“อิตาเลียนไทย” เข้าพบ DSI แจงปมตึกสตง.ถล่ม-กิจการร่วมค้าไชน่าเรลเวย์

“อิตาเลียนไทย” เข้าพบ DSI แจงปมตึกสตง.ถล่ม-กิจการร่วมค้าไชน่าเรลเวย์

เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ผ่านมา(29 เม.ย.68) นายเกียงศักดิ์ กอวัฒนา รองประธานบริหารอาวุโส เป็นตัวแทนบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ที่ ห้องประชุมกองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ซึ่งตั้งเป็นศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษที่ 32/2568 โครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)  ก่อนเข้าให้ปากคำนายเกียงศักดิ์ ตอบคำถามกับสื่อมวลชนว่า ขอเข้าไปให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ก่อน เมื่อถามว่ารู้หรือไม่ว่าบริษัท China Railway Number 10 ที่บริษัท อิตาเลียนไทย เข้าไป joint venture (กิจการร่วมค้า) เป็นบริษัทสัญชาติจีน นายเกียงศักดิ์บอกว่า “รู้อยู่แล้ว และวันนี้ก็พร้อมชี้แจงกับเจ้าหน้าที่”

 

 

 

 

ต่อมา เวลา 10.00 น. พันตำรวจโท อมร หงษ์ศรีทอง ผู้อำนวยการกองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ เปิดเผยว่า ในวันนี้ได้นัดหมายผู้บริหารของบริษัท อิตาเลียนไทย เข้ามาให้ถ้อยคำ โดยประเด็นการสอบสวนจะเน้นไปที่รายละเอียดการประมูลรับงานตั้งแต่ต้นจนจบ รวมถึงการไปร่วมค้ากับบริษัท China Railway Number 10 ด้วยว่า เวลาไปร่วมประมูล และการดำเนินการก่อสร้าง ทั้งสองบริษัทแบ่งหน้าที่กันอย่างไร รวมถึงค่าตอบแทน ว่าแบ่งสัดส่วนกันอย่าง

 

พันตำรวจโท อมร อธิบายว่าบริษัท China Railway Number 10 ที่มาดำเนินกิจการในประเทศไทย มีสัดส่วนการถือหุ้นตามกฎหมายคือ 50 ต่อ 49 ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินคดี และพิสูจน์เรื่องเกี่ยวกับนอมินีไปแล้ว แต่บริษัท China Railway Number 10 ที่ไปร่วมค้ากับบริษัท อิตาเลียนไทย ในขณะนั้น มีการกล่าวอ้างว่าเป็นบริษัทของสัญชาติไทย ซึ่งหลังจากนี้ก็ต้องพิสูจน์ว่า ช่วงที่นำไปร่วมค้าเพื่อรับงานประมูลก่อสร้างตึก สตง.เป็นบริษัทสัญชาติไทยจริงหรือไม่

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนข้อสงสัยที่ว่าบริษัทร่วมค้า China Railway Number 10 กับ บริษัท อิตาเลียนไทย เข้าสู่กระบวนการ e-bidding จริง แต่ในระหว่างก่อสร้างอาจใช้ผู้รับเหมาช่วงของบริษัทอื่นมาทำงานแทน พันตำรวจโท อมร บอกว่า ช่วงประมูลรับงานเซ็นสัญญา เป็นขั้นตอนหนึ่ง แต่พอได้งานมาแล้ว จะไปจ้างรับเหมาช่วงต่อหรือไม่ ตรงนี้ก็เป็นประเด็นที่ต้องสอบต่อ

 

 

ส่วนข้อสงสัยเรื่องการใช้คุณสมบัติของบริษัท อิตาเลียนไทย ในการรับงานประมูล แต่ท้ายที่สุดในการก่อสร้างอาจ ไม่ได้มีบริษัท อิตาเลียนไทยเข้าไปเกี่ยวข้องเลย หรือไม่นั้น ตรงนี้ก็ต้องสอบข้อมูลเช่นเดียวกัน

อีกประเด็นที่ต้องสอบเพิ่มเติมคือ เรื่องการร่วมทำธุรกิจก่อสร้างระหว่างทั้ง 2 บริษัท ว่านอกจากโครงการก่อสร้างตึก สตง. มีโครงการอื่นที่ประมูลงานร่วมกันอีกหรือไม่

ขณะที่ช่วงบ่ายของวันนี้ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้เรียก นายธีระ วรรธนะทรัพย์กรรมการของบริษัท ไมนฮาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทที่รับออกแบบโครงการตึก สตง. มาให้ข้อมูล ว่าเมื่อได้รับมอบงานโครงการนี้มา จากนั้นมีการออกแบบแปลนตึกอย่างไร ลักษณะจะเป็นการสอบรายละเอียดตั้งแต่ต้นทาง หลังประมูลงาน ส่วนข้อมูลที่เคยออกมาเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า มีการแก้แบบถึง 9 ครั้ง จะต้องสอบข้อมูลการแก้แบบที่พบปัญหา เรื่องลายเซ็นวิศวกร ช่วงแก้แบบครั้งที่ 4 กับ 6 ด้วยหรือไม่

 

 

 

 

พันตำรวจโทอมร บอกว่า ช่วงแก้แบบที่มีปัญหาระหว่างดำเนินงานก่อสร้าง น่าจะไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทออกแบบแล้ว แต่ไปเกี่ยวข้องกับบริษัทควบคุมงานมากกว่า ส่วนนายพิมล วิศวกร อายุ 85 ปี ที่ปรากฏลายเซ็นในการแก้แบบ ทางเจ้าหน้าที่เรียกสอบไปแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้บอกว่าจำไม่ได้ว่าเซ็นลายดังกล่าวจริงหรือไม่ แต่ภายหลังก็ไปทบทวนมา แล้วยืนยันว่าเป็นลายเซ็นของนายพิมล จริง แต่ขอไม่เปิดเผยรายละเอียดคำให้การ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้ว่าธปท. รับมอบทองคำ 10 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 34 ล้านบาท จากคณะศิษยานุศิษย์องค์หลวงตามหาบัว
“อนุทิน” ซาบซึ้งในพระบารมี “ในหลวง-พระราชินี” ทรงขับเครื่องบินเสด็จฯภูฏานด้วยพระองค์เอง ฟ้าเปิดทางแม้อากาศปิด
ไฟไหม้ร้านอาหารดับ 22 รายที่จีน
คะแนนนิยมผู้นำสหรัฐร่วงต่ำสุดในรอบ 80 ปี
จีนยก 'ไทย' สำคัญระดับสูงในการทูตประเทศเพื่อนบ้าน
บราซิลจัดประชุม”บริกส์”ถกสงครามภาษีทรัมป์
สเปน-โปรตุเกสไฟฟ้ากลับมาแล้ว 99 %
ให้เลือด = ให้ชีวิต เบื้องหลังทุกหยดโลหิต…คือหัวใจจิตอาสา CPF ทั่วไทย
"นฤมล" ร่วมประชุมนายกฯ เกาะติดค้าชายแดน แผนพัฒนาศูนย์ขนส่ง One Stop Service เพิ่มสะดวกนำสินค้าเข้า-ออก
"โฆษก กอ.รมน." แจงทำหน้าที่ปกป้องสถาบันชาติ ใช้อำนาจตามกม.แจ้งความ "ดร.พอล" ผิดอาญา 112

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น