วันที่ 15 พ.ย. 2564 นายอิทธิพร แก้วทิพย์ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วย นายประยุทธ เพชรคุณ รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ ในฐานะรองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด และ นายวรินทร สาสนัส รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต แถลงภายหลังอัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้อง พ.ต.อ. ธิติสรรค์ อุทธนผล อดีต ผกก.สภ.เมืองนครสวรรค์ หรือผกก.โจ้ กับพวกรวม 7 คนผู้ต้องหาที่ร่วมกันใช้ถุงดำคลุมศรีษะ นายจิระพงษ์ ธนะพัฒน์ หรือมาวิน ผู้ต้องหาคดีค้ายาเสพติด ถึงแก่ความตายขณะที่อยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ทั้ง4ข้อหาตามพนักงานสอบสวนที่ประกอบด้วย เป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต // เป็นเจ้าพนักงานของรัฐร่วมกันปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต//ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย//ร่วมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเองหรือของผู้อื่นหรือโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้นหรือจำยอมต่อสิ่งนั้น
สำนักงานอัยการสูงสุดได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อมาพิจารณาคดีนี้โดยเฉพาะ รวมทั้งหมด 6คน โดยมีนายวุฒิรัตน์ มีผดุง รองอัยการสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะทำงาน เพราะเป็นคดีสำคัญ และจะมีหน้าที่ในการดำเนินคดีจนถึงที่สุดรวมถึง ในวันนี้เองสำนักงานอัยการคดีปราบปรามการทุจริตได้รับมอบหมายให้ไปยื่นฟ้อง อดีตผู้กำกับโจ้กับพวกรวม7คน ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางแล้วด้วย ซึ่งได้มีการคัดค้านการประกันตัว เพราะเป็นคดีร้ายแรง ประชาชนให้ความสนใจและเกรงว่าจำเลยจะไปยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน รวมถึงเกรงว่าจะหลบหนี ซึ่งมีหลักฐานเป็นเอกสาร7แฟ้มส่งศาลในวันนี้ด้วย เพราะศาลนี้จะใช้ระบบไต่สวน แตกต่างจากศาลอาญาที่ใช้ระบบกล่าวหา โดยหลังจากนี้ จะมีการนัดไต่สวนจึงต้องแนบเอกสารประกอบคำฟ้องแบบเปิดเผยด้วย และกระบวนการค้นหาความจริงในศาลนี้ ศาลจะลงมาค้นหาความจริงตามในระบบไต่สวนและให้ทนายถามคำถามเฉพาะที่ศาลอนุญาตเท่านั้น
ด้านนายวรินทร รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต ยืนยันว่า จากการตรวจสำนวนของพนักงานสอบสวนกองปราบปราม ทำได้เห็นว่าสำนวนมีความละเอียดรอบคอบ ส่วนศาลจะรับฟังมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล แต่พยานหลักฐานเท่าที่รวบรวมมาค่อนข้างสมบูรณ์/ส่วนกรณีที่ อดีตผู้กำกับโจ้ อ้างว่าไม่ได้มีเจตนาฆ่า จะสามารถหักล้างข้อกล่าวหาได้หรือไม่นั้น อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา อธิบายเพิ่มเติมว่า เป็นสิทธิของผู้ต้องหาในการต่อสู้คดี แต่ทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลว่าจะพิจารณาว่าเจตนาหรือไม่ และพยานหลักฐานที่มีเป็นไปตามข้อกล่าวหา ส่วนผู้ต้องหาจะมีพยานหลักฐานใดมาหักล้างก็ต้องอยู่ที่ชั้นศาล
เช่นเดียวกับรองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้อธิบายว่ากรณีนี้เป็นการตายในระหว่างเจ้าพนักงานควบคุมตัว หลังมีผลชันสูตรพลิกศพ และพยานหลักฐาน พนักงานอัยการก็ได้พิจารณาสำนวนถี่ถ้วนแล้ว ก็ให้ความมั่นใจได้ว่า สำนวนที่ทำมาผ่านขั้นตอนต่างๆ จนไปถึงอัยการสุงสุด ซึ่งทุกกระบวนการพนักงานอัยการล้วนมีความรู้ความเชี่ยวชาญ และเมื่อสั่งฟ้องแล้วก็ให้ความมั่นใจได้ว่า สำนวนละเอียดถี่ถ้วนแน่นอน จึงได้สั่งฟ้องทุกข้อหาโดยเฉพาะข้อหา ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานฯ ซึ่งเป็นข้อหาที่มีโทษสูงสุดคือ ประหารชีวิต