ซูเปอร์โพล เผย ปชช.เรียกร้องให้’ขบวนการทำลายศรัทธา’เคารพศรัทธาของผู้อื่นที่มีต่อจารีตประเพณี

ซูเปอร์โพล เผย ปชช.เรียกร้องให้'ขบวนการทำลายศรัทธา'เคารพศรัทธาของผู้อื่นที่มีต่อจารีตประเพณี

30 ต.ค.2564 – นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) มูลนิธิ สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ ร่วมกับ นางจุฬารัตน์ นิรัติศยกุล นักวิชาการอิสระด้านการพัฒนายั่งยืน เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ขบวนการทำลายศรัทธาผู้อื่น กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,032 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 27 – 30 ตุลาคม 2564 พบว่า

ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.0 ระบุขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องการเปลี่ยนแปลง ควรให้เกียรติ เคารพความรัก ความศรัทธาของผู้อื่นที่มีต่อ จารีตประเพณี สถาบันต่าง ๆ ของผู้อื่น เช่น ความรักศรัทธา เทิดทูนสถาบันหลักของชาติ และกรณี ขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวของจุฬาลงกรณ์ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 97.8 ระบุ ขบวนการที่ต้องการเปลี่ยนแปลงแบบทำลายความรักความศรัทธาและคุกคามข่มขืนจิตใจผู้อื่น เป็นขบวนการมุ่งทำลายมากกว่า สร้างสรรค์ความสงบสุขเรียบร้อยในสังคม และร้อยละ 95.1 ระบุ ขบวนการเคลื่อนไหวให้คนเท่ากัน แต่ทำลายประเพณี ทำลายคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นแค่การหลอกลวงเพื่อทำให้ตนเองและพรรคพวกขึ้นมีอำนาจอยู่เหนือผู้อื่นเสียเอง

ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.9 เห็นด้วยว่า คนเราจะเท่ากัน ต้องเคารพในความเห็นที่ต่างกัน ไม่เป็นเหตุ เปลี่ยนแปลงไปสู่ความแตกแยก ขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ในขณะที่เพียงร้อยละ 4.1 เห็นด้วยน้อยถึงไม่เห็นด้วยเลย นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.3 เห็นด้วยว่า คุณค่าความเป็นไทย ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีเป็นสิ่งที่มีคุณค่ารักษาให้อยู่ร่วมสมัยได้ในทุกยุค เป็นคุณค่าทางจิตใจและเสริมสร้างการมีส่วนร่วม หนุนใจ หนุนพลังต่อกันของคนในสังคม ในขณะที่ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.5 เห็นด้วยว่า ขบวนการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ควรนำวัฒนธรรมและประเพณีไทย ผสมผสานและเข้ากับการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสู่ความสงบสุขเรียบร้อยของบ้านเมืองและประชาชน

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า จากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า ขบวนการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่จะทำให้คนจะเท่ากันต้องเริ่มจากการเคารพและยอมรับความเห็นที่แตกต่างของกันและกัน ถ้าจริงใจต้องทำสิ่งที่ทำให้เกิดการชวนกันทำสร้างสรรค์ไม่ใช่ชวนทะเลาะและนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย เพราะ ความหมายหรือสิ่งที่นึกถึงคำว่า “คนเท่ากัน” ของแต่ละคนไม่เหมือนกันและไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทั้งหมด การเคลื่อนไหวของขบวนการเปลี่ยนแปลงต้องไม่นำไปสู่ความแตกแยกของคนในชาติเป็นขบวนการทำลายศรัทธาผู้อื่น

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทักษิณ" ลั่นอย่าฟังเสียงนกเสียงกา "รัฐบาล" ใกล้พัง หยันฝันลมแล้งยุบสภา จวกขาประจำด่านายกฯระวังให้ดี
"พิพัฒน์" รับยังไม่พอใจ ผลผลักดันขึ้นค่าแรง 400 บาท คาดหวังจะได้หลายจังหวัดกว่านี้
ตร.ไซเบอร์ บุกทลาย "เว็บพนันรายใหญ่" เมืองเชียงราย พบเงินหมุนเวียน 200 ล้านต่อเดือน
เพจดังโคตรแสบ! ตั้งฉายา สส.พรรคส้ม แห่กระทืบไลก์ “มะขิ่น ขอสไลด์”
จีนเตือน ‘ฟิลิปปินส์’ ถอนระบบขีปนาวุธสหรัฐฯ ตามคำมั่น
ซานต้าเริ่มตระเวนแจกของขวัญในวันคริสต์มาสอีฟ
บริกส์รับไทยเป็นหุ้นส่วนอย่างเป็นทางการมกราคมปีหน้า
ตำรวจเปรูปลอมตัวเป็น “เดอะ กริ๊นช์” ทลายแก๊งยาเสพติด
ปูตินเผยคืบหน้าแผนพัฒนาดินแดนยึดครองรัสเซีย
อธิบดีกรมการจัดหางาน รับมีการซื้อใบรับรองแพทย์ 'ตรวจโรคต่างด้าว' ขอความร่วมมือนายจ้างเข้มงวด หวั่นเกิดโรคระบาด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น