ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์กระแสการวิพากษ์วิจารณ์ว่าไทยตกขบวนไม่ได้เป็น 1 ใน 95 ประเทศ ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยาแพคโลวิด ของบริษัทไฟเซอร์ ว่า การพิจารณาถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยาให้ประเทศใดนั้นอยู่ที่บริษัทผู้ผลิตเอง เราทำอะไรไม่ได้ แต่มั่นใจว่ากระทรวงสาธารณสุขมีการเตรียมความพร้อมทางด้านยา และวัคซีนไว้รองรับสถานการณ์โรคโควิด -19 ค่อนข้างสมบูรณ์ ยาฟาวิพิราเวียร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการดูแลผู้ติดเชื้อได้ดี โดยเฉพาะการให้ในระยะแรกๆ จะช่วยลดระยะเวลาการรักษาให้สั้นลงได้ ส่วนการซื้อยาโมนูลพิราเวียร์ และยาแพคโลวิด เราก็มีการสั่งซื้อมาสำหรับกรณีคนที่มีความจำเป็น เข้ามาเป็นส่วนเสริม ไม่ได้เข้ามาเป็นยาตัวหลักแต่อย่างใด แต่เอามาเสริมความมั่นคง ที่สำคัญยาแพคโลวิดยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนกบอย. ทราบว่ามีการกำลังจะได้ขึ้นทะเบียนกับอย.สหรัฐ
สำหรับกรณีที่มีคนวิพากษ์วิจารณ์เป็นความเชื่อมโยงเรื่องการเมืองหรือไม่นั้น ตนไม่ทราบ เพราะตนฟังจากหมอที่ปฏิบัติงานจริงๆ ดูแลรักษาคนไข้ มีการศึกษาวิจัยอย่างแท้จริง รู้ว่ายาใด ขนาดยาแค่ไหน วัคซีนตัวไหนเหมาะสมมีประสิทธิภาพ อย่างล่าสุดได้รับรายงานจากอธิบกดีกรมควบคุมโรคว่าผลการศึกษาการฉีดวัคซีนสูตรไขว้ซิโนแวค – แอสตร้าเซเนกา สามารถกระตุ้นภูมิได้ดีมากกว่าที่คาดไว้ ส่วนที่ขณะนี้ยังมีบางประเทศอาจจะยังไม่ได้ยอมรับสูตรไขว้ของไทย จะพูดคุยหรือส่งข้อมูลเพื่อพิจารณา เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคการเดินทางหรือไม่นั้น ตนได้พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศกันอยู่แล้ว เมื่อมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ก็นำมาพิจารณาเพื่อให้เกิดผลดีกับประชาชน
ด้าน นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ชี้แจงว่า ประเทศไทยไทยไม่ได้อยู่เกณฑ์ที่บริษัท ไฟเซอร์ จะให้สูตรผลิตยาแพกซ์โลวิด เนื่องจากเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูง ซึ่งบริษัทไฟเซอร์ ได้แจ้งมาแล้วว่าไทยไม่ได้อยู่ใน 95 ประเทศ ซึ่งบริษัท ไฟเซอร์ ไม่ได้แจ้งว่ามีประเทศอะไรบ้าง แต่ไทยมีความพยายามเจรจาต่อรองเรื่องการขอสูตรผลิตยาแพลกซ์โลวิด ซึ่งต้องเป็นการเจรจาในระดับประเทศ ส่วนความคืบหน้ายาโมลนูพิราเวียร์ ขณะนี้การสัญญาการจัดซื้อดังกล่าว ถูกส่งให้กรมบัญชีกลางพิจารณา ซึ่งในวันพรุ่งนี้กรมบัญชีกลางจะมีการประชุม แล้วแจ้งกลับมาที่กรมการแพทย์ คาดว่า จะได้เซ็นสัญญาอย่างช้าสัปดาห์หน้า