ต่อเรื่องดังกล่าว พลเอกอกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ “คณะกรรมาธิการ การบริหารราชการแผ่นดิน” ได้สืบทอดเจตนารมณ์ เข้าสานต่อให้เป็นรูปเป็นร่าง จัดตั้งคณะทำงานทำการศึกษาการดำเนินงานของ “หมู่บ้านสีฟ้าปลอดโควิด 19” โดยเริ่มใช้แนวคิดจากการสร้างชุมชนเข้มแข็ง
“ผลพวงจากที่คณะทำงานลงไปในพื้นที่ ไปตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ รวมไปถึงประชุมทางมอบนโยบายให้ข้อมูลทางไกล และประสานทำงานกับผู้ว่าราชการทุกจังหวัด จึงกลายเป็นจุดกำเนิด ใช้แนวคิดเรื่องชุมชนเข้มแข็ง เปิดโอกาสให้ประชาชนในหมู่บ้านร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผน ร่วมกันจัดการดูแลชุนในหมู่บ้านตัวเอง นอกจากนี้ยังใช้แนวความคิดเรื่อง “แยกปลาจากน้ำ”… คือ แยกคนไม่ติดเชื้อ กับคนติดเชื้อออกจากกันโดยเด็ดขาด ซึ่งคนที่ติดเชื้อก็ดำเนินการเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป คนที่ไม่ติดเชื้อก็ต้องดูแลตัวเอง ซึ่งกระบวนการนี้ ชาวบ้านก็เรียนรู้และเข้าใจ ว่าจะต้องช่วยกันดูแลตัวเองอย่างไร โดยปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ด้วยความเข้าใจ”
พลเอกอกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ บอกกับเราว่า โครงการหมู่บ้านสีฟ้า เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 ตอนนี้มีจังหวัด ที่ใช้แนวคิดเรื่องโครงการหมู่บ้านสีฟ้าทั้งสิ้น 32 จังหวัด ดำเนินการมาได้ 2 เดือน ซึ่งตอนนี้ มี 19 จังหวัด ที่คนในหมู่บ้านไม่มีคนติดเชื้อเลย เป็นสีฟ้าหมด การยับยั้งโควิด19 ทั้งหมดนี้ ถือเป็นการร่วมมือร่วมใจของพี่น้องประชาชน รู้เข้าใจว่าจะให้ชีวิตอย่างไร และเข้าใจว่านี่คือวิถีชีวิตใหม่ ซึ่งจากนี้ไป แม้โควิด 19 ไม่รู้จะจบเมื่อไหร่ แต่ประชาชนเริ่มรู้ว่าจะอยู่กับโควิด 19 อย่างไร?
“หากจังหวัดไหนที่ยังไม่ได้เริ่มต้นที่จะใช้มารตการป้องกันโควิด 19 แล้วสนใจจะเข้ามาร่วมปฏิบัติในโครงการหมู่บ้านสีฟ้าอย่างจริงจัง ก็สามารถเริ่มต้นได้เลย เพราะเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย ในการดูแลเรื่องทั้งหมด อย่างไรก็ตามถือว่าโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นครึ่งประเทศแล้ว และยอดผู้ติดเชื้อโควิด 19 ลดลงทุกวันๆ ผมว่าส่วนหนึ่งมาจาก โครงการหมู่บ้านสีฟ้า”
พลเอกอกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ ทิ้งท้ายว่า การร่วมมือกันทำงานครั้งนี้ ใช้โครงสร้างชุมชนเข้มแข็ง มีทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน , อบต. , กรรมการหมู่บ้าน และใช้ระบบสาธารณะสุข ปฐมภูมิ หมายรวมไปถึงกลไกลต่างๆของกระทรวงสาธารณะสุขที่มีอยู่ และปฏิบัติตามคำแนะนำ โดยทำตามคำสั่งของกระทรวงสาธารณะสุขและผู้ว่าราชการจังหวัด อย่างเคร่งครัด