“ดร.เวทิน” วอน อย่าเอาวีรชน 6 ตุลา เป็นเครื่องมือทางการเมือง

"ดร.เวทิน" วอน อย่าเอาวีรชน 6 ตุลา เป็นเครื่องมือทางการเมือง

หนึ่งในผู้ที่ตั้งข้อสังเกต คือ ดร.เวทิน ชาติกุล ผู้อำนวยการสถาบันทิศทางไทย กล่าวถึง เหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ว่า ปัจจุบันนี้ มีบุคคลบางกลุ่มได้พยายามบิดเบือนประวัติศาสตร์และข้อเรียกร้องของนิสิตนักศึกษาที่ชุมนุมเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 โดยเฉพาะข้อเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายมาตรา 112 และข้อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเหตุการณ์เมื่อ 6 ตุลาคม 2519 ไม่มีข้อเรียกร้องดังกล่าว

ดร.เวทิน อธิบายต่อไปว่า มีข้อเท็จจริงที่กลุ่มคนที่พยายามโหนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ไม่ยอมบอกความจริง คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่เคยมีคำสั่งใดๆที่ทำร้ายนักศึกษาหรือประชาชน เรื่องนี้ นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์ ม.ธรรมศาสตร์ เคยอออกมายอมรับแล้วว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาคม สถาบันกษัตริย์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เเม้ว่าจะมีการห้ามปรามหรือเตือนแล้ว แต่แกนนำอย่างนักศึกษาในยุคนั้น เช่น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และธงชัย วินิจจะกูล กลับไม่ฟัง จนนำมาสู่ควรมสูญเสีย

ข้อเท็จจริงต่อมา คือกลุ่มนักศึกษาที่ชุมนุมบางส่วน มีองค์กรรับรอง กล่าวคือ ไม่ได้ออกมาเรียกร้องด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่มีการยอมรับว่า เป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์

ข้อเท็จจริงต่อมา มีพรรคการเมืองอย่างพรรคชาติไทยและกลุ่มการเมืองที่ชื่อว่า “กลุ่มราชครู” อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ ที่ต้องการกลับมามีบทบาททางการเมือง มีความพยายามที่จะปลุกกระแสกระแสขวาจัด ผ่านภาคประชาชน จนนำมาสู่ความรุนแรง

ข้อเท็จจริงต่อมา ในช่วงเวลาดังกล่าว มีทหารบางกลุ่มเตรียมการที่จะยึดอำนาจจากรัฐบาล แต่มาเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาขึ้นก่อน

ข้อเท็จจริงต่อมาคือ เหตุการณ์ 6 ตุลาคมยังไม่จบ แต่หลังจากนั้นมีเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่า หลังจากปี 2519 จนถึงปี 2523 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มคอมมิวนิสต์ทั่วโลกเริ่มล่มสลาย นักศึกษาเริ่มออกมามอบตัวออกจากป่าและร่วมพัฒนาชาติไทย มีการเข่นฆ่ากันทั่วประเทศไทยเกิดสงครามประชาชน คนไทยเข่นฆ่ากันเองทุกหัวระแหงทั้งหมดเกิดขึ้นมาจากเหตุการณ์ 6 ตุลา แต่กลุ่มคนกลุ่มนี้กลับไม่พูดถึง

ดร.เวทิน กล่าวอีกว่า นักการเมืองปัจจุบันอย่างนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นางสาวพรรณิการ์ วานิช นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และกลุ่มผู้ชุมนุม 3 นิ้ว กำลังใช้เหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งถือเป็นการก้าวล่วงวีรชนที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น การที่นิสิตนักศึกษาและประชาชนเสียชีวิตถือเป็นบาดแผลของประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่ประชาชนต้องเข่นฆ่ากันเองจากอุดมการณ์ที่ไม่ตรงกัน ซึ่งปัจจุบันควรจะนำประวัติศาสตร์มาแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหมือน 6 ตุลา เกิดขึ้นอีกในปัจจุบัน ถ้ากลุ่มคนดังกล่าว นำพาไปสู่เหตุการณ์รุนแรง จะถือว่าเป็นกลุ่มคนที่เลวทรามชั่วช้าเป็นที่สุด

ดร.เวทิน ยังกล่าวถึงการวางตัวในสถานการณ์ปัจจุบันของผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า สาเหตุที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่อนุญาต ให้มีการจัดงานรำลึก 6 ตุลา ภายในมหาวิทยาลัย ส่วนตัวมองว่า มหาวิทยาลัยคงไม่อยากให้เกิดกระแสปลุกระดม เนื่องจากมหาวิทยาลัยมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ดังกล่าว เพราะเป็นสถานที่เกิดเหตุ และไม่ต้องการให้กลุ่มการเมืองเคลื่อนไหวบางกลุ่ม นำมหาวิทยาลัยไปเกี่ยวข้องหรือโยงเข้ากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องให้มีการยกเลิกกฏหมาย112 และปฏิรูปสถาบัน เชื่อว่าจากนี้มหาวิทยาลัยอาจจะพิจารณาให้มีการจัดกิจกรรม 6 ตุลา ในปีต่อๆไปอย่างรอบคอบและมีนัยยะสำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"สรรเพชญ" พร้อมกลุ่มสส.ร่วม "ชวน-บัญญัติ" ส่งหนังสือเร่งรัฐ เยียวยาน้ำท่วมทำใต้วิปโยค
“ทักษิณ” อวย ฉายา “แพทองโพย” เก่งกว่าพ่อนั่งนายกฯ ฟุ้งคนเหนือก็เป็นพ่อเลี้ยงกันหมด
“อนุทิน” น้อมรับฉายา “ภูมิใจขวาง” ลั่นไม่ได้คิดขวางใคร ชื่นชม “นายกฯ” ตั้งใจทำงาน หลังถูกมองเป็นรบ. (พ่อ) เลี้ยง
“รทสช.” เคลื่อนไหว หลังสื่อทำเนียบฯตั้งฉายา “พีระพันธุ์” Fc แห่คอมเมนต์ให้กำลังใจ
ชวนเที่ยวงาน "เที่ยวถิ่น กินอร่อย สมุทรปราการ" ปี 67 จัดใหญ่จัดเต็มส่งท้ายความสุขช่วงปลายปี
"ทักษิณ" เล่นใหญ่ กลับเชียงใหม่ นำ "พิชัย" ชิงนายกอบจ. เชื่อเลือกตั้งครั้งหน้า เพื่อไทยได้ 10 สส.
แตกตื่นทั้งวอร์ด! หามผู้ป่วยพม่าติดโรคห่า 1 ราย ข้ามแดน ส่ง รพ.แม่สอด
ซีพีเอฟ ประมงเพชรบุรี และเรือนจำกลางเพชรบุรี นำภูมิปัญญาท้องถิ่นทำน้ำปลาจากปลาหมอคางดำ ตรา “หับเผย เขากลิ้ง”
หน่อยยลดา มั่นใจ 4 ปี ผลงานเข้าถึงใจ พี่น้องประชาชน ย้ำอีก4 ปี ผลงานที่ค้างจะเดินหน้าก้าว ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
DSI ส่งสำนวนฟ้องคดี "ดิไอคอน" 3.4 แสนแผ่น ยึดทรัพย์สินได้ 747 ล้าน จ่อเอาผิดกลุ่มแม่ข่ายเพิ่ม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น