“การรถไฟฯ” แจง ผลตรวจเหล็ก สร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

“การรถไฟฯ” แจง ผลตรวจเหล็ก สร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

วันนี้ 5 เม.ย. 68 เวลา 13.30 น.เพจเฟซบุ๊ก ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย โพสต์ข้อความว่า นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ตามที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้การรถไฟฯ เร่งดำเนินการตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้างและคุณภาพของเหล็ก

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ที่ใช้ในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงสัญญาที่ 3-1 ซึ่งครอบคลุมงานโยธาบริเวณช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า อย่างเร่งด่วน ภายหลังเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความกังวลต่อพี่น้องประชาชน เกี่ยวกับความปลอดภัยของโครงสร้างฯ นั้น การรถไฟฯ ได้ส่งทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ตรวจสอบความมั่นคง ของโครงสร้างอย่างละเอียดแล้ว โดยผลการตรวจสอบโครงสร้างหลักพบว่า ไม่มีรอยแตกร้าวหรือความเสียหายใดๆ ทั้งนี้โครงสร้างดังกล่าวได้รับการออกแบบ ให้สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว และการใช้งานตามมาตรฐานที่กำหนด

นอกจากนี้ การรถไฟฯ ยังร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างเหล็กจากโรงเก็บเหล็กมวกเหล็ก และโรงเก็บเหล็กทับกวาง ที่ใช้ในการก่อสร้างของสัญญา 3-1 (แก่งคอย – กลางดง และช่วงปางอโศก -บันไดม้า) เพื่อนำมาทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรม และมาตรฐานคุณภาพในห้องปฏิบัติการ โดยครอบคลุมการทดสอบในด้านต่างๆ ได้แก่ ค่าความต้านแรงดึงที่จุดคราก (Yield
Strength), ค่าความต้านแรงดึงสูงสุด (Tensile Strength), ค่าความยืด (Elongation), การทดสอบการดัดงอ (Bending Test) และส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Composition)

 

 

 

 

 

 

ผลการทดสอบดังกล่าวพบว่า เหล็กทุกตัวอย่างมีคุณสมบัติ เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดครบถ้วนในทุกด้าน โดยผ่านการทดสอบค่าทางวิศวกรรม และส่วนประกอบทางเคมีตามข้อกำหนด สำหรับวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างระบบรางอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ผลการตรวจสอบดังกล่าวยืนยันได้ว่า เหล็กที่นำมาใช้ในโครงการมีคุณภาพสูง แข็งแรง และมีความปลอดภัย ต่อการใช้งานตามมาตรฐานสากล

นายวีริศ กล่าวเพิ่มเติมว่า การรถไฟฯ มีมาตรการควบคุมคุณภาพเหล็ก อย่างเคร่งครัดในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตเหล็ก ที่ตรวจสอบตั้งแต่โรงงาน เพื่ออนุมัติและรับรองการผลิต เมื่อตรวจสอบโรงงานได้คุณภาพแล้วจึงจะนำเหล็กเข้ามาใช้ในโครงการ นอกจากนี้ขั้นตอนก่อนใช้งานหลังเหล็กมาถึงหน้างาน ผู้ควบคุมงานจะเก็บตัวอย่างเหล็ก ไปทดสอบอีกครั้งตามข้อกำหนด หากได้มาตรฐานก็จะนำเหล็กไปใช้งาน และเทคอนกรีต ขณะที่ขั้นตอนระหว่างการก่อสร้าง ผู้ควบคุมงานจะตรวจสอบ และควบคุมทุกกระบวนการ เพื่อให้มั่นใจว่าวัสดุที่ใช้ในโครงการมีคุณภาพปลอดภัย เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา

 

 

 

 

 

นายวีริศ กล่าวทิ้งท้ายว่า “การรถไฟฯ ดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน รวมถึงโครงการก่อสร้างทุกโครงการ ภายใต้มาตรฐานสากล พร้อมทั้งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและตรวจสอบอย่างรอบด้านจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอน เพื่อให้ระบบขนส่งทางรางของประเทศไทยปลอดภัย มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพสูงสุด รองรับการเดินทางในอนาคตได้อย่างยั่งยืน ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่ว่า คมนาคมเพื่อโอกาสประเทศไทย”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ปภ.ประชุมด่วน ผู้ให้บริการ 3 เครือข่ายมือถือ ซักซ้อม-ปรับวิธีส่งข้อมูลแจ้งเตือนภัยผ่าน SMS และ Cell Broadcast
"ยูเน็กซ์ อีวี" เปิดตัวแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนอัจฉริยะปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย พร้อมจับมือพันธมิตร ธุรกิจสร้างระบบนิเวศ EV ครบวงจร
"พาณิชย์–DITP" จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าระหว่าง ผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาล-น้ำตาลแปรรูปกับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์
“การรถไฟฯ” แจง ผลตรวจเหล็ก สร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
"ผบ.ทบ." เยี่ยมหน่วยตรวจเลือกทหารภาคใต้ ย้ำทุกกระบวนการยึดตามระเบียบ โปร่งใส
นาทีเดือด "กลุ่ม ศปปส." ปะทะ "แกนนำกลุ่มแรงงานพม่า Bright future" หลังจะมาตั้งม็อบประท้วงหน้า UN
"กรมทางหลวงชนบท" โร่แจง ไม่เคยเป็นคู่สัญญากับ "บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 "
"ก.แรงงาน" เตรียมถกแนวทาง "หลักประกันค่าชดเชย" กรณีถูกเลิกจ้าง 9 เม.ย.นี้
จนท.นำเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่โซน B ได้แล้ว ลุยตัดสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่
วอร์รูม “ก.แรงงาน” เร่งเครื่องจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อแผ่นดินไหวแล้ว 17.4 ลบ.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น