คึกคัก สงกรานต์ “สีลม” คนทะลัก 1.1 แสน กทม. งัด AI คุมเข้ม เก็บข้อมูลนักท่องเที่ยว-จุดเสี่ยง ป้องกันภัย

คึกคัก สงกรานต์ "สีลม" คนทะลัก 1.1 แสน กทม. งัด AI คุมเข้ม เก็บข้อมูลนักท่องเที่ยว-จุดเสี่ยง ป้องกันภัย

คึกคัก สงกรานต์ “สีลม” คนทะลัก 1.1 แสน กทม. งัด AI คุมเข้ม เก็บข้อมูลนักท่องเที่ยว-จุดเสี่ยง ป้องกันภัย

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

13 เม.ย.2568 ผู้สื่อข่าวรายงาน บรรยากาศบริเวณถนนข้าวสาร แขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เนื่องด้วยเป็น 1 ในพื้นที่แลนด์มาร์คการจัดกิจกรรมงานเทศกาลสงกรานต์ 2568 ถือเป็นจุดไฮไลต์สายสนุกของเทศกาลปีนี้กับงาน Khao San World Water Festival 2025 จัดโดยสมาคมผู้ประกอบการค้าถนนข้าวสาร ระหว่างวันที่ 12 – 15 เม.ย.68 เปิดพื้นที่ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้เล่นน้ำอย่างปลอดภัย อีกทั้งถนนข้าวสารมีการติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV ในพื้นที่จัดงาน ประกอบด้วย กล้องในถนนข้าวสาร 186 กล้อง กล้องโดยรอบถนนข้าวสาร 16 กล้อง กล้องตรวจจับใบหน้า (Face Recogintion AI) 11 กล้อง และจุดคัดกรอง 4 จุด

 

โดยตั้งแต่ช่วงบ่ายที่ผ่านมา เริ่มมีนักท่องเที่ยวต่างชาติและชาวไทยต่างทยอยแห่ร่วมเล่นน้ำประเพณีวันสงกรานต์ อย่างชื่นมื่น มากกว่า 1.1 แสนคน ทั้งนี้ยังไม่มีนักท่องเที่ยวมีการใช้แป้งดินสอพองในพื้นที่แต่อย่างใด เนื่องจากถนนข้าวสารเป็นพื้นที่ปลอดแป้ง ขณะที่ทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งจุดคัดกรองตรวจ แป้งดินสอพอง รวมถึงอาวุธสิ่งของต้องห้ามต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยในช่วงเทศกาล

ขณะที่ทางด้านนายศุภกฤต บุญขันธ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์ประจำวัน เป็นประธานการประชุมศูนย์บัญชาการเหตุการณ์กรุงเทพมหานคร ช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2568 (ศูนย์ EOC สงกรานต์ 2568) ติดตามสถานการณ์ในช่วงเทศกาลในพื้นที่กรุงเทพฯ

โดยรศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พล.ต.อ. อดิศร์ งามจิตสุขศรี ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องสุทัศน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เขตพระนคร

รองปลัดฯ ศุภกฤต ได้มีข้อสั่งการและกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

1. ดำเนินมาตรการดูแลความปลอดภัย การจัดการจราจรและดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่จัดงานและพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ในเขตต่าง ๆ อย่างเข้มงวด โดยเฉพาะสถานที่จัดงานขนาดใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพฯ 17 แห่ง

 

2. การจัดกำลังเจ้าหน้าที่เทศกิจดูแลพื้นที่ให้เพียงพอและดูแลพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอดการจัดงาน

 

3. กรณีเกิดอุบัติเหตุการจราจรในพื้นที่ ขอให้สำนักงานเขตตรวจสอบสาเหตุเกิดจากข้อบกพร่อง หรือมีความเสี่ยงที่มาจาก กทม. หรือไม่ เช่น ไม่มีไฟฟ้าส่องสว่าง ไฟส่องสว่างไม่เพียงพอ ไม่มีกล้อง CCTV ไม่มีสะพานคนข้าม เป็นต้น เพื่อประสานการดำเนินการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขจุดเสี่ยงต่าง ๆ

4. การรายงานสถิติจำนวนผู้บาดเจ็บ/เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรช่วงเทศกาลสงกรานต์ในพื้นที่กรุงเทพฯ มอบสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) เป็นผู้ประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงกันในการรายงานข้อมูลของกรุงเทพมหานคร (กทม.)

 

ด้านที่ปรึกษาฯ อดิศร์ ได้กำชับในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1. ขอให้มีการเน้นย้ำประชาสัมพันธ์การจัดระเบียบจราจรและเส้นทางเข้า-ออกของนักท่องเที่ยวที่มาเล่นน้ำที่ถนนข้าวสาร

 

2. ให้มีการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาผู้ค้าตั้งวางบนทางเท้าในพื้นที่จัดงานสงกรานต์ โดยเฉพาะบริเวณโดยรอบสนามหลวง ซึ่งทำให้ประชาชนต้องลงมาเดินบนถนน ส่งผลกระทบต่อปัญหาการจราจรและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

 

3. ให้มีการเก็บข้อมูลสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวในพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ในแต่ละวัน/ปัญหา/จุดอ่อน-จุดแข็งในพื้นที่จัดงานสงกรานต์แต่ละแห่ง โดยเฉพาะจุดที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก

 

4. ดำเนินมาตรการด้านความปลอดภัยของประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่จัดงานและพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ รวมถึงการใช้เทคโนโลยี AI กับกล้อง CCTV เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัย

 

5. เพิ่มความเข้มงวดติดตามตรวจสอบและแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของประชาชนจาก Traffy Fondue เกี่ยวกับเหตุเดือดร้อนรำคาญจากเสียงดัง จุดพลุ และผลกระทบด้านอื่น ๆ ที่เกิดจากการจัดงานสงกรานต์

 

โดยเฉพาะพื้นที่จัดงานของเอกชน เช่น ย่าน RCA คอนโดลุมพินีพาร์ค พระราม 9-รัชดา เป็นต้น ขอให้สำนักงานเขตตรวจสอบว่าได้มีการขออนุญาตถูกต้องหรือไม่ หากไม่ได้ดำเนินการให้แจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมาย

ทั้งนี้ ในที่ประชุม สำนักการจราจรและขนส่ง ได้รายงานข้อมูลสถิติอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2568 ข้อมูล ณ วันที่ 12 เม.ย. 2568 ซึ่งเป็นวันที่ 2 ของช่วงควบคุมเข้มข้น มีอุบัติเหตุสะสม 9 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บรวม 3 ราย เสียชีวิตรวม 9 ราย เป็นชาย 8 ราย และหญิง 1 ราย

 

สำหรับยอดผู้เข้าร่วมงานสงกรานต์ วันที่ 12 เม.ย. 68 บริเวณถนนสีลม เวลา 12.00-22.00 น. จำนวน 51,900 คน ส่วนบริเวณถนนข้าวสาร เวลา 12.00-24.00 น. จำนวน 59,523 คน

 

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร ขอความร่วมมือประชาชนใช้บริการรถสาธารณะในการเดินทางมาร่วมงานสงกรานต์ เพื่อช่วยลดผลกระทบด้านการจราจร อาทิ การใช้บริการรถไฟฟ้า และรถ BMA Feeder เพื่ออำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อการเดินทางและลดปัญหาการจราจรติดขัด

 

รวมถึงปฏิบัติตนตามข้อห้ามและข้อปฏิบัติในการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ช่วงสงกรานต์ โดยเฉพาะหากร่างกายเปียกน้ำ เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"รมว.สุดาวรรณ" เปิดงานสืบสานประเพณี แห่พระคันธารราฐ ลอดซุ้มประตูเมือง "มหาสงกรานต์โคราช" มรดกไทย มรดกโลก ตั้งเป้าดึงนทท.ไทย-ต่างชาติ สร้างรายได้ชุมชน
“อนุทิน” กำชับปภ.-ผู้ว่าฯ กระบี่ เกาะติดแผ่นดินไหว ยืนยันไม่กระทบบ้านเรือนปชช. สนามบินเปิดให้บริการปกติ
"ปภ.กระบี่" เร่งตรวจสอบสถานที่สำคัญ-บ้านเรือนปชช. หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว
เพจมิตรเอิร์ธ ยืนยัน "แผ่นดินไหวกระบี่" ไม่ทำให้เกิดสึนามิ แต่ต้องโพรง-ถ้ำหินปูนใต้ดินทรุดตัว เตือนปชช.เฝ้าระวัง
เปิดนาที แผ่นดินไหว เขย่ากระบี่ ขนาด 3.5 รับรู้ได้แรงสั่นสะเทือนถึงตึกศาลากลาง
เชียงใหม่คึกคัก! "ปชช.-นทท." เนืองแน่นเล่นสาดน้ำสนุกสนาน รอบคูเมืองรถติดตลอดสาย
เอาจริง ตำรวจจราจร สน.ชนะสงคราม จับรถบรรทุกน้ำเล่นสงกรานต์ แจ้ง 3 ข้อหาเอาผิด
ตร.เตือนเข้ม “เมาแล้วขับ” ถูกจับซ้ำ รับโทษสูงขึ้น ยอดจับกุมช่วงสงกรานต์พุ่ง 11,801 ราย
"ปราชญ์ สามสี" กระตุกเสียงวิจารณ์ รทสช. หนุนเป็นพรรคร่วมฯ ทำหน้าที่ฝ่ายค้านในรัฐบาล
พินาศกลางดึก! “อิสราเอล” สาดขีปนาวุธถล่ม รพ.กาซา จนท.อพยพคนไข้วุ่น

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น