาจารย์ไชยณรงค์ย้ำว่า ข้อมูลจากเอกสารการตรวจสอบรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย โดยอาจารย์อดิศร ฟุ้งขจร ชี้ชัดว่า ภาคอีสานมีรอยเลื่อนมีพลังถึง 12 เส้น กระจายทั่วภูมิภาค โดยมีรอยเลื่อนที่ยาวเกิน 50 กม. ถึง 6 เส้น ซึ่งยิ่งรอยเลื่อนมีความยาวมาก ก็ยิ่งเสี่ยงเกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรงขึ้น

โดยรอยเลื่อนที่ยาวเกิน 100 กิโลเมตร ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ได้แก่

1.รอยเลื่อนโคราช พาดผ่านอำเภอครบุรี อำเภอโชคชัย อำเภอเมือง อำเภอขามทะเลสอ อำเภอสูงเนิน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา , อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ , อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี , อำเภอศรีเทพ และอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 193 กิโลเมตร

2.รอยเลื่อนท่าอุเทน พาดผ่านตามแนวพรมแดนไทย-ลาว ด้านอำเภอเมือง อำเภอท่าอุเทน อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม , อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอบุ่งคล้า จังหวัดหนองคาย ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 136 กิโลเมตร

ดังนั้น เมื่อมีข้อมูลนี้ การออกแบบและก่อสร้างอาคารสาธารณะ อุโมงค์ อาคารเกิน 5 ชั้น ในพื้นที่ดังกล่าว ก็ควรออกแบบและก่อสร้างให้รองรับแผ่นดินไหวด้วย และต้องระวังกิจกรรมของมนุษย์ ที่จะไปกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหว โดยเฉพาะการสร้างอ่างเก็บน้ำ และการระเบิดแผ่นดินเพื่อทำเหมืองนั่นเอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

กลับมาอีกครั้งกับ "คอนเสิร์ตเพชรในเพลง" ในงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย 8 เม.ย.นี้ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ชมฟรี
จนท.สนธิกำลัง "บุกจับบ่อนเสือมังกร" นนทบุรี รวบนักพนันนับร้อยราย
"สยามพิวรรธน์" ผนึกกำลังพันธมิตร เปิดศูนย์กลางรับบริจาค จากเหตุธรณีธรณีพิบัติภัย ช่วย รพ.ทั่วประเทศ ภายใต้โครงการ "สยามรวมใจ ไทยช่วยไทย"
"อนุทิน" ตั้ง คกก. สอบข้อเท็จจริง เหตุตึก สตง. ถล่ม ขีดเส้นตาย 7 วัน ต้องรู้เรื่อง
"สันธนะ" เข้าให้ปากคำตร.คดีถูก "บังมัด คลองตัน" ตบหน้าผับ ด้านผกก.ยันเป็นคดีลหุโทษ ต้องดำเนินคดี
"รมว.นฤมล" เผยความพร้อม เตรียมจัดงานวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 8-9 พ.ค. 68
จับตา! “รอยเลื่อนภาคใต้” ใกล้ถึงคาบอุบัติซ้ำ “กูรู” เตือน “เขื่อนเชี่ยวหลาน”
จีนสั่งเก็บภาษีสินค้าสหรัฐ 34% ตอบโต้ทรัมป์
สถานทูตจีนตอบคำถามปมบริษัทจีนร่วมก่อสร้างตึกสตง.
ยูน ซ็อกยอลแถลงขอโทษหลังถูกศาลเกาหลีใต้ถอดถอน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น