ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.)พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผบช.สอท. ได้ร่วมประชุมการกำหนดมาตรการการป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยีให้กับประชาชน ร่วมกับ สมาคมธนาคารไทย, ผู้แทนธนาคารพาณิชย์ ,ผู้แทนศูนย์ประสานงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางสารสนเทศ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือแนวทางการสืบสวนสอบสวน กรณีนำข้อมูลบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลทางการเงินไปใช้ในทางทุจริต ที่มีผู้เสียหายจำนวนมาก และ แนวทางป้องกันปราบปรามการรักษาความปลอดภัยข้อมูลทางการเงินของผู้ใช้บริการ
โดย พล.ต.ท.กรไชย เปิดเผยว่า ทาง สอท. ผนึกกำลังร่วมกับทางธนาคารเเห่งประเทศไทย(ธปท.)ในการหาตัวมิจฉาชีพเเละเส้นทางการเงินของมิจฉาชีพเหล่านี้ว่ามีต้นทางหรือปลายทางอยู่ที่ใด พร้อมร่วมกำหนดมาตราการณ์รักษาความปลอดภัยทางการเงิน เบื้องต้นตอนนี้กำลังเร่งสืบสวนตามหาตัวคนที่อยู่เบื้องหลังเอาเงิน 130 ล้านบาทออกไปจากระบบ ไม่ว่าจะใช้วิธีการใดหรืออาจได้ข้อมูลจากตลาดมืดไปหรือไม่ โดยผู้เสียหายมักจะถูกหลอกจากเว็บหรือลิงค์หรือการกรอกข้อมูลต่างๆ ซึ่งพวกมิจฉาชีพเหล่านี้จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้
พล.ต.ท.กรไชย กล่าวว่า ต้องเช็คในทุกมิติ ซึ่งในส่วนนี้ต้องพึ่งพาธปท.ในการหาเส้นทางการเงิน ซึ่งสามารถเช็คได้ว่าปลายทางเเละต้นทางของเงินไปที่ไหน ซึ่งก็จะสามารถอำนวยความสะดวกเเละสามารถหาตัวมิจฉาชีพได้ในที่สุด ซึ่งมิจฉาชีพเหล่านี้อาจเป็นทั้งคนจริงเเละไซเบอร์บอตก็เป็นไปได้ ซึ่งทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้ระบบในไซเบอร์ โดยเชื่อว่ามิจฉาชีพเหล่านี้มีทั้งในเเละนอกประเทศ ฐานกระทำความผิดโดยส่วนใหญ่จะอยู่รอบๆประเทศไทยเพื่อให้ยากต่อการติดตาม เเต่เชื่อว่าคนทำยังอยู่ในไทยเพราะรู้ความคิดของคนไทยเป็นอย่างดี จึงสามารถโกงเงินจากคนไทยได้มากขนาดนี้ คาดว่ามิจฉาชีพชาวไทยนั้นเป็นตัวหลักในการโกงครั้งนี้
พล.ต.ท.กรไชย กล่าวว่า ทุกอย่างมีต้นทางเเละปลายทางจะต้องกระชากหน้ากากคนเหล่านี้มาให้ได้ ตอนนี้ทางธปท.ก็ได้เริ่มมีการตรวจสอบเเละเร่งคืนเงิน ซึ่งตัวเลขยังไม่สามารถเปิดเผยได้เเต่ประมาณการ 132 ล้านซึ่งก็จะคืนให้กับประชาชนผู้เสียหาย
ด้านนายกอบศักดิ์ ดวงดี เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ตอนนี้ทางธปท.ได้มีการยกระดับการดูเเลบัญชีให้เข้มข้นมากขึ้นโดยจะมีการตรวจสอบบัญชีที่ต้องสงสัยต่างๆ ทั้งบัญชีต้นทางเเละปลายทางเพื่อเป็นการป้องกัน เชื่อว่าการกระทำความผิดครั้งนี้ไม่ใช่การเเฮกเกอร์ เเต่มิจฉาชีพได้ใช้ช่องว่างของการกระทำของบุคคลเช่นอาจไปผูกบัตรหรืออะไรก็ตามไว้กับเเอพ ซึ่งมิจฉาชีพก็อาจได้ข้อมูลจากส่วนนี้ไป ทั้งนี้ทางภาคธนาคารจะให้ความรู้กับประชาชนเพิ่มเติมในการรับมือกับภัยคุกคามออนไลน์ในรูปเเบบนี้ นายกอบศักดิ์กล่าวว่า ประชาชนจะได้เงินคืนอย่างเเน่นอน โดยขณะนี้ตัวเลขของคนที่ทำเรื่องขอเงินคืนมีกว่า 17,500 คนเเล้ว ซึ่งตัวเลขอาจจะมาขึ้นเรื่อยๆ
นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า ตอนนี้ที่ทราบคือปลายทางจะตรวจสอบได้ โดยจะดูว่าบัตรรูดจากไหน เเล้วจะดูหลักฐานประกอบ ซึ่งจะมีการตรวจสอบการทำธุรกรรมทั้งในและต่างประเทศ โดยในไทยพื้นที่ สน.หนองแขม มีการโดนโกงมากที่สุดกว่า 700 ครั้ง