เปิดไทม์ไลน์ 8 ปี กว่าจะฟ้อง “วิรัช-ภรรยา-น้องภรรยา”

นับเป็นคดีประวัติศาสตร์ของวงการ การศึกษาของไทย เมื่อผู้อำนวยการโรงเรียน เสี่ยงต้องโทษวินัยร้ายแรง ถูกไล่ออกจากราชการ และข้อหาหนักร่วมกันฮั้วประมูลทุจริต จากคดี ทุจริตสนามฟุตซอล เมื่อปี 2557

ที่มาของคดีนี้ เริ่มต้นจากการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2555 (งบแปรญัตติ) ของ ส.ส. ที่ระบุเป็นค่าก่อสร้าง-ปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้างที่ชำรุดทรุดโทรมที่ประสบอุบัติภัย แต่กลับนำไปก่อสร้างสนามฟุตซอลให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดภาคเหนือ และภาคอีสาน รวม 18 จังหวัด วงเงินงบประมาณ 4,459,420,000 บาท(สี่พันสี่ร้อยห้าสิบเก้าล้านสี่แสนสองหมื่นบาท)

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2555 ราชกิจจานุเบกษา ออกประกาศพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2555 จึงเกิดขบวนการทุจริตเชิงนโยบายขึ้นอย่างเป็นระบบ โดย เมื่อได้งบประมาณที่แปรญัติมาแล้ว กลุ่มนักการเมือง ก็จะส่งงบประมาณก้อนนั้น เจาะจงไปในจังหวัดที่ต้องการ ซึ่งก่อนหน้าที่งบประมาณจะออก ได้ส่ง “ตัวแทน” ไปติดต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ให้นำงบประมาณไปก่อสร้างตามโรงเรียนที่กำหนด โดยกำหนดให้ทำตามแนวทางการจัดซื้อจัดจ้าง การประกวดราคา การกำหนดราคากลาง รวมทั้งร่างบันทึกการกำหนดขอบเขตงาน (TOR) เป็นต้น เพื่อต้องการให้บริษัทห้างร้านของกลุ่มการเมืองดังกล่าวเป็นผู้ได้รับงาน

โดยการก่อสร้างสนามฟุตซอลในแต่ละโรงเรียนเริ่มดำเนินการในช่วงเดือนมีนาคม 2555 เป็นต้นมา ซึ่งที่จังหวัดนครราชสีมามีการก่อสร้างสนามฟุตซอลทั่วทั้งจังหวัดประมาณ 100 สนาม งบประมาณเป็นจำนวน 295 ล้านบาท จากนั้นเป็นต้นมาก็มี ชาวบ้าน และผู้นำชุมชน เริ่มออกมาร้องเรียนถึงความไม่ได้มาตรฐานของสนามฟุตซอล

ต้นเดือนตุลาคม 2557 กองทัพภาคที่ 2 และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เข้าไปตรวจสอบ “โครงการก่อสร้างสนามฟุตซอลในโรงเรียน” ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยการ “สุ่มตรวจ” โดย นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการ ป.ป.ท.(ในขณะนั้น) และ พ.อ.สมหมาย บุษบา ที่ปรึกษากฎหมายกองทัพภาคที่ 2 ร่วมกันลงตรวจ 39 โรงเรียน ใน 6 อำเภอ ทั้งที่ อ.ชุมพวง อ.พิมาย อ.ประทาย อ.โนนสูง อ.โนนแดง และ อ.ลำทะเมนชัย พบว่าทุกแห่งก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน

และยังพบพิรุธเรื่องของบริษัทที่ชนะการประกวดราคาก่อสร้างเป็นผู้ประกอบกิจการ 2 รายที่มีบริษัทเดียวกัน ใช้การไม่ได้ ทั้งสนามขนาด พื้นที่ 726 ตารางเมตร วงเงิน 2,500,000บาท และสนามขนาด 1,512 ตารางเมตร วงเงิน 5 ล้านบาท โดยเฉพาะงานปูพื้นยางสังเคราะห์ที่มีราคาสูงถึงตารางเมตรละ 2,600 บาท มีการสอบถามในตลาดพื้นยางที่ดีที่สุด พบว่ามีราคาเพียง ตารางเมตรละ 1,500-1,600 บาทเท่านั้น พื้นปูที่คณะตรวจสอบไปพบก็เหมือนแค่เอารถไถมากวาดๆ ดินแล้วราดปูนซิเมนต์ ทั้งเอียง ทั้งแตกร้าว นอกจากนี้ในงบประมาณ ยังจัดซื้อหนังสือคัมภีร์กีฬาเล่มละ 1,200 บาท หนังสือต่อสู้โรคชุดละ2,000 บาท ลูกตะกร้อ ลูกละ 220 บาท ลูกฟุตบอล ลูกละ 940 บาท ขณะที่งบฯส่วนใหญ่ก็ใช้ไปกับค่าปูพื้นยางสังเคราะห์ประมาณ 80%

คณะสอบสวนตั้งข้อสังเกต ที่น่าสงสัยใน 5 ประเด็น

1.กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างแม้ใช้ระบบอีอ๊อคชั่น(E-Auction) มีลักษณะที่แต่ละโรงเรียนต่างดำเนินการแยกจากกันแต่มีบริษัทเดียวที่ได้เข้าทำสัญญากับทุกโรงเรียนที่อาจเข้าข่ายฮั้วประมูล

2.ราคากลางและคุณลักษณะเฉพาะทีโออาร์(TOR)ของทุกโรงเรียนมีการกำหนดจำนวนเงินและลักษณะคล้ายกัน เป็นการล็อคสเป๊คหรือไม่

3.การก่อสร้างขั้นพื้นฐานสนามคอนกรีตไม่เป็นไปตามรูปแบบ พื้นคอนกรีตเอียง ไม่ได้ระดับ ผิวคอนกรีตหลุดร่อน สภาพปัจจุบันมีการรื้อพื้นยางเก็บ เนื่องจากปูแล้วไม่สามารถทำการใช้สนามฟุตซอลได้ตามปกติเพราะมีการงอตัวของพื้นยาง

4.ข้อเท็จจริงที่ได้ตรวจสอบข้อมูลเรื่องราคากับบริษัทที่ทำการขายพื้นยางสังเคราะห์(EVA)ปรากฏว่ามีราคาตลาดอยู่ที่ประมาณ 310,000 บาท แต่โรงเรียนจัดซื้อในราคา 1.9 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นประมาณ 5 เท่าของเงินที่ทางราชการต้องเสียงบประมาณในการจัดซื้อ

5.เจ้าของบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสร้างสนามฟุตซอลกับทุกโรงเรียน มีภูมิลำเนาเดียวกันกับที่ตั้งของบริษัทฯผู้ผลิตยาง EVA และบริษัทที่ผลิตหนังสือ

ภายหลังจากนั้นได้มีการรวบรวพยานหลักฐานจนแน่นหนา ก่อนจะส่งเรื่องไปยัง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.กระทั่ง วันที่ 6 ส.ค. 62 ป.ป.ช. มีมติเป็นเอกฉันท์ 9:0 เสียง ชี้มูลความผิด วิรัช รัตนเศรษฐ กับพวก และต่อมา 18 ธ.ค. 62 ป.ป.ช.ได้ ชี้มูลความผิดเพิ่มแล้วส่ง อสส. อีก 6 สำนวน

วันที่ 16 ม.ค. 63 อัยการสูงสุด (อสส.) เห็นว่า สำนวนแรกยังมีความไม่สมบูรณ์ จึงตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างฝ่ายอัยการ และฝ่าย ป.ป.ช. เพื่อพิจารณา ก่อนที่ อัยการส่งฟ้อง วิรัช รัตนเศรษฐ -ภรรยา -น้องภรรยา กับพวกรวม 88 คน เมื่อวันที่ 14 กันยายน 64

ล่าสุด วันที่ 2 พฤศจิกายน ศาลฎีกาฯ รับฟ้อง จำเลยที่มีตำแหน่งหน้าที่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งศาล โดยศาลนัดพิจารณาคดีนัดแรกวันที่ 20 ธ.ค. 2564 (สอบคำให้การ) เวลา 9.00 นาฬิกา

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

แม่ทัพภาคที่ 2 ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัวกำลังพล ห่วงใยไปถึงบ้าน เพราะเราคือครอบครัวกองทัพบก
สวนนงนุชพัทยาเปิดเวที CHONBURI PROUD EXPO 2024 หนุน SMEs ชลบุรีสู่ตลาดโลก
“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น