“ดร.สามารถ” ชี้คำสั่งศาลปกครองสูงสุดถือเป็นที่สุด แนะกทม.เร่งจ่ายหนี้ค่าจ้าง BTS หยุดผลกระทบดอกเบี้ย

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ชี้คำสั่งศาลปกครองสูงสุดถือเป็นที่สุด แนะกทม.เร่งจ่ายหนี้ค่าจ้าง BTS หยุดผลกระทบดอกเบี้ย

“ดร.สามารถ” ชี้คำสั่งศาลปกครองสูงสุดถือเป็นที่สุด แนะกทม.เร่งจ่ายหนี้ค่าจ้าง BTS หยุดผลกระทบดอกเบี้ย – Top News รายงาน

 

 

 

จากการที่ประชุมสภากทม. ได้พิจารณารายงานผลการศึกษาของคณะกรรมการวิสามัญศึกษาระบบขนส่งมวลชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยนายนภาพล จีระกุล สก.บางกอกน้อย ในฐานะประธานคณะกรรมการฯ ได้รายงานสรุปในกรณีหนี้สินค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ซึ่งกทม.โดยบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) ค้างชำระอยู่ ตั้งแต่ปี 2562 ว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้ประชุมพิจารณาปัญหาดังกล่าว พร้อมเชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลทุกด้าน รวมถึงพิจารณาสัญญา ระเบียบ กฎหมาย คำฟ้อง คำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ศาลปกครองสูงสุด และแนวคำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปว่ามีความจำเป็นที่ผู้บริหารกทม.ควรเร่งชำระหนี้ให้กับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เมื่อพิจารณาจากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เพื่อลดภาระใช้จ่ายจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทุกวัน

ต่อประเด็นดังกล่าว ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทีมข่าว ท็อปนิวส์ ถึงกรณีที่กรุงเทพมหานคร อ้างถึงขั้นตอนทางกฎหมาย ในการดำเนินการชำระหนี้ให้กับ บีทีเอสซี ว่า ในส่วนของภาระหนี้ที่เกิดขึ้นนั้น ทางกทม.ควรจะรีบจ่ายหนี้ให้แก่บีทีเอสซี เพื่อลดภาระลดเบี้ยกว่าวันละ 5.4 ล้านบาทที่กทม.จะต้องรับผิดชอบ และควรต้องเร่งจ่ายหนี้ทั้งในส่วนที่อยู่ระหว่างการยื่นฟ้องงวดที่ 2 หรือ ก้อนอื่นๆ เนื่องจากศาลปกครองสูงสุด ได้ตัดสินให้กทม.ชำระหนี้ให้แก่เอกชนแล้ว และ สัญญาได้ครอบคลุมหนี้ทั้งหมด ดังนั้น เมื่อศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินเรียบร้อยแล้ว กทม. ก็ควรที่จะต้องชำระหนี้ให้หมดทุกก่อน

ดร.สามารถ

“ทั้งนี้หากจำนวนหนี้ที่เกิดขึ้นถึงที่สุดตามขั้นตอนศาลปกครอง ส่วนตัวเชื่อว่า กทม.คงไม่มีเงินที่ชำระให้แก่บริษัทเอกชน และต้องเลือกขยายระยะเวลาสัมปทาน(ส่วนไข่แดง) ให้กับบีทีเอสซีที่จะสิ้นสุดสัมปทานในปี 2572 ไปอีก 30 ปี เป็นสิ้นสุดสัมปทานในปี 2602 ดังนั้นทางเลือกของกทม.ขณะนี้จึงมี 2 แนวทางคือการเร่งจ่ายหนี้ให้เอกชน หรือ ขยายสัญญาสัมปทาน ซึ่งหากกทม.มีเงินเพียงพอก็ควรจะเร่งจ่าย เพื่อให้ปี 2572 สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวกลับมาเป็นของกทม. ทำให้กทม.สามารถบริหารจัดการค่าโดยสารในอัตราที่ต้องการได้”

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่า กทม. ไม่ตัดสินใจให้เด็ดขาดทำให้กทม.ต้องแบกภาระค่าดอกเบี้ย 5.4 ล้านบาท ดร.สามารถ ระบุว่า ตอนนี้ผู้ว่าฯ กทม. มี 2 ทางเลือกเท่านั้น คือ จ่ายหนี้ หรือ ขยายระยะเวลาสัมปทานให้เอกชน ซึ่งที่ผ่านมาทราบว่าได้มีการเจรจาต่อรองและขยายสัญญาสัมปทานออกไป 30 ปี สิ้นสุดปี 2602

 

“ขณะนี้เอกชนเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายเเทนกทม. เพราะจนถึงปัจจุบัน แม้กทม.จะไม่จ่ายหนี้ แต่เอกชนก็ยังไม่หยุดให้บริการเดินรถเลย ดังนั้น การตัดสินใจทุกอย่างจะอยู่ที่กทม.ว่าจะจัดการอย่างไรกับภาระหนี้ที่เกิดขึ้น ซึ่งการเป็นหนี้ก็ต้องจ่ายและเป็นงบประมาณที่ทางกทม.จะต้องจัดหามา ซึ่งมาจากภาษีของประชาชน

ผู้สื่อข่าวถามถึงความรับผิดชอบของภาระหนี้ที่เกิดขึ้น ดร.สามารถ มองว่า กทม.ควรเป็นผู้รับผิดชอบ โดยเฉพาะผู้บริหารทั้งหมด และผู้บริหารสูงสุด คือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะต้องรับผิดชอบ

ส่วนกรณีที่ผู้ว่าฯ กทม.ได้มีการทำหนังสือสอบถาม เรื่องการจ่ายหนี้งวดที่ 2 ไปยังอัยการสูงสุด ทั้งที่ศาลปกครองสูงสุด เคยตัดสินให้มีการจ่ายหนี้ เป็นการยื้อความรับผิดชอบ หรือไม่ ดร.สามารถ ระบุว่า ต้องดูว่าหนี้ก้อนที่ 2 /3 เป็นหนี้ลักษณะเดียวกับหนี้ก้อนแรก หรือ ไม่ ถ้าใช่ กทม.ก็ควรพิจารณาชำระหนี้ให้แก่บีทีเอสซีทันที ไม่ควรจะรอเพราะจะทำให้หนี้สินพอกพูนขึ้น แ ละหากรู้อยู่แล้วว่า หากให้เอกชนยื่นฟ้องแล้วกทม.ว่า จะแพ้คดี ก็ยิ่งควรจ่าย ซึ่งหากจ่ายวันนี้เป็นการจ่ายที่น้อยกว่า แต่หากการจ่ายในอนาคตจ่ายมากกว่าก็ควรเร่งจ่ายในวันนี้

ส่วนที่นายชัชชาติ รอคำตอบจากอัยการสูงสุดก่อนตัดสินใจนั้น ดร.สามารถ มองว่า นายชัชชาติอาจเห็นช่องทางการสู้คดี หรืออาจจะมีลู่ทางทำให้กทม.ชนะคดีได้ ซึ่งส่วนตัวมองว่า เรื่องนี้ยังไม่เห็นทางที่กทม.จะชนะคดี

 

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ผ่านมาหลายหน่วยงานของรัฐ แก้ปัญหาเรื่องหนี้ โดยการขยายอายุสัมปทานออกไปอย่างไร ดร.สามารถ ระบุว่า ที่ผ่านมาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินของ BEM ได้มีการขยายอายุสัญญาสัมปทานออกไปอีก 20 ปี จาก 2572 ถึงปี 2592 โดยมีการเซ็นสัญญาไปเมื่อปี 2560 ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายคนยังไม่ทราบ ขณะที่ทางด่วนดอนเมือง โทลเวย์ รัฐบาลยอมให้ผู้รับสัมปทานปรับขึ้นค่าผ่านทางแทนการขยายอายุสัมปทานที่จะสิ้นสุดในปี 2577

ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า ด้วยภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทุกวัน กระทรวงคมนาคม รัฐบาลควรจะเข้ามาร่วมแก้ปัญหาและรับผิดชอบหรือไม่ ดร.สามารถ ระบุว่า อยู่ที่ กทม. จะขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลหรือไม่ ซึ่งกทม.สามารถทำได้ แต่ที่ผ่านมากทม.เคยขอให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือแต่ไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

แผ่นดินไหวเมียนมา ขนาด 5.9 "ไทย 3 จังหวัด" รับรู้สึกแรงสั่นสะเทือน
สาดกันนัว! สงกรานต์ "ถนนข้าวสาร" คึกคัก ด้านตร.เตรียมกำลัง 600 นาย ดูแลความปลอดภัยปชช.
อังกฤษออกกม.ฉุกเฉินเข้ายึดกิจการโรงงานเหล็กแห่งสุดท้าย
เรือจีนขนสินค้ากว่า 77,000 ตัน มุ่งหน้าสู่แอฟริกา
สถานทูตจีนอวยพรสงกรานต์พี่น้องชาวไทย
สหรัฐสั่งยกเว้นสมาร์ทโฟนจากภาษีตอบโต้
"สันติสุข" ชี้เพื่อไทยดันต่อแน่ "เอนเตอร์เทนฯ-กาสิโน" อย่าเพิ่งโจมตีพรรคร่วมฯ รอดูช่วงโหวตได้รู้จุดยืนจริง ๆ
"ทักษิณ" ห่วงศก.ไทยไม่กังวลการเมือง ยันกม. "เอนเตอร์เทนเมนต์ฯ" เป็นประโยชน์ เสียงรัฐบาลเพียงพอ ภท.ยังเป็นพรรตร่วมฯ
"ทักษิณ" ร่วมงาน "ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่" เสื้อแดงแห่รับ บอกงดเปิดบ้านรดน้ำ อวยพรในใจได้
"นายกฯ" ส่งสารวันผู้สูงอายุแห่งชาติ-วันครอบครัว ย้ำรากฐานสำคัญสังคมไทย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น