ข่าวที่น่าสนใจ
สำหรับอาวุธและยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกในส่วนของกองทัพเรือประกอบด้วย ยานรบสะเทินน้ำสะเทินบก AAV จำนวน 6 คัน ยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 จำนวน 3 คัน ยานเกราะล้อยาง BTR -3E1 จำนวน 4 คัน รถ AWAV 7 คัน รถยนต์บรรทุกฮัมวี่ 4 คัน ปืนใหญ่สนามขนาด 155 มม.จาก นย. และ สอ.รฝ. หน่วยละ 2 กระบอก ปืนใหญ่สนามขนาด 105 มม. 2 กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 40/60 มม. 2 กระบอก อาวุธยิงสนับสนุนภายในอัตรากองพันทหารราบ ชุดแทรกซึมทางอากาศจากกองพันลาดตระเวน กองพลนาวิกโยธิน อากาศยานไร้คนขับแบบ M SOLAR-X 1 ระบบ
โดยมีอากาศยานของกองทัพเรือที่ร่วมการฝึกประกอบด้วย เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลดอร์เนียร์สำหรับการส่งชุดแทรกซึมทางอากาศ เครื่องบินตรวจการณ์ชี้เป้าแบบ T-337 สำหรับการสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด (Close Air Support : CAS ) และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบ EC-645 สำหรับการส่งกลับสายแพทย์
ทั้งนี้ กองทัพบกได้จัดรถหุ้มเกราะติดอาวุธแบบ M1126 Stryker ICV 4 คัน เข้าร่วมการฝึกสำหรับการดำเนินกลยุทธ์เข้าตีและยึดครองที่หมาย ในขณะที่กองทัพอากาศจัดเครื่องบินขับไล่ F-16 จำนวน 2 เครื่อง สำหรับการขัดขวางกำลังเพิ่มเติมของฝ่ายตรงข้าม โดยมีชุดควบคุมอากาศยานโจมตี (Combat Control Team) จากกรมปฏิบัติการพิเศษหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน แนะนำการติดต่ออากาศยานเข้าพื้นที่การปฏิบัติการ
ผลลัพธ์ที่จะได้รับจากการฝึกในครั้งนี้ นอกจากกำลังพลที่เข้าร่วมการฝึกจากหน่วยต่างๆ ของกองทัพเรือ กองทัพบก และกองทัพอากาศจะได้ใช้ยุทธวิธีหลักนิยมในการรบร่วม และทดสอบแนวทางการใช้กำลังของกองทัพเรือให้เป็นไปตามแผนป้องกันประเทศ เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญเพิ่มขึ้นจากการฝึกจริงแล้ว ยังทำให้กองทัพเรือได้รับทราบถึงขีดความสามารถและข้อจำกัดของกำลังพลในปัจจุบัน รวมทั้งการปฏิบัติการร่วมกันกับเหล่าทัพต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาขีดความสามารถสำหรับการปฏิบัติภารกิจของกองทัพเรือ โดยเฉพาะในการป้องกันประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สมเศียรโชติสนิท ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดจันทบุรี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง