รายงานพิเศษ เรื่องดีที่กทม.วันนี้ ไปดูว่า หนึ่งในนโยบายที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร คือการเร่งปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาทางเท้า ไปดูกันว่าการพัฒนาทางเท้าล่าสุดของ กทม.ดำเนินการไปถึงไหน ติดตามจากเรื่องดีที่กทม. ตอน “ทางเท้าดี ทั่วถึง เท่าเทียม สำหรับทุกคน”
คุณผู้ชมครับกรุงเทพมหานคร ถือว่าเป็นเมืองยอดฮิตของนักเดินทางจากทั่วโลก สิ่งอำนวยความสะดวกเพียบพร้อมในหลาย ๆ ด้าน แล้วสิ่งหนึ่งที่ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่ากรุงเทพฯเหมาะแก่เมืองท่องเที่ยวนั่นคือ ทางเท้าที่ดี วันนี้ผมจะพาไปดูว่า ทางเท้าดี ทั่วถึงเ ท่าเทียม สำหรับทุกคนเป็นอย่างไร ตามผมมาครับ
ทางเท้าดี ทั่วถึง เท่าเทียม เดินได้ เดินดี เป็นหนึ่งใน 9 นโยบาย สำคัญ เดินทางดี ของนายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และยังเป็นนโยบายลำดับต้นๆ เพื่อให้กรุงเทพฯเป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน
แต่เนื่องจากพื้นที่กรุงเทพฯ มีทางเท้ามากกว่า 6,000 กิโลเมตร จึงต้องทยอยเร่งปรับปรุงตามลำดับ ซึ่งการปรับปรุงทางเท้า ก็ได้ดำเนินการควบคู่ไปกับการยกเลิกจุดค้าแผงลอยต่างๆ และได้ให้ผู้ค้าย้ายมาทำการค้าในจุดที่กทม.จัดเตรียมไว้ให้
“กทม. ปรับปรุงทางเท้าย่านตลาดพรานนก”
ล่าสุด การปรับปรุงทางเท้าก็มาถึงย่านตลาดพรานนก ถนนอิสรภาพ เขตบางกอกน้อย ไปจนถึงบริเวณสถานีรถไฟฟ้า MRT อิสรภาพ เขตบางกอกใหญ่ ทางเท้าย่านนี้ มีความพิเศษ เพราะเป็นเส้นทางของนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะเดินทางไปเยี่ยมชมความสวยงามของพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม กทม.ได้ดำเนินการปรับปรุงทางเท้าใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ทางเท้าทุกคน
โดยมาตรฐานใหม่ของทางเท้า กทม. เน้นความแข็งแรง ทนทาน ใช้คอนกรีตเสริมเหล็กหนา 10 ซม. ลดระดับความสูงทางเข้า-ออกอาคาร ปรับพื้นให้เสมอกับทางเท้าเพื่อรองรับผู้ใช้ทุกกลุ่ม เพิ่มไฟส่องสว่างเพื่อความปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีการออกแบบฝาท่อให้สะท้อนอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่อีกด้วย
แน่นอนครับ การพัฒนาที่ดีขึ้น ก็ทำประชาชน มีความสุข ตามไปด้วย หลายคนก็บอกเป็นเสียงเดียวกัน ว่า เป็นเรื่องที่ดีเพราะช่วยให้ผู้คนที่สัญจรไปมาได้สะดวกสบายมากขึ้น มีทางเดินที่กว้าง และมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ปัจจุบัน กทม. ได้พัฒนาทางเท้าแล้ว 87 เส้นทาง รวม 774 กม. และยังเดินหน้าปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2569 คาดว่าจะเกิน 1,000 กิโลเมตร
จากนี้กทม. จะยึด5แนวทาง ในการปรับปรุงพัฒนาทางเท้า คือ จากการรับเรื่องร้องเรียนใน ไลน์ traffy fondue//
พัฒนาปรับปรุงตามแนว BKK tail 500 กิโลเมตร//
ภายในรัศมี 500 เมตร ทางเท้าต้องดี //
ปรับปรุงตามเส้นทางที่มีผู้คนหนาแน่นตาม heatmap นอกรัศมีสถานีรถไฟฟ้า//และคืนสภาพจากหน่วย้งานสาธารณูปโภค โดยการเร่งรัดการบริหารจัดการ สาธารณูปโภค ที่ทำให้เกิดผลกับผิวจราจรและทางเท้า ทั้งประปาอไฟฟ้า และการนำสายไฟลงดิน ทั้งหมดนี้เพื่อการพัฒนาให้ทั่วถึง และเท่าเทียม สำหรับทุกคน
และนี่คือทางเท้าดี ทั่วถึง เท่าเทียม เดินได้ เดินดี สำหรับทุกคน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของพี่น้องประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร สำหรับในตอนต่อไปผมจะนำเสนอเรื่องราวดีๆในกรุงเทพฯจะเป็นเรื่องอะไรติดตามได้ในตอนต่อไปครับ