‘ศิลปินแห่งชาติ’ร่ายยาว หลังอึดอัด ปมยกเลิกกิจกรรมอัญเชิญพระเกี้ยว

'ศิลปินแห่งชาติ'ร่ายยาว หลังอึดอัด ปมยกเลิกกิจกรรมอัญเชิญพระเกี้ยว

ในเฟซบุ๊ก วินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ และนักเขียนเจ้าของรางวัลซีไรต์ โพสต์ข้อความระบุว่า จอร์จ ออร์เวลล์ (ผู้เขียน 1984, Animal Farm) เขียนว่า “The most effective way to destroy people is to deny and obliterate their own understanding of their history.”
แปลว่า ทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการทำลายประชาชน คือปฏิเสธและกวาดทิ้งความเข้าใจของพวกเขาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพวกเขาเอง
ช่วงหลังนี้ผมได้ยินข่าวเกี่ยวกับจุฬาฯหลายเรื่องซึ่งชวนอึดอัด ทั้งหมดฟังดูดี มีหลักการ ใช้คำพูดสวยหรู แต่อ่านระหว่างบรรทัดแล้ว ก็อดไม่ได้ต้องคิดว่ามันเป็นการ ‘ตีวัวกระทบคราด’ และ ‘โยนหินถามทาง’ และ ‘กวาดทิ้งความเข้าใจ’ ตามคำของ จอร์จ ออร์เวลล์ ข้างต้นหรือไม่
ผมเป็นเด็กต่างจังหวัด เข้ามาเรียนต่อที่กรุงเทพฯในชั้น ม.ศ. 4 ที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เช่นเดียวกับโรงเรียนทั่วไป เครื่องแบบนักเรียนปักอักษรย่อ บ.ด. บนหน้าอก แต่ต่างจากโรงเรียนส่วนใหญ่ เรากลัดตราสีทองชิ้นหนึ่งเหนืออักษรย่อ
เข็มกลัดนั้นเรียกว่า พระเกี้ยว
หลังจากเรียนจบ ม.ศ. 5 ผมมีโอกาสเข้าเรียนในสถาบันที่ใช้ตราพระเกี้ยวอีกครั้ง คือจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (ในสมัยผมเข้าเรียน ไม่มีการันต์เหนือ ณ) คราวนี้พบว่าเน็กไทที่เด็กปี 1 ใส่ปักตราพระเกี้ยว ชุดนิสิตหญิงก็มีตรานี้เช่นกัน ทั้งที่กลัดบนเสื้อและหัวเข็มขัด
พระเกี้ยวคืออะไรกันแน่?
พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎเป็นสัญลักษณ์และพิจิตรเลขาประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มันมีความเชื่อมต่อกับรัชกาลที่ 4 ด้วย
เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยทั่วโลกซึ่งล้วนใช้ตราที่มีความหมาย จุฬาฯก็เช่นกัน ในเมื่อรัชกาลที่ 5 ทรงริเริ่มโครงการสร้างมหาวิทยาลัยแห่งนี้ พระนามของพระองค์ก็เป็นที่มาของนามมหาวิทยาลัย และใช้สัญลักษณ์พระเกี้ยวประจำมหาวิทยาลัย
ย้ำ – สัญลักษณ์พระเกี้ยว ไม่ใช่ว่าวจุฬาฯ
สถาบันการศึกษาต่างๆ ที่มีรากฐานเดียวกันนี้ ล้วนใช้ตราพระเกี้ยว ไม่ว่าจะเป็นจุฬาฯ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา บดินทรเดชาฯ หอวัง และอีกหลายๆ โรงเรียน
พระเกี้ยวก็คือที่ระลึกชิ้นเล็กๆ ที่เชื่อมนักเรียนและนิสิตกับพระองค์
มันเป็นรากของเรา
เมื่อเข้าใจประวัติศาสตร์ที่มา ก็จะรู้ว่าพระเกี้ยวไม่ใช่และไม่เคยเป็นสัญลักษณ์ของความไม่เสมอภาค ตรงกันข้าม มันเป็นสัญลักษณ์ของความเสมอภาคทางการศึกษา ไม่ว่าคนฐานะใดก็ได้เล่าเรียนเท่ากัน มันยังเป็นสัญลักษณ์ของผู้ริเริ่มสร้างมหาวิทยาลัย มันเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ และมันเป็นสัญลักษณ์ของความกตัญญู
ชาวจุฬาฯไม่ว่ารุ่นไหน อย่าลืมเป็นอันขาดว่าปราศจากเจ้าของตราพระเกี้ยวนี้ ก็ไม่มีเรา ไม่มีเราก็ไม่มีอนาคตของเรา
ใครก็ตามที่ชอบอ้างถึงอนาคตที่ดีกว่าโดยละทิ้งอดีต พึงสำนึกเสมอว่าอนาคตที่ไร้รากแห่งอดีตก็เหมือนคนที่ไร้เงา “ปฏิเสธและกวาดทิ้งความเข้าใจของพวกเขาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพวกเขาเอง”
คุณค่าของมนุษย์เราอยู่ที่ความกตัญญูกตเวทิตา มีคุณให้ทดแทน และหากไม่ทดแทน อย่างน้อยก็ไม่เนรคุณ
วินทร์ เลียววาริณ
รากปี 2516
24 ตุลาคม 2564

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น