พลิกแฟ้ม 8 คดี’ทักษิณ’อยากกลับบ้านได้ ต้องกลับมาติดคุก

พลิกแฟ้ม 8 คดี'ทักษิณ'อยากกลับบ้านได้ ต้องกลับมาติดคุก

เปิดแฟ้มคดี “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เลือกเส้นทางหนีคดีออกนอกประเทศตั้งแต่ 13 ปีก่อน แต่ในช่วงใกล้ฤดูเลือกตั้ง ก็จะเห็นชายชื่อ ทักษิณ วีดีโอคอล มาพูดคุยหลายครั้งที่มีโอกาส ซึ่งล่าสุดในรายการ CARE Talk ภาคพิเศษ “ปั้นข้าวเหนียว เคี่ยวความคิด” พรุ่งนี้เพื่อชีวิตคนอีสาน โดยคุยฟุ้งว่า หากผลการเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยได้เสียงจำนวนมากจนแลนด์สไลด์ ชนะท่วมท้น ตนเองก็จะได้กลับประเทศ กลับมาพัฒนาแก้ปัญหาความยากจน คนให้ทุกคนมีเงิน และยังโชว์สอนรัฐบาลบิ๊กตู่แก้ปัญหาเศรษฐกิจอีกชุดใหญ่

กับคำถามที่ว่า ทักษิณ จะกลับประเทศแบบเท่ห์ นั้นจะสามารถกลับมาได้หรือไม่ กลับมาอย่างไรในเมื่อยังมีคดีติดตัวอยู่อีกยาวเป็นหางว่าว รวมแล้วถึง 8 คดี ประกอบด้วย
1.คดีทุจริตการจัดซื้อที่ดินย่านรัชดาภิเษก ที่มีการกล่าวหาคุณหญิงพจมาน ชินวัตร (ภริยานายทักษิณ และนามสกุลขณะนั้น) และนายทักษิณ ในการซื้อที่ดินจำนวน 33 ไร่ 78 ตรว. ราคา 772 ล้านบาท จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2551

โดยก่อนศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะพิพากษาคดีดังกล่าว นายทักษิณ ได้เดินทางออกนอกประเทศ โดยอ้างว่าไปดูการแข่งขันโอลิมปิกที่ประเทศจีน และหลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษาแต่อย่างใด ทำให้ศาลฎีกาฯอ่านคำพิพากษาลับหลัง จำคุกนายทักษิณ 2 ปี และยกฟ้องคุณหญิงพจมาน
ปัจจุบันคดีดังกล่าวหมดอายุความแล้ว

2.คดีทุจริตโครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัว ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า คดีหวยบนดิน โดยศาลฎีกาฯพิพากษาจำคุกนายทักษิณ 2 ปี ไม่รอลงอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า การสั่งการของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดังนั้นเงินที่จ่ายเกินไปกว่ารายได้ของการจำหน่ายสลากจึงถือว่าก่อให้เกิดผลขาดทุนแก่รัฐ

3.คดีสั่งการให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Exim Bank) อนุมัติเงินกู้สินเชื่อ 4,000 ล้านบาทแก่รัฐบาลสหภาพพม่า ศาลฎีกาฯพิพากษาจำคุก 3 ปี ไม่รอลงอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 (เดิม)
ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีนายทักษิณสั่งการให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Exim Bank) อนุมัติเงินกู้สินเชื่อจำนวน 4,000 ล้านบาท แก่รัฐบาลสหภาพพม่า โดยมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าต้นทุน เพื่อนำเงินกู้ดังกล่าวไปใช้ในการซื้อสินค้าและบริการของบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) เป็นการเอื้อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น

4.คดีให้บุคคลอื่น (นอมินี) ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แทน โดยบริษัท ชินคอร์ปฯ เป็นคู่สัญญาต่อหน่วยงานของรัฐ และเข้าไปมีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นในกิจการโทรคมนาคม โดยศาลฎีกาฯพิพากษาจำคุก 5 ปี ไม่รอลงอาญา แบ่งเป็น ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ จำคุก 2 ปี ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการเข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้น จำคุก 3 ปี
ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า นายทักษิณดำเนินการดังกล่าวเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ซึ่งได้รับสัมปทานดำเนินกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่จากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท. ชื่อขณะนั้น) และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือบริษัท ดีพีซี ได้รับสัมปทานดำเนินกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท. ชื่อขณะนั้น) โดยทั้ง 2 บริษัทเป็นบริษัทในเครือของบริษัท ชินคอร์ปฯ ซึ่งจำเลยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ให้ทั้ง 2 บริษัทได้รับคืนเงินภาษีสรรสามิตที่ชำระแล้ว โดยมีสิทธินำไปหักออกจากค่าสัมปทานที่ต้องนำส่งให้ ทศท. และ กสท. เป็นผลให้ ทศท. และ กสท. ได้รับความเสียหาย
ยกฟ้อง 2 คดี คือ
5.คดีกล่าวหาว่าอนุมัติให้กระทรวงการคลังเข้าไปบริหารจัดการแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TPI

คดีดังกล่าวศาลฎีกาฯได้ยกฟ้อง ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่เป็นโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา โดยองค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา พิพากษายืนยกฟ้องตามเดิม

6.คดีธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้สินเชื่อเครือกฤษดามหานคร กว่าหมื่นล้านบาทโดยทุจริต โดยศาลฎีกาฯ พิพากษายกฟ้องนายทักษิณ จำเลยที่ 1 โดยเห็นว่า คำว่า ‘ซุปเปอร์บอส’ หรือ ‘บิ๊กบอส’ ที่ถูกอ้างว่าเป็นผู้สั่งการ ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคือนายทักษิณ

อีก 2 คดีอยู่ระหว่างการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แก่
7.คดีทุจริตการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ลอตสอง จำนวน 8 สัญญา ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีการแจ้งผู้ถูกกล่าวหาเพิ่มเติม รวมถึงชื่อของนายทักษิณ ชินวัตร น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อดีต ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย แกนนำกลุ่ม ‘วังน้ำยม’ และน้องสาวของนายทักษิณด้วย

8.คดีกล่าวหาการอนุมัติสั่งซื้อเครื่องบินแบบ A340-500 และ A340-600 ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ระหว่างปี 2545-2547 ทำให้การบินไทยมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น

โดยปรากฏชื่อของนายทักษิณ อดีตนายกฯ นายสุริยะ อดีต รมว.คมนาคม และนายพิเชษฐ สถิรชวาล อดีต รมช.คมนาคม 3 นักการเมืองชื่อดังเป็นผู้ถูกกล่าวหาร่วมกับ นายทนง พิทยะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และนายกนก อภิรดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

อย่างไรก็ดี 2 คดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการไต่สวนในชั้น ป.ป.ช. ดังนั้นผู้ถูกกล่าวหาทุกรายยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ ส่วนบทสรุปจะจบลงอย่างไร ต้องรอติดตามกันอย่างใกล้ชิด!

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"สุดารัตน์" ลุยสวนจตุจักร รับฟังปัญหาผู้ค้า พร้อมคุยผู้ว่ากทม.นำแก้ไขโดนยกเลิกสิทธิ์ จ่ายช้าเก็บค่าปรับสูง 1,800 % ต่อปี
“ณัฐวุฒิ” ชี้มนต์ขลัง “ทักษิณ” ช่วยเพื่อไทยชนะเลือกตั้งนายกอบจ. ยัน “บ้านใหญ่” ไม่ใช่ปัญหาขวางความเจริญ
เปิดใจ! ผกก.สืบนครบาล1 หลังสูญเสียนักสืบมือฉมัง 2 นาย ขณะล่าแก๊งยาเสพติด
"ชาวเสื้อแดงอีสาน" พอใจ "ทักษิณ" พาเพื่อไทยคว้าเก้าอี้ "นายก อบจ." มากถึง 18 จังหวัด
ไหนแตงโม! “เต้” งัดกล้องซังฮี้ 5 ตัวรวด ไม่มีคนนั่งท้ายเรือ-นับยังไงก็ไม่ถึง 6
เปิดใจ 'สุพิศ พิทักษ์ธรรม' คว้าชัยนายก อบจ.สงขลา ด้วยคะแนนท่วมท้น พร้อมพลิกฟื้นบ้านเกิดด้วย 5 นโยบาย ให้ยั่งยืน
เพจดังแฉหลักฐาน IO ส้มเวียดนามบุกเมนต์ไทยฉ่ำ ฉุนแพ้นายกอบจ.ภูเก็ต
ตำรวจปานามาปะทะเดือดกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรูบิโอ้
"นายกฯ" คุยรายการครั้งแรก "โอกาสไทย" ยันแจกหมื่นเฟส 3 ย้ำผลงานบัตรทองทำครบ 77 จว. เร่งบ้านเพื่อคนไทย
ชายแดนตึงเครียด! จนท.ตรึงเข้ม 371 Km คอลเซ็นเตอร์ย้ายฐานบุกพญาตองซู

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น