รมว.กระทรวงเกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามความคืบหน้า โครงการอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ ที่ จ.อุบลฯ

รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามความคืบหน้า โครงการอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ ที่ จ.อุบลฯ พร้อมแจกพันธุ์ปลาตะเพียนจำนวน 1 แสนตัว ให้กับประชาชนใน 8 หมู่บ้านที่อยู่บริเวณรอบอ่าง เพื่อนำไปเลี้ยงประกอบเป็นอาชีพ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 8 ตุลาคม 2564  ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ดร.ศุภชัย ศรีหล้า ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (ผู้ริเริ่มโครงการ) พร้อมคณะตรวจเยี่ยมและคณะติดตาม ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ บ้านนาดี ต.ยางสักกระโพหลุ่ม อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี โดยมี นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายสัมพันธ์ เดือนศิริรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอุบลราชธานี สำนักงานชลประทานที่ 7 กรมชลประทาน หัวหน้าส่วนราชการทุกหน่วงงาน และประชาชนที่อยู่ในชุมชนโดยรอบอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่กว่า 100 คนให้การต้อนรับ

สำหรับจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่รองรับน้ำจากลำน้ำทุกสายในภาคอีสาน ทำให้เกิดสภาพน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2562 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่เพื่อมารับทราบปัญหา พร้อมเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรชาวจังหวัดอุบลราชธานี และได้ผลักดันสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขุดลอกและปรับปรุงโครงการอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ เพื่อเป็นแก้มลิงรองรับน้ำ ไม่ให้มวลน้ำลงไปยังลำเซบก ป้องกันไม่ให้ท่วมพื้นที่อำเภอตระการพืชผล อีกทั้งชาวบ้านในอำเภอม่วงสามสิบและใกล้เคียงยังได้รับประโยชน์มีแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรอย่างเพียงพอและทั่วถึง พร้อมกันนี้ ยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และแหล่งเช็คอินแห่งใหม่แห่ง จ.อุบลราชธานีอีกด้วย

โดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แจกพันธุ์ปลาตะเพียนจำนวน 1 แสนตัว ให้กับประชาชนใน 8 หมู่บ้านที่อยู่บริเวณรอบอ่างเพื่อนำไปเลี้ยงประกอบเป็นอาชีพต่อไป

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวว่า อ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ ทางกระทรวงเกษตรฯ ได้จัดให้เป็นโมเดลระดับประเทศในการพัฒนาพื้นที่แหล่งน้ำที่มีอยู่ ให้สามารถเก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้นกว่า 200 เปอร์เซ็นต์ และจะเป็นการป้องกันอุทกภัย พร้อมแก้ปัญหาภัยแล้งภายในตัว และเป็นต้นแบบเพื่อให้ทุกที่ได้มาดูว่า การเพิ่มต้นทุนน้ำโดยพื้นที่ที่มีอยู่ที่ก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเป็นอย่างไร โดยหลังจากสร้างเสร็จจะไม่เพียงเป็นการส่งเสริมการเกษตรเพียงอย่างเดียว ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของ จ.อุบลราชธานี และยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา กุ้ง ให้พี่น้องประชาชนได้จับนำไปประกอบอาหาร และยังเป็นรายได้เสริมได้อีกต่อไป.

 

ภาพ/ข่าว  ทีมข่าว ศูนย์ข่าวภูมิภาค TOP NEWS ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เลขาธิการ สปส. แจงเสถียรภาพ "กองทุนประกันสังคม" ย้ำชัดสิทธิประโยชน์ดีเพิ่มขึ้นทุกปี
คึกคักสุดๆ แห่เที่ยวตามรอย "ลิซ่า" ในซีรีส์ The White Lotus 3 ทำยอดจองโรงแรมเกาะสมุยพุ่ง
ผู้ลี้ภัยแอลจีเรียไล่แทงตำรวจในฝรั่งเศส
เต่าทะเลกว่า 6 แสนตัวแห่วางไข่ที่ชายหาดอินเดีย
ฮามาสปล่อย 6 ตัวประกันสุดท้ายภายใต้ข้อตกลงเฟสแรก
‘Super AI Engineer Season 5’ รวมพลังรัฐ-เอกชน-ประชาสังคม ปั้นบุคลากร AI เสริมขีดความสามารถแข่งขันไทย
"ดร.ปณิธาน" ยกพัทยาโมเดล แก้ปัญหา "ชาวอิสราเอล" ล้นเมืองปาย แนะหน่วยมั่นคงบังคับใช้กม.ใกล้ชิด
"อดีตสว.สมชาย" แฉโพย ฮั้วเลือกสว. ชี้เป็นหลักฐาน ดีเอสไอ เร่งนำลากไส้ตัวการใหญ่
‘ทักษิณ’ ปลื้มลงพื้นที่นราธิวาส ในรอบ 19 ปี ปชช.รอต้อนรับ
นายกฯ รับรายงาน ตร.ไทย-กัมพูชา ร่วมมือทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ฝั่งปอยเปต ช่วยเหยื่อคนไทยนับร้อย หลุดพ้น

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น