“ศ.กิตติคุณ ดร.วรศักดิ์” ไขกลไกเหตุตึก สตง.ถล่ม ใช้เวลา 8 วิ เป็นสถิติโลก

"ศ.กิตติคุณ ดร.วรศักดิ์" ไขกลไกเหตุตึก สตง.ถล่มแบบแพนเค้ก ใช้เวลา 8 วิ เป็นสถิติโลก

วันที่ 15 เมษายน 2568 ศ.กิตติคุณ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ราชบัณฑิตวิศวกรโครงสร้างชาวไทย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และศาสตราจารย์กิตติคุณของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ได้ออกมาโพสต์ ข้อความระบุว่า บทสันนิษฐานสุดท้าย – 8 วินาทีวิกฤติของตึก สตง.

 

อนาคตอันใกล้ “เมื่อเอไอครองโลก มนุษย์จะอยู่อย่างไร” การบรรยายพิเศษโครงการราชบัณฑิตยสภานำความรู้สู่สังคม – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เหตุการณ์การพังทลายโดยสิ้นเชิงแบบแพนเค้ก (หรือขนมชั้น) ของอาคาร สตง. ได้ผ่านมากว่า 2 สัปดาห์แล้ว ภารกิจเร่งด่วนเรื่องการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและกู้ร่างผู้เสียชีวิตได้ดำเนินการไปแล้ว ประเด็นสำคัญต่อไปคือ การหาสาเหตุของการวิบัติของอาคาร ซึ่งทำสถิติโลกใหม่เป็นอาคารสูงที่สุดที่เกิดวิบัติแบบแพนเค้กโดยธรรมชาติ (ไม่นับกรณี WTC ที่เกิดจากการก่อการร้าย)

แม้รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาสาเหตุโดยมีกำหนดเสร็จภายใน 7 วัน แต่ยังไม่มีผลการสอบสวนออกมา ผมเป็นกังวลว่าอาจเกิดความสับสนในประเด็นหลัก ทำให้หลงเสียเวลาไปสอบสวนในประเด็นย่อยที่ไม่มีผลต่อการถล่มของอาคาร

สิ่งที่สังคมต้องการทราบคือ อาคารถล่มลงมาเป็นแพนเค้กภายในเวลาเพียง 8 วินาทีได้อย่างไร ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้อยู่ในอาคารแทบไม่มีโอกาสรอด การวิบัติลักษณะนี้ถือเป็นสิ่งต้องห้ามที่สุดในหลักการออกแบบก่อสร้างอาคารสูง ส่วนประเด็นการวิบัติเฉพาะที่ (Local Failure) หรือประเด็นอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการถล่มแบบแพนเค้ก ถ้าต้องการควรจะแยกนำไปพิจารณา เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในสังคม

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ในคลิปที่ผมใช้เวลาช่วงสงกรานต์ทำให้นี้ ผมได้อธิบายกลไกการถล่มของอาคาร สตง. อย่างละเอียดชนิดวินาทีต่อวินาที โดยการสนับสนุนจากคลิปวิดีโอสามมุมมองที่ซิงค์เวลาตรงกัน โดย Slow Motion 10%

สำหรับผู้สนใจที่เป็นวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ ผมได้สนับสนุนข้อสันนิษฐานของผม ด้วยทฤษฎีการรับแรงบิดแบบ St. Venant Torsion และผลการทดลองจากบทความวิชาการด้านวิศวกรรมโครงสร้าง ที่แสดงการลักษณะการวิบัติของแท่งคอนกรีตเสริมเหล็กเมื่อได้รับแรงบิดกลับไปกลับมา (Cyclic Torsion)

 

 

สุดท้าย ผมขอยืนยันว่า การสันนิษฐานกลไกการเกิดวิบัตินี้เป็นไปตามหลักนิติวิศวกรรม ที่ปราศจากอคติ โดยอาศัยหลักฐานและข้อมูล ตามหลักวิชาการเท่านั้น​​​​​​​​​​​​ ส่วนสาเหตุใดที่องค์อาคารถึงรับมือกับแรงบิดไม่ได้ ผมพยายามจะไม่แตะต้อง เพราะถือเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการที่จะต้องสอบสวนเป็นทางการต่อไป

 

ผมขอให้ชมคลิปยูทูปให้จบ ท่านไม่ต้องเป็นวิศวกร ก็สามารถเข้าใจกลไกการพังราบเป็นขนมชั้นได้ครับ

ศ. กิตติคุณ ดร. วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ราชบัณฑิต

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พาณิชย์" ปลื้ม! ร้านอาหาร Thai SELECT สุดฮอต ผู้บริโภคพูดกันหนาหู แถมหาทางไปชิม
"รมว.สุดาวรรณ" ชวนเที่ยวงานใต้ร่มพระบารมี 243 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
"2 ตายายขายผัก" ตลาดนัดเสาสูง ดวงเฮง ถูกรางวัลที่ 1 รับเละ 12 ล้าน
สีจิ้นผิงเข้าเฝ้ากษัตริย์มาเลเซีย
สหรัฐสั่งเพิ่มภาษีสินค้าจีนเป็น 245%
จีนตั้งผู้แทนเจรจาการค้าคนใหม่ท่ามกลางสงครามภาษี
"กรมทรัพยากรธรณี" เตือน 7 จังหวัด เฝ้าระวังดินถล่ม-น้ำป่าไหลหลาก 16-18 เมษายนนี้
"สว.วีระพันธ์" ชี้ 6 ปัญหาใหญ่ เหตุหมอทยอยลาออก ลั่นไม่รีบแก้สาธารณสุขไทยวุ่นแน่
ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 16 เมษายน 2568
"ทวี" แจงตีความผิดโมเดล"ซินเจียง" ยันไม่มีแนวคิดแยก 3 จว.ชายแดนใต้เป็นเขตปกครองพิเศษ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น