“สุชัชวีร์” แนะ 3 ข้อ ต่อสู้น้ำท่วมซ้ำซากในกทม.

รองหัวหน้าพรรคกล้า ชวนคนกรุง ขอคืนแก้มลิงให้คนกทม.ป้องกันน้ำท่วม ด้าน “ดร.เอ้” " แนะ 3 ข้อ ต่อสู้น้ำท่วมซ้ำซากในกทม.ทั้งระยะสั้น -กลาง -ยาว

วันที่ 15 ต.ค.2564 ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โพสต์เฟซบุ๊ก ข้อความว่า 2554 ถึง 2564 ไม่มีอะไรเปลี่ยน แล้วอีกสิบปี หาก กทม. จมน้ำ สูญเสียมหาศาล ข้อมูลทุกสำนักวิจัย สำนักข้อมูลข่าวบอกตรงกันว่า กรุงเทพจมน้ำแน่ในอีกสิบกว่าปี และจะจมมิดไปเรื่อยๆ หากเรายังไม่คิด ยังไม่เข้าใจปัญหา (อย่างลึกซี้ง) และยังไม่เริ่มที่จะทำอะไรจริงจัง เพราะการอยู่เฉย หรือการแก้ปัญหาแบบเก่า เราคงไม่รอด และยังมีหลายสำนักวิจัย ประมาณว่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ รุนแรงมหาศาล ถึง 17.4 ล้านล้านบาท ในปี 2030 ซึ่งไม่ถึงสิบปีจากวันนี้
ศ.ดร.สุชัชวีร์กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบกับ มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมใหญ่ ปี 2554 เพียงปีเดียว ก็เกิน 1.4 ล้านล้านบาทแล้ว แสดงว่าการประมาณการที่ว่า อาจจะน้อยไปด้วยซ้ำ หากเราปล่อยให้ถึงวันนั้น และเปรียบเทียบมูลค่าความสูญเสีย กับงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2565 มูลค่า 3.1 ล้านล้านบาท พบว่า มากกว่า งบประมาณแผ่นดินปีนี้ถึงเกือบ 6 เท่า มากกว่า งบการ (กระทรวง) ศึกษาประจำปี ถึง 52 เท่า มากกว่า งบสาธารณสุขประจำปี ถึง 116 เท่า ภาพชัดเปรียบเทียบกับมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ ว่ามันมากมาย อภิมหาศาลขนาดไหน แล้วเราจะเอายังไงกันดี เมื่อรู้ว่าภัยน้ำท่วมกทม.คือ วิกฤติเศรษฐกิจที่สุดของที่สุดของชาติ

ศ.ดร.สุชัชวีร์กล่าวว่า เมื่อคืนฝนตกหนักทุกพื้นที่ ตนในฐานะนายกสภาวิศวกร ขอแนะนำ การต่อสู้กับน้ำท่วมซ้ำซากของกทม.คือ 1. การต่อสู้ระยะสั้นทำได้ทันทีคือ การปรับระบบการสูบน้ำจากเครื่องดีเซล มาเป็นใช้ปั๊มสูบน้ำไฟฟ้าอัตโนมัติ เพราะไม่ต้องให้คนมารอเปิดปิด (คืนนี้น้ำท่วมบ้านทุกคน เพราะไม่มีใครมาสตาร์ทเครื่องปั๊มน้ำดีเซล) ทั้งเสี่ยงต่อการผิดพลาด เพราะเทคโนโลยีปัจจุบัน เอี้อให้ทุกเมืองใช้ปั๊มไฟฟ้าที่มีตัวเซนเซอร์ทำงานอัตโนมัติ ทำงานทันทีเมื่อน้ำท่วม และหยุดทำงานเมื่อน้ำลด ทั้งในกทม. ก็มีเสาไฟฟ้าต่อไฟได้ทุกจุด ยิ่งไปกว่านั้น แบตเตอรี่ยังเก็บพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้นทุกวัน

ศ.ดร.สุชัชวีร์กล่าวอีกว่า ที่สำคัญไม่ต้องมีคนเวียนกันมาเติมน้ำมัน ขาดประสิทธิภาพ เก็บแรงงานคนไว้ทำงานอื่นดีกว่า ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้เครื่องสูบน้ำทุกเครื่องในกทม. นับพันเครื่อง สามารถทำงานสอดประสาน ช่วยงานกันได้เต็มที่ ด้วยระบบไฟฟ้าอัตโนมัติ ไม่สูบน้ำใส่กัน ย้อนไปย้อนมา แทนที่แบบเครื่องดีเซลโบราณ ที่สูบแบบตัวใคร ตัวมัน! แบบนี้ก็บรรเทาน้ำท่วมได้ทันใจ คนเดือดร้อนน้อยลงทันที

2. การต่อสู้ระยะกลาง “แก้มลิงใต้ดิน” และบนดิน ต้องเริ่มออกแบบก่อสร้างแล้วในกรุงเทพชั้นใน เพราะความสูญเสียต่อปีมหาศาล และจะมากขี้นเรื่อยๆ ขณะที่ทุกเมืองที่เคยเจอวิกฤตน้ำท่วมหนักยิ่งกว่ากรุงเทพ หลักฐานชัด แก้ปัญหาได้ ทำสำเร็จด้วยวิธีนี้ ทั้งโตเกียว ฮ่องกง สิงค์โปร์ กัวลาลัมเปอร์ แล้วเรารออะไรอยู่ ปัจจุบันกรุงเทพคือ “กระทะคอนกรีตยักษ์” ก้นลึกขึ้นทุกวันๆ อยู่ต่ำกว่าคลอง ต่ำกว่าเจ้าพระยา กระทั่งต่ำกว่าทะเลในหลายพื้นที่ ที่พออยู่รอดไปวันๆ ประทังชีวิตได้ ด้วยการสูบน้ำจากล่างขึ้นบนไประบายสวนทางธรรมชาติ ไม่มีทางยั่งยืน แม้แก้ไขด้วยการเปลี่ยนมาใข้ปั๊มสูบน้ำไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ ตามที่แนะนำในข้อ 1 ก็เป็นเพียงการแก้ไขระยะสั้น ประทังไปเท่านั้น ดังนั้น “แก้มลิงใต้ดิน” เพื่อพักน้ำรอระบาย คือ ทางรอดของกรุงเทพชั้นใน ปัญหาน้ำท่วมจากน้ำฝนแก้ได้ทันที

ศ.ดร.สุชัชวีร์กล่าวต่อว่า วันนี้กำลังจะเกิดขึ้นแห่งแรก ที่วัดเล่งเน่ยยี่ ที่ตนเป็นที่ปรึกษา จะทำพื้นที่จอดรถใต้ดิน 3 ชั้น เป็นแก้มลิงใต้ดิน รับน้ำท่วมย่านเจริญกรุง กทม.ชั้นใน

3. การต่อสู้ระยะยาว ข้อ 1 และ 2 เพื่อต่อสู้กับน้ำฝนเท่านั้น ซึ่งน้ำท่วมซ้ำซากของกทม. ไม่ใช่มีแค่น้ำฝน แต่จากนี้ไปกรุงเทพต้องเผชิญกับอีก 2 น้ำคือ น้ำเหนือไหลบ่า และน้ำทะเลหนุนสูง จุดตายแท้จริงคือ 2 น้ำนี้ ทำไมเมื่อเกิดน้ำเหนือบ่า และน้ำทะเลหนุน กรุงเทพจะสิ้นสภาพทันที เหมือนกับปี 2554 เพราะเราจะไม่สามารถระบายน้ำออกจากเมืองได้ และยังถูกถาถมด้วยน้ำทะลักรอบทิศทาง จม จบ!! ทางรอดคือ 1. ต้องเริ่มสร้างคันกั้นน้ำทะเลหนุน แนวชายทะเล และ 2. ขยายเส้นทางน้ำเหนือ สายหลัก ออกสู่ทะเล ทั้งไม่ให้มีถนนขวางกั้น ไม่สะดุด ไม่ชลอ

ศ.ดร.สุชัชวีร์กล่าวด้วยว่า โครงการแบบนี้ มีรายละเอียดเยอะมาก เล่ากันนานและใช้เวลายาวนานทั้งการออกแบบ ประชาพิจารณ์ ก่อสร้างก็ต้องต่อเนื่อง จึงต้องมุ่งมั่น ตั้งใจเริ่มทำจริง เพราะอาจมีผลกระทบต่อประชาชนไม่น้อย การแก้ไขด้วยทุกกระบวนการเยียวยา คงต้องนำมาใช้ ซึ่งท้าทายมาก ดังนั้นคิดวันนี้ กว่าจะสำเร็จ ใช้เวลาเป็นสิบปี หรือหลายสิบปี แต่ถ้าไม่คิด ไม่เริ่ม ไม่ทำ จม เจ๊ง จบข่าว ทุกข้อเสนอของตน ทำได้จริง ประเทศที่เคยเจอวิกฤตน้ำท่วมยิ่งกว่าเรา ก็ทำมาแล้ว อยู่ที่ว่าเราจะทำหรือไม่ทำ ก็เท่านั้นเอง

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ฮีโร่โอลิมปิคเหรียญทองน้องอร “ฉายาสู้โวย” ร่วมแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ในงานกีฬาประจำปีอบต.ไทยสามัคคี พร้อมลงแข่งขันตีกอล์ฟบก สร้างความสนุกสนานเฮฮา
"สธ." ยันพบชาวเมียนมา ป่วยอหิวาฯ รักษาฝั่งไทย 2 ราย อาการไม่รุนแรง
สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น