“นฤมล” แจงผลสำเร็จ “กยท.” แท็กทีมแก้ปัญหาราคายางพารา เพิ่มรายได้เกษตรกรแล้ว 3-10.3 บาทต่อกก.

“นฤมล” เดือด หลังบิ๊กบริษัทฉวยโอกาส อ้าง” โดนัลด์ ทรัมป์” ปรับขึ้นภาษี 10% กดราคายับ ตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย.68 ทางคืนกลับมาได้ 3-10.3 บาทต่อกิโลกรัม สั่งผู้บริหาร กยท.ลุยเดินหน้าต่อสร้างราคาที่เป็นธรรมให้ชาวสวนยาง

“นฤมล” แจงผลสำเร็จ “กยท.” แท็กทีมแก้ปัญหาราคายางพารา เพิ่มรายได้เกษตรกรแล้ว 3-10.3 บาทต่อกก. – Top News รายงาน

นฤมล

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการควบคุมยาง ครั้งที่ 1/2568 โดยมี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายนายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (123) ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบรายงานสถานการณ์ยางพาราและ ผลกระทบของมาตรการภาษีสหรัฐอเมริกาต่ออุตสาหกรรมยางไทย พบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางพาราเป็นอันดับ 1 ของโลก ซึ่งในปี 2567 มีการส่งออกยางพาราจำนวน 3 . 96 ล้านตัน โดยส่งออกยางแท่งเอสทีอาร์มากที่สุด จำนวน 1 . 76 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ โดย การยางแห่งประเทศไทย ( กยท. ) ได้ดำเนินการศึกษามาตรการการเรียกเก็บภาษีของสหรัฐอเมริกา พร้อมทั้ง ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมสำหรับการรับมือกับมาตรการดังกล่าว และลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับพี่น้องเกษตรกรให้น้อยที่สุด

 

ศ.ดร.นฤมล กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การหารือแนวทางการดูแลแก้ไขปัญหาเรื่องยางพารา และเป็นโอกาสอันดีในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคเกษตรกร เพื่อสร้างความเข้าใจและเพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจากรายงานสถานการณ์ยางพาราไทย พบว่า ประเทศไทยของเราเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพาราเป็นอันดับ 1 ใน 3 ของโลก จึงแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนครั้งนี้ ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้มีการติดตามสถานการณ์ผลกระทบของมาตรการภาษีสหรัฐอเมริกาต่ออุตสาหกรรมยางไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อศึกษาและทบทวนแนวทางการดำเนินงานให้มีความชัดเจน และแก้ไขปัญหาด้านราคายาง เพื่อคลายความกังวลใจของพี่น้องเกษตรกร โดยยึดมั่นตามแนวทางการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงเกษตรฯ ที่ยึดมั่นการถวายงานและสานต่อของพระราชา รวมกับการดูแลเกษตรกรของพระราชาให้ได้รับความเป็นธรรมในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม เมื่อมีมาตรการภาษีดังกล่าวออกมาแล้วท้ายที่สุดต้องมีคนจ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา หรือผู้ส่งออก ผู้รับซื้อในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่ควรต้องเป็นพี่น้องเกษตรกรคนไทยที่เป็นคนจ่ายอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ ในที่ประชุมมีมติเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง เขตควบคุมการขนย้ายยางพารา พ.ศ.  . . . . ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ 1. อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 2. อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 3.อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 4. อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง และ 5. อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางให้มีความมั่นคง และป้องปรามการลักลอบนำยางเข้าราชอาณาจักร อีกทั้ง มีมติเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การกำหนดมาตรฐานยางและวิธีการมัดยางและการบรรจุหีบห่อยางเพื่อการส่งออก พ.ศ.  . . . .  เพื่อสร้างความชัดเจนในมาตรฐานการส่งออกของผู้ประกอบการและเกษตรกรในอนาคต

“เรารับรู้ถึงความทุกข์ของเกษตรกร จึงต้องให้ความเป็นธรรมว่า จะทำอย่างไรให้ราคายางพาราอยู่ในจุดที่เหมาะสม กระทรวงเกษตรฯในฐานะภาครัฐที่มีหน้าที่ดูแลเกษตรกร ถือว่าอยู่ตรงกลางระหว่างภาคเอกชนกับเกษตรกรไทย การประชุมครั้งนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนและสร้างความเข้าใจร่วมกัน เพราะต้องเข้าใจด้วยว่าเกษตรกรจะอยู่ได้ ก็ต้องทำให้ภาคเอกชนอยู่ได้ด้วยเช่นกัน และก็จำเป็นต้องทำงานร่วมกันทั้งสามฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของข้อมูลตลาด ราคา และรายละเอียดต่างๆ ซึ่งจากนี้จะมีการนัดเพื่อพูดคุยกันนอกรอบ และนำกลับเข้ามาพิจารณาในที่ประชุมครั้งหน้า ซึ่งทางภาคเอกชนก็เข้าใจในภารกิจของกระทรวงเกษตรฯเป็นอย่างดี และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ แต่ก็ขอให้เราสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพาราด้วย”ศ.ดร.นฤมล กล่าว

ศ.ดร.นฤมล กล่าวทิ้งท้ายว่า ขอฝากถึงพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราทุกท่าน กระทรวงเกษตรฯ พร้อมเคียงข้างพี่น้องเกษตรกรเสมอเพื่อรักษาผลประโยชน์และสร้างความเป็นธรรมอย่างสูงสุด และพร้อมรับฟังและแก้ไขในทุกปัญหาความเดือดร้อนอย่างจริงจัง

ข่าวที่น่าสนใจ

ต่อมาวันนี้ (24 เม.ย. 68) ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงถึงแนวทางการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ กระทั่งขณะนี้ราคายางพาราทุกชนิด ได้ปรับขึ้นมา 3 บาทถึง 10.3 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อเปรียบเทียบจากราคาเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2568 ราคายางทุกชนิดปรับลงวันเดียว 10-12 บาทต่อกิโลกรัม ดังนี้

1.ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 (ไม่อัดก้อน) ราคา 67.60 บาทต่อกิโลกรัม (กก.)

2.ยางแผ่นดิบคุณภาพดี (ความชื้นไม่เกิน 3%) ราคา 65.60 บาทต่อกิโลกรัม

3.น้ำยางสด  ราคา 57.20 บาทต่อกิโลกรัม ปรับ

4.ยางก้อนถ้วย (DRC 100%) ราคาเหลือ 55.50 บาทต่อกิโลกรัม

5.ยางก้อนถ้วย (DRC 70%) ราคาปรับลงมาเหลือ 38.85 บาทต่อกิโลกรัม

นับว่าเป็นความสำเร็จของกระทรวงเกษตรฯ โดย การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ในช่วงระยะเวลา 16 วัน ได้ดำเนินการศึกษา พร้อมทั้ง ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมสำหรับการรับมือกับมาตรการดังกล่าว และลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับพี่น้องเกษตรกรให้น้อยที่สุด โดยยึดมั่นตามแนวทางการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงเกษตรฯ ที่ยึดมั่นการถวายงานและสานต่อของพระราชา

รวมกับการดูแลเกษตรกรของพระราชาให้ได้รับความเป็นธรรมในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม เมื่อมีมาตรการภาษีดังกล่าวออกมาแล้วท้ายที่สุดต้องมีคนจ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา หรือผู้ส่งออก ผู้รับซื้อในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่ควรต้องเป็นพี่น้องเกษตรกรคนไทยที่เป็นคนจ่าย

“เข้าใจดีเป็นช่วงอยู่ในตลาดปรับตัว ก็ต้องทำมีการทำความเข้าใจกันทั้งผู้รับซื้อ จึงทำให้ราคากระเตื้องขึ้นมาแล้ว ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการควบคุมยาง ตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542 ว่า ที่ประชุมได้รับทราบรายงานสถานการณ์ยางพาราและ ผลกระทบของมาตรการภาษีสหรัฐอเมริกาต่ออุตสาหกรรมยางไทย พบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางพาราเป็นอันดับ 1 ของโลก ซึ่งในปี 2567 มีการส่งออกยางพาราจำนวน 3.96 ล้านตัน โดยส่งออกยางแท่งเอสทีอาร์มากที่สุด จำนวน 1.76 ล้านตัน”

 

ศ.ดร.นฤมล กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการควบคุมยาง ตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542  เป็นการประชุมครั้งแรกในรอบ 6- 7 ปี ก่อนหน้านั้นที่ได้มีการประชุมสมัยรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การหารือแนวทางการดูแลแก้ไขปัญหาเรื่องยางพารา และเป็นโอกาสอันดีในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคเกษตรกร

 

เพื่อสร้างความเข้าใจและเพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจากรายงานสถานการณ์ยางพาราไทย พบว่า ประเทศไทยของเราเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพาราเป็นอันดับ 1 ใน 3 ของโลก จึงแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนครั้งนี้และเพื่อคลายความกังวลใจของพี่น้องเกษตรกร ให้ความเป็นธรรมว่า จะทำอย่างไรให้ราคายางพาราอยู่ในจุดที่เหมาะสม กระทรวงเกษตรฯในฐานะภาครัฐที่มีหน้าที่ดูแลเกษตรกร ถือว่าอยู่ตรงกลางระหว่างภาคเอกชนกับเกษตรกรไทย ต้องสร้างความเข้าใจร่วมกัน ว่าเกษตรกรจะอยู่ได้ ก็ต้องทำให้ภาคเอกชนอยู่ได้ด้วยเช่นกัน

 

“เข้าใจดีเป็นช่วงอยู่ในตลาดปรับตัว ก็ต้องทำมีการทำความเข้าใจกันทั้งผู้รับซื้อ จึงทำให้ราคากระเตื้องขึ้นมา โดยภายหลังการประชุมคณะกรรมการควบคุมยาง ตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542 ว่า ที่ประชุมได้รับทราบรายงานสถานการณ์ยางพาราและ ผลกระทบของมาตรการภาษีสหรัฐอเมริกาต่ออุตสาหกรรมยางไทย พบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางพาราเป็นอันดับ 1 ของโลก ซึ่งในปี 2567 มีการส่งออกยางพาราจำนวน 3.96 ล้านตัน โดยส่งออกยางแท่งเอสทีอาร์มากที่สุด จำนวน 1.76 ล้านตัน”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“หมอวรงค์” หวดเจ็บ “วิโรจน์” พรรคประชาชน กลืนน้ำลายตัวเองหรือไม่ สารพัดอ้างไม่ยื่นสอบจริยธรรม “นายกฯอิ๊งค์”
"ตำรวจไซเบอร์" ออกหมายเรียก "สป.สายไหม" สอบปมเกี่ยวข้องเว็บพนัน 888 
"นฤมล" แจงผลสำเร็จ "กยท." แท็กทีมแก้ปัญหาราคายางพารา เพิ่มรายได้เกษตรกรแล้ว 3-10.3 บาทต่อกก.
เปิดภาพ กล้องดักถ่าย พบ 'ทหารรัฐมอญ' อาวุธครบมือ โผล่ตระเวนข้ามแดน ป่าแก่งกระจาน เร่งประสานหน่วยมั่นคงตรวจสอบด่วน
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ฉงชิ่งเปิดตัวบัสท่องเที่ยวธีม 'แพนด้ายักษ์'
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) เซี่ยงไฮ้เปิดตัว 'ปลาจักรกลอัจฉริยะ' แหวกว่ายใต้น้ำสมจริง
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) เปิดแคมเปญส่งเสริม 'ท่องเที่ยว' เน้นดึงต่างชาติ
สตง.แจงขั้นตอนปรับแก้ปล่องลิฟต์ ความหนาลดลง 5 ซม. ยืนยันผู้ออกแบบ วิศวกรรับรองถูกต้อง ชี้อำนาจตัดสินใจสุดท้ายอยู่ที่คตง.
สะพานจีนถล่มกลางกรุงปักกิ่ง
ครอบครัวลุง-ป้า เลือก "กัน จอมพลัง" ไม่ขอรับข้อเสนอ "พีช" พาซื้อรถใหม่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น