วันที่ 9 ตุลาคม 2564 ทางด้าน เพจ Krungthai Care ได้ออกมาโพสต์ข้อความว่า ปรับโครงสร้างหนี้ ทางเลือกที่ช่วยให้การดำเนินชีวิตหรือธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง 8 ทางเลือกปรับโครงสร้างหนี้ มีอะไรบ้าง
1. ยืดระยะเวลาชำระหนี้
เพื่อช่วยให้ภาระการผ่อนสอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง และยอดผ่อนชำระต่อเดือนปรับลดลง
2. พักชำระเงินต้น
ช่วยลดภาระการผ่อนได้ชั่วคราว แต่การผ่อนแบบนี้เงินต้นจะไม่ลดลงในช่วงพัก ส่งผลให้ลูกหนี้จ่ายเงินก้อนใหญ่ขึ้นในช่วงท้ายสัญญา หรือแบกภาระดอกเบี้ยนานขึ้น
3. ลดอัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลง ทำให้ค่างวดที่จ่ายแต่ละเดือนสามารถแบ่งไปตัดลดเงินต้นได้มากขึ้น เมื่อเงินต้นลด ภาระดอกเบี้ยก็จะลดลง สามารถจ่ายเงินต้นได้มากขึ้น
4. ยกเว้น หรือผ่อนปรนดอกเบี้ยค้างชำระ
สถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยปรับบนฐานของงวดที่ผิดนัดชำระจริงเท่านั้น
5. เพิ่มเงินทุนหมุนเวียน
เงินทุนหมุนเวียน เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อเสริมสภาพคล่อง ผู้กู้ควรประมาณการรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นในอีก 6–12 เดือน เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าซื้อวัตถุดิบ ค่าน้ำ ค่าไฟ
6. รวมหนี้เป็นก้อนเดียว
เพื่อช่วยปิดหนี้ที่อัตราดอกเบี้ยแพง
7. ปิดจบหนี้ หากมีเงินก้อน
หากพอมีความสามารถหาเงินก้อนได้จำนวนหนึ่ง เช่น จากเงินออม สามารถเจรจาขอส่วนลดให้เพียงพอต่อการปิดหนี้
จบทั้งบัญชีได้ ซึ่งช่วยลดภาระค่างวดรายเดือน
8. รีไฟแนนซ์ปิดสินเชื่อเดิม
ปิดสินเชื่อจากเจ้าหนี้เดิมและย้ายไปใช้สินเชื่อของเจ้าหนี้ใหม่ ที่ให้เงื่อนไขดีกว่า เช่น อัตราดอกเบี้ยถูกลง โดยนำหนี้ใหม่ไปชำระหนี้เดิมที่คงค้าง
หากไม่สามารถชำระหนี้ตามที่ได้ตกลงไว้กับเจ้าหนี้ ควรเจรจาต่อรองเพื่อหาทางออกร่วมกัน ป้องกันการเป็นหนี้เสียทั้งก้อนค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก bot.or.th
ขอบคุณ : Krungthai Care