‘พุทธะอิสระ’ ลั่น เจอพวกแก้ ม.112 ให้เปิดเพลง’หนักแผ่นดิน’ใส่ อย่าให้มีที่ยืนได้

'พุทธะอิสระ' ลั่น เจอพวกแก้ ม.112 ให้เปิดเพลง'หนักแผ่นดิน'ใส่ อย่าให้มีที่ยืนได้

วันที่ 12 พ.ย.– พุทธะอิสระ อดีตเจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า กรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก วินิจฉัยว่า การกระทําของนายอานนท์ นำภา นายภาณุพงศ์ จาดนอก และนางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง และมีมติเป็นเอกฉันท์ สั่งการให้ผู้ถูกร้อง รวมทั้งกลุ่มองค์กรเครือข่ายเลิกกระทําการดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสอง

พุทธะอิสระกล่าวอีกว่า เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญบางช่วงบางตอนแล้ว ต่อไปก็ให้ช่วยกันหาตัวคนที่อยู่เบื้องหลังไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง นักการเมือง นักวิชาการ และองค์กร ที่รับเงินจากต่างชาติมาเคลื่อนไหวแก้มาตรา 112 รวมทั้งพวกเบี้ยที่รับจ้างมาย่ำยีชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เห็นคนพวกนี้อยู่ที่ไหน ก็ควรเปิดเพลง ‘หนักแผ่นดิน’ ให้เขาฟังไปในทุกที่ อย่าให้มีที่เหยียบยืนได้

นอกจากนี้พุทธะอิสระ ยังระบุอีกว่า หากจะพูดถึงสิทธิ์ที่มนุษย์ทุกผู้ทุกนาม ล้วนมีเสรีภาพความเท่าเทียมกันทุกคน แต่มันก็ขึ้นอยู่กับบริบทของสังคมเป็นตัวกำกับ เช่นกันอันได้แก่ วัยวุฒิ ได้แก่ ผู้ที่ได้เกิดมาก่อน /ชาติวุฒิ ผู้ที่เกิดในตระกูลที่สูงกว่า และบทบาทหน้าที่ที่กระทำ /คุณวุฒิ ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และคุณธรรมที่เหนือกว่า เหล่านี้คือข้อกำหนด หลักปฏิบัติทางสังคมอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก เมื่อสถานการณ์โลกเปลี่ยนไป บริบทของสังคมก็ปรับเปลี่ยนจากที่สิทธิ์ความเท่าเทียมจะบังเกิดมีแก่ผู้มีวัยวุฒิ ชาติวุฒิ คุณวุฒิ พอมาถึงยุคปัจจุบัน สิทธิ์แห่งความเป็นมนุษย์จะเกิด จะมี ก็ต่อเมื่อต้อง มีอาวุธมาก มีพวกมาก ทำให้ดูว่ากูยิ่งใหญ่ มีทรัพย์มาก มีบทบาทที่แสดงออกมาก เช่น บรรดาไอดอลทั้งหลาย เหล่านี้คือตัวการกำหนดสิทธิ์

ในทางพุทธศาสนา พระบรมศาสดาทรงชี้ว่า สิทธิ์และความเท่าเทียมของความเป็นมนุษย์จะมีได้ก็ต่อเมื่อต้องมี ศีล ซึ่งแม้ศีลก็ยังมีไม่เท่ากัน เช่น ฆราวาสทั่วไปก็มีศีล 5 ผู้ถือบวชเนกขัมมะก็มีศีล 8 สามเณรก็มีศีล 10 พระภิกษุมีศีล 227 แม้พระอริยเจ้ายังมีถึง 8 ขั้น 4 พวก ซึ่งจำนวนของศีลดังกล่าวเป็นตัวกำหนดสิทธิ์และความเท่าเทียม นอกจากนี้ยังมีอายุพรรษาหรือวัยวุฒิ ก็เป็นตัวกำหนดสิทธิ์ เช่น แม้เป็นผู้เฒ่าอายุมาก แต่ถ้าเพิ่งบวช ก็มีสิทธิ์น้อยกว่าภิกษุที่อายุน้อยแต่มีพรรษามาก อีกเรื่องที่เป็นตัวกำหนดสิทธิ์ความเท่าเทียมของผู้ที่อยู่ใน พระพุทธศาสนาก็คือ คุณธรรม เช่น พระอริยบุคคลขั้นโสดาปฏิมรรค ย่อมมีสิทธิ์น้อยกว่าพระโสดาปฏิผล /พระสกทาคามีมรรค ก็มีสิทธิ์น้อยกว่าพระสกทาคามีผล /พระอนาคามีมรรค ก็มีสิทธิ์น้อยกว่าพระอนาคามีผล /พระอรหัตนมรรค ก็มีสิทธิ์น้อยกว่าพระอรหันตผล แม้เป็นถึงอรหันตผลแล้วก็ยังต้องจำแนกสิทธิ์ให้แตกต่างกันด้วยคุณธรรม ความรู้ ความสามารถ ซึ่งพระอรหันต์แต่ละองค์ล้วนมีไม่เท่ากัน

พุทธะอิสระกล่าวต่อว่า ฉะนั้นพวกที่ละเมิด เพ้อฝัน พร่ำบ่นถึงสิทธิ์ความเท่าเทียมนั้น มันไม่มีอยู่จริงบนโลกใบนี้ดอก แม้ในประเทศที่อวดอ้างว่าเป็นต้นตอแห่งประชาธิปไตย ประชาชนในประเทศก็ยังมีสิทธิ์ไม่เท่าเทียมกันเลย

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นายกฯ" ไม่โกรธฉายาครม.ปี 67 มองเป็นสีสัน ลั่น "รัฐบาลพ่อเลี้ยง" ก็ดีช่วยทำงาน เพราะพ่อมีประสบการณ์
"นายกฯ" อวยพรปีใหม่คนไทย ขอให้มีความสุขเรื่องใกล้ตัว บอกปีหน้าเป็นปีแห่งโอกาส รัฐบาลจะทำเต็มที่
ทร.เอาจริง! ติดเขี้ยวเล็บให้ปชช.แนวชายแดน สอนจับปืน-ศัตรูมาพร้อมซัดโป้ง
คดีสังหาร สจ.โต้ง ส่อบานปลาย คลิปเสียงโผล่อีกไขปมยิง โยงเงินปริศนา 70 ล้าน
"อดีตสว.สมชาย" ชี้ฝ่ายอนุรักษ์เดินหมากผิด เปิดโอกาส"ระบอบทักษิณ"ฟื้นชีพรอบวกส้ม
ม่วนกรุ๊ป เริ่มแล้ว เทศกาลตีคลีไฟชัยภูมิ หนึ่งเดียวในโลก 1 ครั้งในรอบปี สุดคึกคัก
ชาวเวียดนามในโฮจิมินห์ดีใจมีรถไฟใต้ดินใช้แล้ว
ผู้นำสูงสุดปัดอิหร่านไม่มีกองกำลังตัวแทน
ฮูตีเคลมผลงาน F/A-18 โดนสอยร่วงทะเลแดง
สื่อทำเนียบฯ จัดเต็มฉายาครม.ปี 67 "รัฐบาล (พ่อ) เลี้ยง" นายกฯท่องโพย วาทะแห่งปี "สามีคนใต้"

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น