เสียววาบ! “รอยเลื่อนกาญจน์” ยังทรงพลัง นับถอยหลังเขย่า “เมืองกรุง”

“ผู้เชี่ยวชาญ” เปิดข้อมูลสำคัญ กทม.เป็นพื้นที่ “แอ่งดินอ่อนขนาดยักษ์” หากเกิดแผ่นดินไหว จะรุนแรงเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า จับตา! รอยเลื่อนกาญจน์” ยังทรงพลัง นับถอยหลังเขย่า “เมืองกรุง”

เสียววาบ! “รอยเลื่อนกาญจน์” ยังทรงพลัง นับถอยหลังเขย่า “เมืองกรุง”

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ประเทศเมียนมา สะเทือนถึงกลางกรุงเทพมหานคร เป็นการปลุกให้ทุกคนตื่นตัว และตระหนักถึงการรับมือกับแผ่นดินไหวภัยพิบัติที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้า ที่น่าสนใจคือ นอกจากรอยเลื่อนสะกายแล้ว นักวิชาการออกมาเตือนประชาชนว่า ยังมีอีก 2 รอยเลื่อนมีพลัง เปรียบเหมือนยักษ์หลับ สามารถสร้างแรงสั่นสะเทือน ถึงขนาด 7.5 และ 9 ที่กำลังจะตื่นขึ้นในอนาคต

จากเวที ”ก้าวข้ามธรณีพิโรธ : นวัตกรรม ววน. พลิกเกมภัยแผ่นดินไหว เพื่ออนาคตที่ปลอดภัยของไทย” ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรอยเลื่อนกระจายเต็มไปหมด รอยเลื่อนสะกายในเมียนมา เป็นรอยเลื่อนมีพลังระดับสีแดง ขณะที่ในประเทศไทย มีรอยเลื่อนระดับสีเทา รอยเลื่อยค่อนข้างเล็ก และมีอัตราการเร่งตัวต่ำกว่าที่อยู่ในฝั่งเมียนมา ที่แนวรอยต่อแผ่นเปลือกโลกระหว่างฝั่งอินเดีย และฝั่งไทย ตามแนวทะเลอันดามัน ไปถึงฝั่งตะวันตกของเมียนมา โดยไม่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่กรุงเทพฯ / แต่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีโอกาสเกิดภัยพิบัติ เพราะแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในระยะไกล เพราะสภาพแอ่งดินอ่อนในกรุงเทพฯ สามารถขยายความรุนแรงของแผ่นดินไหว ได้มากกว่าปกติถึง 3-4 เท่า และอาคารสูงเป็นจำนวนมาก อาจเกิดการโยกไหวตัวรุนแรง จนเกิดความเสียหายได้

กรณีเหตุแผ่นดินไหวจากลอยเลื่อนสะกาย ประเทศเมียนมา ผู้คนเสียชีวิตมากมาย ตึกอาคารบ้านเรือนพังเสียหาย พื้นที่ห่างไกลออกมา ลดทอนความรุนแรง แต่แรงสั่นสะเทือน ส่งผลกระทบต่อกรุงเทพฯ เพราะเป็นแหล่งดินอ่อน สภาพดินอ่อนขยายความแรงแผ่นดินไหว ได้มากหลายเท่าตัว ในไทยพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นพื้นที่แอ่งดินอ่อนขนาดยักษ์ จากการศึกษาเรื่องนี้กว่า 20 ปี มีการตรวจวัดคุณสมบัติของแอ่งดินอ่อน ตรงกลางของกรุงเทพฯ กว่าจะลึกถึงชั้นหิน ประมาณ 800 เมตร ทั้งยังมีคุณสมบัติเปลี่ยนการสั่นสะเทือนที่ผิวดิน ไม่เหมือนการสั่นปกติ ถ้าปกติจะสั่นเร็ว แต่เมื่อแผ่นดินไหว กทม.ที่ผ่านมา จังหวะโยกแบบช้าๆ เป็นลักษณะเกิดขึ้นบนดินอ่อน ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่ออาคารเล็กๆ แต่จะไปกระตุ้น และเขย่าอาคารสูง ที่โยกช้าเหมือนกัน เรียกว่า “สั่นพ้อง”

 

ศ.ดร.เป็นหนึ่ง กล่าวต่อว่า จากการประเมินสถานการณ์แผ่นดินไหว ที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่ออาคารสูงในกรุงเทพฯ 3 สถานการณ์ จาก 3 แหล่ง ได้แก่ 1.แผ่นดินไหวขนาด 7 – 7.5 ที่อยู่ใน จ.กาญจนบุรี ซึ่งรอยเลื่อนดังกล่าวเคยเขย่าแล้ว ขนาด 5.9 แรงสั่นสะเทือนไกลถึงกรุงเทพฯ แต่ตอนนั้นมีอาคารสูงไม่มาก ตอนนี้รอยเลื่อนใหญ่หลับอยู่ เมื่อไหร่มันฟื้นตื่นขึ้นมา แล้วทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ถึง 7.5 จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อกรุงเทพฯได้ เพราะระยะห่างจากกรุงเทพฯ แค่ 200 กิโลเมตรเท่านั้น ต้องประเมินความเสี่ยงจากลอยเลื่อนนี้ด้วย

2.แผ่นดินไหว ขนาด 8 ที่แนวเลื่อนสกายในประเทศเมียนมา ที่มีแนวยาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ของเมียนมา จากมัณฑะเลย์ ไล่ลงมา ผ่านเนปิดอว์ สะกาย ย่างกุ้ง เฉียดลงไปในทะเล ซึ่งยักษ์สะกายตื่นไปแล้ว เราประเมินไว้ก่อนเกิดเหตุการณ์ เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา กว่า 10 ปีแล้ว สำหรับแผ่นดินไหวในมัณฑะเลย์ เคยเกิดขึ้นเมื่อ 110 ปีที่แล้ว ทำลายมัณฑะเลย์ทั้งเมือง ครั้งนี้ลอยเลื่อนสะกาย เป็นรอยเลื่อยยาวเป็นพันกิโลเมตร กระทบต่อกรุงเทพฯ

3. แผ่นดินไหวขนาด 8.5 – 9 ที่แนวมุดตัวในทะเลอันดามัน เป็นแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกอินเดีย มุดใต้เปลือกของไทย เรียกว่า แนวมุดตัวอาระกัน อยู่ทางฝั่งตะวันตกของเมียนมา และมีศักยภาพเกิดแผ่นดินไหว 8.5 -9 ผลกระทบรุนแรงไม่น้อยกว่าสะกาย อดีตมีการศึกษาโดยทีมผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ จากประวัติเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.5 ในอดีตมาหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุด เมื่อประมาณ 260 ปีที่แล้ว นอกจากนี้ แนวมุดตัวอาระกัน สามารถผลิตแผ่นดินไหววงรอบ 400-500 ปี ตอนนี้ไม่รู้จะตื่นขึ้นมาเมื่อไหร่ ก็ไม่แน่ อาจมาเร็ว หรือช้า กว่ารอบปกติก็ได้ ไม่มีใครคาดการณ์ได้

จาก 3 สถานการณ์ดังกล่าว เราประเมินสถานการณ์ และความรุนแรงสูงสุดที่เป็นไปได้นำมาสู่การปรับปรุงกฎกระทรวงแผ่นดินไหวในปี 2550 ขยายพื้นที่ควบคุมให้ออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหว ให้รวมถึงกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล อีกทั้งผลวิจัยดังกล่าว ยังใส่ในมาตรฐานการออกแบบอาคาร ต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว วิศวกรต้องออกแบบตามมาตรฐานอาคาร ถึงจะทนทานแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว

ศ.ดร.เป็นหนึ่ง กล่าวต่อว่า กรมโยธาธิการฯ เป็นผู้กำหนดเส้นกราฟการสั่นไหวรุนแรงที่ต้องรับให้ได้ ซึ่งความจริงโอกาสจะเกิดแผ่นดินไหว แม้จะมีน้อยมาก เพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ แต่ต้องออกแบบเผื่อเอาไว้ โดยแบ่ง กทม.เป็น 10 พื้นที่ ที่สำคัญที่สุด คือ หมายเลข 5 ตั้งแต่บริเวณกรุงเทพฯ และฝั่งธนบุรี มีการตั้งสถานีวัดระดับความรุนแรงไว้ 5 จุด ซึ่งที่ได้ข้อมูลมาแล้ว 2 จุด คือ ที่สถาบันพระจอมเกล้าธนบุรี และศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

หากคำนวณแล้วพบว่า แรงสั่นสะเทือนที่กรุงเทพฯ อยู่ในระดับ 1 ใน 3 ของแรงสั่นสะเทือน ที่กำหนดเป็นมาตรการฐานก่อสร้างอาคารสูง เพื่อรองรับเหตุแผ่นดินไหว เน้นที่โครงสร้าง เสาต้องไม่พัง กำแพงคอนกรีตเสริมเหล็ก ต้องไม่เสียหาย สลักต้องไม่แยกจากเสา ตัวพื้นต้องไม่แยกออกมา ส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง ก็ไม่ได้เน้น เช่น กำแพงกั้นห้อง ฝ้า เพดาน ระบบท่อน้ำท่อประปา ที่มีโอกาสได้รับความเสียหายได้ อย่างไรก็ตาม ต้องไปตรวจสอบดูอีกครั้งว่า มีการออกแบบดีจริงหรือไม่ และมีอะไรผิดพลาดหรือไม่

นอกจากนี้ ผอ.ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ ย้ำว่า แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ โอกาสเกิดขึ้นในช่วงชีวิตคน มีไม่ถึง 10% แต่ต้องเตรียมพร้อมรับมือ เพราะเมื่อเหตุแผ่นดินไหวเกิดขึ้น อาคารต้องตั้งอยู่ ไม่พังถล่มลงมา แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ไม่ได้แรงเท่าระดับสูงสุด ที่กำหนดในมาตรฐาน แต่แรงเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น มาตรฐานการออกแบบต้านทานแผ่นดินไหว เน้นความแข็งแรงของโครงสร้างหลัก รับน้ำหนักได้ คนรอดชีวิต เป็นมาตรฐานสากล แต่ไม่ได้หมายถึงผนังกำแพงกั้นห้องไม่ร้าว ฝ้าเพดานหล่น กระจกไม่แตก ไม่ใช่เป้าหลัก แต่หลังจากนี้ อาจจะต้องปรับพิจารณาในส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้างด้วย

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 68 จะไม่เกิดขึ้นง่าย อาฟตอร์ช็อคจะเบาลง และห่างไปเรื่อยๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะประมาท หรือตระหนกจนเกินไป แต่อย่าลืมยังมีสถานการณ์อื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น อาคารรุ่นใหม่ต้องทำให้แข็งแรง การดำเนินงานวิจัย หากทำตามกระแสสังคม แก้ปัญหาไม่ได้ แต่โชคดีที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนอย่างดี ช่วยให้เตรียมพร้อมและปกป้องชีวิตคนได้

นักวิชาการแผ่นดินไหวระบุตลอด 20 ปี ที่ทีมวิจัยของเราได้นำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์มาต่อกัน ทำให้เห็นปัญหาล่วงหน้า คือ การทำให้คนเชื่อ ตามการแก้ให้ถูกต้อง คือ เราต้องเตรียมพร้อมก่อนที่จะเกิด ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เราสามารถเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติได้ ต่อจากนี้ จะมีปัญหาอาคารจำนวนมากในภาคเหนือ ได้รับความเสียหาย เราต้องเสริมกำลังอาคารที่อ่อนแอ ถ้าไม่ทำ เราอาจจะเห็นผลกระทบที่ร้ายแรง และมีคนเสียชีวิตจำนวนมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่เราต้องให้ความสำคัญ

เราควรมีการศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับรอยเลื่อน ที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศ ด้วยการจัดสรรงบประมาณมากกว่านี้ และควรเข้าไปตรวจสอบ และเสริมความแข็งแกร่งให้กับอาคาร ที่มีความอ่อนไหว เสี่ยงได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะอาคารเรียนหลายแห่งใน จ.เชียงราย เพราะตามข้อมูล การเสริมความแข็งแกร่งให้กับอาคารเดิม จะใช้งบประมาณ10-20% ของงบประมาณการก่อสร้างอาคารใหม่

ที่ผ่านมา เรามีงานวิจัยทดลองติดตั้งอุปกรณ์วัดแรงสั่นสะเทือนบนอาคารสูง โดยติดตั้งที่อาคารโรงพยาบาลเชียงใหม่ และโรงพยาบาลเชียงราย เพื่อประเมินความปลอดภัยของอาคาร และแจ้งต่อผู้ใช้อาคารในเวลาสั้นๆ 5 นาที ว่าสภาพอาคารเป็นอย่างไร ตำแหน่งไหนอันตราย และยังขยายการทดลอง ไปยังที่โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ในส่วนที่กรุงเทพฯ ก็เตรียมทดลองติดตั้งที่โรงพยาบาลกลาง หากมีหน่วยงานใด ต้องการที่จะติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว ทีมวิจัยของเรา ยินดีให้คำปรึกษา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“อนุทิน” กำชับปภ.-ผู้ว่าฯ กระบี่ เกาะติดแผ่นดินไหว ยืนยันไม่กระทบบ้านเรือนปชช. สนามบินเปิดให้บริการปกติ
"ปภ.กระบี่" เร่งตรวจสอบสถานที่สำคัญ-บ้านเรือนปชช. หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว
เพจมิตรเอิร์ธ ยืนยัน "แผ่นดินไหวกระบี่" ไม่ทำให้เกิดสึนามิ แต่ต้องโพรง-ถ้ำหินปูนใต้ดินทรุดตัว เตือนปชช.เฝ้าระวัง
เปิดนาที แผ่นดินไหว เขย่ากระบี่ ขนาด 3.5 รับรู้ได้แรงสั่นสะเทือนถึงตึกศาลากลาง
เชียงใหม่คึกคัก! "ปชช.-นทท." เนืองแน่นเล่นสาดน้ำสนุกสนาน รอบคูเมืองรถติดตลอดสาย
เอาจริง ตำรวจจราจร สน.ชนะสงคราม จับรถบรรทุกน้ำเล่นสงกรานต์ แจ้ง 3 ข้อหาเอาผิด
ตร.เตือนเข้ม “เมาแล้วขับ” ถูกจับซ้ำ รับโทษสูงขึ้น ยอดจับกุมช่วงสงกรานต์พุ่ง 11,801 ราย
"ปราชญ์ สามสี" กระตุกเสียงวิจารณ์ รทสช. หนุนเป็นพรรคร่วมฯ ทำหน้าที่ฝ่ายค้านในรัฐบาล
พินาศกลางดึก! “อิสราเอล” สาดขีปนาวุธถล่ม รพ.กาซา จนท.อพยพคนไข้วุ่น
“สรวงศ์” แจงชัด ทำไมต้องมี “เอนเตอร์เทนเมนต์” ย้ำเดินหน้าพูดคุย ทำความเข้าใจปชช.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น