สิงห์สยามโพล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ผลสำรวจความคิดเห็น “สถานการณ์ โควิด-19 ระลอกที่ 2 กับการเมือง 2564”
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “สิงห์สยามโพล” คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.จิดาภา ถิรศิริกุล คณบดีคณะรัฐศาสตร์ แถลงผลสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและเขตภาคกลาง เรื่อง สถานการณ์ โควิด-19 ระลอกที่ 2 กับการเมือง 2564 พบว่า
1) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายว่ามีความสุขต่อการศึกษาในรูปแบบ online ช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่ 2 อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 42.5) รองลงมามีความสุขน้อย(ร้อยละ 33.4) ไม่พอใจ(ร้อยละ 14.5) และสุดท้ายมีความสุขระดับมาก (ร้อยละ 9.6)
2) ด้านความมั่นใจในการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่ 2ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 53.9) รองลงมาคือระดับน้อย (ร้อยละ 27.1) ระดับมาก (ร้อยละ 14.8) และสุดท้าย
ไม่ศึกษาต่อ (ร้อยละ 4.2)
3) ด้านความต้องการประกอบอาชีพในอนาคต หากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยยังไม่คลี่คลาย คือ ธุรกิจส่วนตัว (ร้อยละ 37.5) รองลงมาคือข้าราชการ (ร้อยละ 28.7) อาชีพอิสระ(ร้อยละ 19.0) รัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 4.2) บริษัทเอกชน(ร้อยละ 9.7) และเกษตรกร(ร้อยละ .9)
4) ด้านความพึงพอใจในการจัดการและมาตราต่าง ๆ ของรัฐช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19ระลอกที่ 2 อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 47.3) รองลงมาคือระดับน้อย (ร้อยละ 31.0) ระดับไม่พอใจ(ร้อยละ 17.2) และระดับพอใจมาก(ร้อยละ 4.5)
5) ด้านความสนใจติดตามข้อมูลข่าวสารด้านโรคระบาดมากที่สุดช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด19 ระลอกที่ 2 (ร้อยละ 35.3) รองลงมาคือข่าวบันเทิง(ร้อยละ 32.0) ข่าวการเมือง(ร้อยละ 19.6) และข่าวอื่นๆ(ร้อยละ 13.0)6) ด้านความเชื่อมั่นในการเข้าการร่วมชุมนุมทางการเมืองช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19ระลอกที่ 2 อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 52.4) รองลงมาคือระดับน้อย (ร้อยละ 21.1) ระดับมาก(ร้อยละ 17.2)
และไม่เข้าร่วม(ร้อยละ 9.3)
7) เห็นด้วยกับการชุมนุมทางการเมืองช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่ 2ในระบบออนไลน์(Facebook, twitter, Line, IG) ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 48.5) รองลงมาคือระดับมาก(ร้อยละ 33.1) ระดับน้อย(ร้อยละ 14.2) และไม่เข้าร่วม(ร้อยละ 4.2)
8) หากรัฐบาลมีการนำเข้าวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มีความประสงค์ที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19จากรัฐบาลในระดับปานกลาง(ร้อยละ 45.5) รองลงมาคือระดับมาก(ร้อยละ 34.9) ระดับน้อย
(ร้อยละ 14.2) และไม่เข้าร่วม(ร้อยละ 5.4)เมื่อพิจารณาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง(ร้อยละ 59.7) รองลงมาคือ เพศชาย (ร้อยละ 31.8) และเป็นกลุ่มเพศ LGBTQ (ร้อยละ 8.5) ส่วนใหญ่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ร้อยละ 53.0) รองลงมาคือมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ร้อยละ 24.9) และมัธยมศึกษาปีที่ 5(ร้อยละ 22.1) โดยส่วนใหญ่ได้รับค่าขนมไปโรงเรียนมากกว่า101 บาท (ร้อยละ 57.0) และได้รับค่าขนมไม่เกิน100 บาท (ร้อยละ 43.0)
ข้อค้นพบจากการสำรวจ คือ ประการแรก ร้อยละ 42.5 เยาวชนมีการปรับตัวการเรียนออนไลน์ตามสถานการณ์ได้ดี แต่ไม่มีความสุขในระบบเพราะ (1) เรียนไม่รู้เรื่องและ (2) มีภาระในการเรียนมากกว่าปกติ เช่นการทำแบบฝึกหัดเรียนด้วยตนเองคิดเป็นร้อยละ 33.4 ประการที่สอง การศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีเป็นประเด็นที่เป็นภาระมากกว่าการออกมาทำงานหลังจบมัธยมศึกษาตอนปลายในช่วงสถานการณ์ Covic-19 โดยส่วนใหญ่ จึงลังเลในการเลือกศึกษาต่อคิดเป็นร้อยละ 27.1 ประการที่สาม มองเห็นว่าในช่วงสถานการณ์ Covic19 การประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวกลายเป็นอาชีพที่มีความสนใจใกล้ตัวกับเยาวชน(ร้อยละ 37.5) เพราะไม่จำเป็นต้องเรียนต่อในระดับปริญญาตรี และสนใจรับราชการ(ร้อยละ 28.7) ประการที่สี่ เยาวชนโดยทั่วไปมองเห็นว่า มาตรการทั้งการแก้ไขปัญหาและความช่วยเหลือของรัฐพอช่วยเหลือผู้ปกครองได้บ้างแต่ไม่มากนัก จึงมีความพึงพอใจในระดับปานกลางและน้อยร้อยละ 47.3, 31.0 ตามลำดับ ประการที่ห้า บทบาทสื่อในประเด็นเรื่องการแพร่ระบาดสามารถเข้าถึงเยาวชนได้ดีร้อยละ 35.3 ขณะที่ประเด็นด้านการเมืองนั้น ไม่มีผลต่อการสร้างแรงดึงดูดต่อเยาวชนได้มากนักคิดเป็นร้อยละ 19.6 เท่านั้น ประการที่หก การปลุกระดมเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองในบริบทปัจจุบัน ยังไม่สามารถกระตุ้นคิดเป็นร้อยละ 52.4 สอดคล้องกับประการที่เจ็ด การเคลื่อนไหวทางการเมืองผ่านออนไลน์ Facebook, twitter, Line, IG คิดเป็นร้อยละ 33.1 และประการที่แปดสุดท้ายคือ แม้มีการฉีดวัคซีนเยาวชนก็มีความต้องการในการฉีดสูงคิดเป็นร้อยละ 45.5 แม้ว่าจะมีความลังเลอยู่บ้างคิดเป็นร้อยละ 14.2
วิเคราะห์ผลการสำรวจ
1) เยาวชนมีการปรับตัวตามสถานการณ์ได้ดี แม้จะได้รับผลกระทบ โดยตรงจากการปฏิบัติตามมาตรการนโยบายรัฐเรื่องการจัดการเรียนการสอนออนไลน์เป็นหลัก จึงพบว่า โดยส่วนใหญ่ไม่มีความสุขในระบบเพราะ
(1) เรียนไม่รู้เรื่อง
(2) มีภาระในการเรียนมากกว่าปกติ เช่น การทำแบบฝึกหัดเรียนด้วยตนเอง
2) การศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีเป็นประเด็นที่เป็นภาระมากกว่าการออกมาทำงานหลังจบมัธยมศึกษาตอนปลายในช่วงสถานการณ์ Covic-19 โดยส่วนใหญ่ จึงลังเลในการเลือกศึกษาต่อ
3) กลุ่มตัวอย่างมองเห็นว่าในช่วงสถานการณ์Covic-19 การประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวกลายเป็นอาชีพที่มีความสนใจใกล้ตัวกับเยาวชน เพราะไม่จำเป็นต้องเรียนต่อในระดับปริญญาตรี ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายสูงและเสียเวลาอีก 3-4 ปี แต่กลุ่มตัวอย่างอีกลุ่มยังมองเห็นว่า การรับราชการและรัฐวิสาหกิจ เป็นทางเลือกที่มีความมั่นคงสูงในสถานการณ์ปัจจุบันมากกว่าอาชีพอื่นๆ
4) เยาวชนโดยทั่วไปมองเห็นว่า มาตรการทั้งการแก้ไขปัญหาและความช่วยเหลือของรัฐพอช่วยเหลือผู้ปกครองได้บ้างแต่ไม่มากนัก จึงมีความพึงพอใจในระดับปานกลางและน้อยตามลำดับ
5) บทบาทสื่อในประเด็นเรื่องการแพร่ระบาดสามารถเข้าถึงเยาวชนได้ดี ขณะที่ประเด็นด้านการเมืองนั้นไม่มีผลต่อการสร้างแรงดึงดูดต่อเยาวชนได้มากนัก
6) ขณะเดียวกัน การปลุกระดมเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองในบริบทปัจจุบัน ยังไม่สามารถกระตุ้นการตัดสินใจของเยาวชนตัดสินใจเข้าร่วมการเคลื่อนไหวแบบจริงจัง เพราะการเรียนในระบบออนไลน์ทำให้เยาวชนอยู่กับครอบครัวที่มีอิทธิพลในการกล่อมเกลาทางการเมืองสูงกว่ากลุ่มเพื่อน
7) ผลการสำรวจสะท้อนให้เห็นว่า การเคลื่อนไหวผ่านระบบออนไลน์นั้น ยังมีบทบาทในทางการเมืองได้ใกล้ตัวกับเยาวชน เพราะเหตุจากความปลอดภัยที่มีมากกว่าการเข้าร่วมชุมนุมด้วยตนเอง จนกล่าวได้ว่าการเป็นนักเลงคีย์บอร์ดนั้นได้รับการยอมรับในหมู่เยาวชนสูง
8) แม้มีการฉีดวัคซีน เยาวชนก็มีความต้องการในการฉีดสูง แม้ว่าจะมีความลังเลอยู่บ้าง การสร้างความเชื่อมั่นถึงความปลอดภัยย่อมทำให้เยาวชนกล้าตัดสินใจเข้ารับการฉีดวัคซีน