“ดร.สามารถ” โพสต์สาเหตุ “น้ำท่วม” กทม.

“ดร.สามารถ” โพสต์สาเหตุ “น้ำท่วม” กทม.

วันนี้ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้ชำนาญด้านโครงการและแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนและ ท่าอากาศยาน โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว เรื่อง จาก “น้ำรอระบาย” ถึง “น้ำมาก” วาทกรรมสู้ “น้ำท่วม”! โดยประเด็นสำคัญบางส่วน ดร.สามารถ ระบุว่า ผู้ว่าฯ กทม. สมัยที่แล้วบอกว่า “ขออย่าเรียกว่าน้ำท่วม ขอให้เรียกว่าน้ำรอระบาย” มาถึงผู้ว่าฯ กทม. สมัยนี้บอกว่า “ไม่อยากให้เรียกว่าน้ำท่วม ให้เรียกว่าน้ำมาก” แต่สำหรับคนกรุงเทพฯ ไม่รู้ว่า “น้ำรอระบาย” กับ “น้ำมาก” ต่างกันอย่างไร คนกรุงเทพฯ บอกว่าจะให้เรียกอะไรก็ได้ ขออย่างเดียวอย่าให้ต้องลุยน้ำก็แล้วกัน

ทั้งนี้แม้ กทม. เตรียมพร้อมแล้ว แต่ทำไมน้ำก็ยังท่วมนั้น ดร.สามารถบอกว่า ก่อนหน้าฝนหรือก่อนฝนตกหนัก กทม. ได้ดำเนินการรับมือกับปริมาณน้ำฝนเป็นอย่างดี อาทิ พร่องน้ำหรือลดระดับน้ำในคูคลอง ลอกท่อ เตรียมความพร้อมที่สถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ และเร่งระบายน้ำทันทีที่ฝนเริ่มตก แต่ก็ยังมีน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมที่มีสภาพเหมือน “แอ่งกระทะ” ซึ่งระบายน้ำได้ยาก ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมี “คอขวด” เป็นอุปสรรคในการระบายน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ “แอ่งกระทะ” ไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยา หรืออุโมงค์ได้อย่างรวดเร็ว

ดร.สามารถ ระบุอีกว่า ถึงเวลานี้ เรามีอุโมงค์หรือ “ทางด่วนน้ำ” ใช้งานแล้ว 4 อุโมงค์ และกำลังก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ 1 อุโมงค์ รวมทั้งกำลังจะก่อสร้างอีก 4 อุโมงค์ อุโมงค์เหล่านี้มีหน้าที่ลำเลียงน้ำซึ่งรับมาจากท่อระบายน้ำและคูคลองลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา อุโมงค์ทั้ง 4 อุโมงค์ ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันนี้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ สูบลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาอย่างรวดเร็ว แต่ขาเข้าที่ปากอุโมงค์มีปัญหา เนื่องจากท่อระบายน้ำและคูคลอง ไม่สามารถลำเลียงน้ำมาสู่ปากอุโมงค์ได้อย่างรวดเร็ว เพราะท่อระบายน้ำมีขนาดเล็ก และคูคลองมีสิ่งก่อสร้างรุกล้ำ ทำให้มีสภาพเป็น “คอขวด”

ส่วนจะแก้ “คอขวด” ในการระบายน้ำได้อย่างไรนั้น ดร.สามารถชี้ว่า กทม. จะต้องเร่งขจัด “คอขวด” ให้หมดไปโดยด่วน โดยเฉพาะในพื้นที่แอ่งกระทะ ซึ่งการแก้ปัญหา “คอขวด” สามารถทำได้โดยการวางท่อระบายน้ำเพิ่มเติมจากท่อเดิมที่เป็นท่อขนาดเล็ก มีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 60 เซนติเมตรเท่านั้น ท่อระบายน้ำใหม่จะต้องมีขนาดใหญ่กว่าเดิม จะช่วยให้การลำเลียงน้ำไปสู่คูคลองและอุโมงค์ เพื่อระบายน้ำสู่แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นไปอย่างรวดเร็ว และในการวางท่อใหม่นั้นจะต้องใช้เทคนิคดันท่อใต้ดิน เพื่อลดผลกระทบต่อการจราจร ซึ่ง กทม.ได้ทำอยู่บ้างแล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ นอกจากนี้กทม.ต้องสร้างแก้มลิมใต้ดินเพิ่มเติม ในพื้นท่ที่เหมาะสม

ดร.สามารถสรุปอีกว่า การแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ นั้น กทม.ได้ทำมาหลายเรื่องแล้ว แต่อ่อนประชาสัมพันธ์ ทำให้คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ไม่รับรู้ อย่างไรก็ตามยังมีอีกบางเรื่องที่ กทม. จะต้องทำ ซึ่งบางเรื่องผมเคยพูดมาแล้ว แต่จะพูดอีกในโอกาสที่เหมาะสม อย่างไรก็ดีทั้งหมดนี้ ขอเป็นกำลังใจให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของ กทม. ที่เกี่ยวข้องทุกท่านให้สามารถขับเคลื่อนกรุงเทพฯ เมืองหลวงที่รักของเราผ่านวิกฤตช่วงฝนตกหนักไปให้ได้

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“บิ๊กอ้วน”ซัดปาก! พวกกระหายสงคราม “บิ๊กปู” คอนเฟิร์ม “ว้าแดง” เรียบร้อยดี
เวียงแหงโมเดล! เยาวชนคนรุ่นใหม่ One Young World เครือซีพี ปักธง FIGHT หมอกควันชายแดนไทย-พม่า เรียนรู้-ชวนชุมชมร่วมลด PM 2.5
ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล
กรมวิทย์ฯ บริการ มอบของขวัญปีใหม่ประชาชน 2568 ..ฟรี !! ฝึกอบรมเสริมทักษะด้าน วทน. ฟรีค่าธรรมเนียมยื่นขอการรับรองทุกขอบข่าย เสริมความสามารถของห้องปฏิบัติการไทยสู่สากล
"ณเดชน์-เบลล่า" ขึ้นแท่นดาราแห่งปี "หมูเด้ง" ข่าวเด่นแห่งปีของจริงกลบทุกกระแส
เซเว่นฯ เดินหน้านโยบาย “2 ลด ลดพลาสติก ลดพลังงาน" เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชม. เชิญชวนคนไทย ลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
“ภูมิธรรม”คาด 4 ลูกเรือไทยได้รับการปล่อยตัว 4 ม.ค. นี้ ยืนยันกลาโหม-กองทัพไม่ได้อ่อนแอ
ฮาร์บินเปิด ‘สวนสนุกน้ำแข็ง-หิมะ’ จีนใหญ่สุดในโลก
ทรัมป์เสนอยูเครนสละดินแดนเพื่อยุติสงคราม
โฆษกกห. ยัน ไม่ได้ปิดด่านชายแดนจังหวัดตาก แค่สกัดโรค อุดช่องทางธรรมชาติ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น