“ปราชญ์ สามสี” กระตุกเสียงวิจารณ์ รทสช. หนุนเป็นพรรคร่วมฯ ทำหน้าที่ฝ่ายค้านในรัฐบาล

“ปราชญ์ สามสี” หนุนจุดยืน รทสช.ไม่แตกหักเพื่อไทย ชี้เข้าใจหลักการการบริหารแบบร่วมมือกัน

“ปราชญ์ สามสี” กระตุกเสียงวิจารณ์ รทสช. หนุนเป็นพรรคร่วมฯ ทำหน้าที่ฝ่ายค้านในรัฐบาล – Top News รายงาน

 

ปราชญ์ สามสี

วานนี้ (13 เม.ย. 68) เพจเฟซบุ๊กปราชญ์ สามสี ได้โพสต์ข้อความเรื่อง ความเห็นของข้าพเจ้า: บทบาท “ฝ่ายค้านในรัฐบาล” กับพันธกิจของพรรครวมไทยสร้างชาติ ภายใต้หลักการถ่วงดุลเชิงสถาบัน

โดยปราชญ์ สามสี ให้ความเห็นตอนหนึ่งว่า ในทางรัฐศาสตร์ หนึ่งในหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา คือการมีระบบ “ถ่วงดุลและตรวจสอบ” ซึ่งไม่จำกัดอยู่เพียงระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารเท่านั้น หากยังรวมถึงกลไกภายในฝ่ายบริหารเอง โดยเฉพาะในกรณีที่รัฐบาลประกอบด้วยพรรคร่วมหลายพรรค เห็นว่า พรรครวมไทยสร้างชาติได้ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้บริบทของการเป็น “ฝ่ายค้านในรัฐบาล” ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งที่ขัดแย้งกับหลักประชาธิปไตย หากแต่เป็นกลไกที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญเชิงปฏิบัติของหลายประเทศ เช่น เยอรมนี ญี่ปุ่น และอิตาลี ที่เปิดช่องให้พรรคร่วมรัฐบาลสามารถตั้งข้อสังเกตหรือเสนอแนะต่อแนวนโยบายหลักของรัฐบาลได้โดยไม่ขัดต่อหลักการรวมเสียงข้างมากในการบริหารประเทศ ในกรณีนี้บทบาทของพรรครวมไทยสร้างชาติจึงมิใช่การ “ค้านเพื่อค้าน” หากแต่เป็นการ “ตรวจสอบเพื่อรักษาเสถียรภาพ” โดยอาศัยหลักการรัฐบาลต้องรับผิดชอบทั้งต่อรัฐสภาและประชาชน การที่พรรคร่วมรัฐบาลตั้งคำถามหรือให้คำปรึกษาต่อบางนโยบาย จึงถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามหลัก accountability และ institutional restraint เพื่อให้การใช้อำนาจรัฐเป็นไปอย่างมีความชอบธรรม

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อย่างไรก็ดีปราชญ์ สามสี เห็นว่าบทบาทนี้จำเป็นต้องดำเนินไปด้วย “ความระมัดระวังเชิงสถาบัน” กล่าวคือ การตั้งคำถามหรือแสดงความเห็นต้องอยู่ในขอบเขตที่ไม่ทำลายเอกภาพของรัฐบาล เพราะในเชิงโครงสร้างรัฐบาลผสมจะสามารถบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อพรรคร่วมมีจุดยืนร่วมกันในการรักษาเสถียรภาพโดยรวมของฝ่ายบริหาร ด้วยเหตุนี้จึงเห็นว่าจุดยืนของพรรครวมไทยสร้างชาติที่เลือกจะไม่แตกหักกับพรรคเพื่อไทย และยังคงยืนอยู่ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล เป็นการแสดงความเข้าใจต่อหลักการการบริหารแบบร่วมมือกัน ซึ่งเป็นรากฐานของรัฐบาลผสมในระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ และนั่นคือเหตุผลที่มองว่า การที่พรรคใดพรรคหนึ่งในรัฐบาลปัจจุบันแสดงบทบาทวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลร่วม ไม่ใช่สิ่งแปลกประหลาด หากแต่เป็นกลไกที่สะท้อนถึงพัฒนาการทางรัฐศาสตร์ และเป็นการสืบทอดบทบาทของ internal opposition ที่เคยมีมาแล้วในประวัติศาสตร์ของชาติไทย

 

 

ปราชญ์ สามสี สรุปว่า การดำรงอยู่ของพรรครวมไทยสร้างชาติในรัฐบาลภายใต้บทบาท “ฝ่ายค้านในรัฐบาล” จึงมิใช่ความขัดแย้งเชิงอำนาจ หากแต่เป็นกลไกที่สะท้อนวุฒิภาวะทางการเมืองของพรรค ที่ตระหนักถึงบทบาทเชิงถ่วงดุลโดยไม่บั่นทอนเอกภาพ นี่คือสิ่งที่เห็นว่าเป็นการใช้อำนาจทางการเมืองอย่างมีวุฒิภาวะ และอยู่ภายใต้กรอบคิดเชิงรัฐศาสตร์ที่ทันสมัยและยั่งยืน ณ จุดๆนี้เราก็จะต้องมาคอยติดตามชมกันว่ารัฐบาลเพื่อไทยแล้วก็พรรคร่วมรัฐบาลต่างๆ จะมีความเห็นสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องไปกับนโยบายของรัฐบาลหรือไม่อย่างไร เพราะว่าเพื่อไทยเองก็ต้องฟังเสียงเพื่อนร่วมรัฐบาลอยู่บ้าง มิเช่นนั้นก็ไม่สามารถดำรงอยู่ในฐานะรัฐบาลได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

วธ. ชวนล่องใต้ดื่มด่ำศรัทธาและศิลป์มหาสงกรานต์แห่นางดาน เมืองนครศรีธรรมราช ตื่นตาตื่นใจกับขบวนแห่นางดานสุดอลังการ – ชมพิธีโล้ชิงช้า ประเพณีหนึ่งเดียวในไทย
"รมว.ปุ๋ง" ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ ณ วัดแจ้ง จ.นครราชสีมา
เจอตัวแล้ว "หนุ่มเวลส์" วัย 26 ปี หลังสื่อนอกตีข่าวหายตัวปริศนา บนเกาะพีพี นานกว่า 1 เดือน
"ทอ." แจงเหตุกระจกโรงอาหาร สนามกีฬาจันทรุเบกษา ล้มเกือบทับคุณยาย
พฤติกรรมช้าง ขณะแผ่นดินไหว 5.2 เขย่าแคลิฟอร์เนีย
อิรักเจอพายุทรายสาหัสป่วย 1,800 คน
"หนุ่มเวลส์" วัย 26 ปี หายตัวปริศนาบนเกาะพีพี ขาดการติดต่อกับครอบครัวนานกว่า 1 เดือน
ม.ฮาร์วาร์ดเปิดหน้าสู้ทรัมป์ เจอตัดงบ 7 หมื่นล.
แผ่นดินไหวแคลิฟอร์เนีย หลายคนได้ข้อความเตือนก่อน
สิงคโปร์เลือกตั้งใหม่ 3 พ.ค. บททดสอบ ลอวเรนซ์ หว่อง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น