สช. จับมือ กสศ. นำนวัตกรรมคัดกรองเด็กยากจนและด้อยโอกาส ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ

สช. จับมือ กสศ. นำนวัตกรรมคัดกรองเด็กยากจนและด้อยโอกาส ช่วยลดความเหลื่อมล้ำและป้องกันเด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษา

วันนี้ 18 พ.ย.64 นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อสนับสนุนนวัตกรรมการคัดกรองความยากจน การวิจัยพัฒนาคุณภาพครู และสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยมีนายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายพีรศักดิ์ รัตนะ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน นายสุภกร บัวสาย รักษาการผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พร้อมด้วยข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธีลงนามฯ ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ

 

 

นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า วันนี้ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดี ที่ สช. และ กสศ. ได้ร่วมมือกันขับเคลื่อนระบบการศึกษา โดยการสนับสนุนนวัตกรรมการคัดกรองความยากจน การจัดสรรงบประมาณแบบมีเงื่อนไข เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและให้การช่วยเหลือนักเรียนยากจน เพื่อเป็นการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนยากจน นักเรียนพิการ และด้อยโอกาสให้ได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นตามศักยภาพ รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความช่วยเหลือ ส่งเสริมนักเรียนยากจน นักเรียนพิการ และด้อยโอกาส เพื่อลดความเลื่อมล้ำในการศึกษาจนสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน และยังเป็นการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนและประสิทธิภาพของครูในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการด้วย

 

 

นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การนำนวัตกรรมการคัดกรองนักเรียนยากจนของ กสศ. มาใช้ในสถานศึกษาเอกชน ถือเป็นเรื่องดีเพื่อช่วยเหลือติดตามนักเรียนได้อย่างทันเวลา นอกจากนี้ ยังช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษา ศักยภาพครู และคุณภาพโรงเรียน ยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 จะต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องยกระดับขีดความสามารถของครู โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้จัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ซึ่ง กสศ. ได้วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ การส่งเสริมโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเองให้กับโรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในเรื่องการเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์ให้แก่นักเรียนในศตวรรษที่ 21 การเรียน การสอนแบบ Active Learning เป็นต้น

 

 

นายสุภกร บัวสาย รักษาการผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวว่า สำหรับการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือนักเรียนยากจน นักเรียนพิการ และด้อยโอกาสให้ได้รับโอกาสทางการศึกษารวมถึงการพัฒนาครูและสถานศึกษาในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก เน้นการสนับสนุนเครื่องมือการคัดกรองความยากจนด้วยวิธีวัดรายได้ทางอ้อม (Proxy Means Test : PMT) และระบบสารสนเทศ ให้แก่ครู สถานศึกษา ศึกษาธิการจังหวัด และ สช. เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำคัญช่วยเหลือติดตามเฝ้าระวังนักเรียน และขอรับงบจัดสรรเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนของหน่วยงานต้นสังกัด ซึ่งเครื่องมือนี้จะนำไปใช้ในโรงเรียนประเภทสามัญศึกษา สังกัด สช. ทั่วประเทศ จำนวน 3,900 แห่ง และส่วนที่สอง เน้นช่วยเหลือนักเรียนที่อยู่ในครัวเรือนยากจน 15% ล่างของประเทศ ที่ศึกษาในโรงเรียนเอกชนประเภทการกุศล 566 แห่ง ผ่านโครงการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข โดยนักเรียนยากจนพิเศษจะได้รับเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข คนละ 3,000 บาทต่อปี เพื่อบรรเทาอุปสรรคการมาเรียน ค่าครองชีพ ค่าอาหารเช้า พร้อมทั้งมีระบบติดตามการมาเรียน ผลการเรียน และการเจริญเติบโตของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยในปีการศึกษา 2564 กสศ. มีงบประมาณช่วยเหลือนักเรียนทุนเสมอภาค สังกัด สช. ได้จำนวน 2,500 คน

 

นายสุภกร บัวสาย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนที่สองนี้ คือ กลุ่มครูและโรงเรียน เพื่อยกระดับยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนและส่งเสริมให้โรงเรียนมีการพัฒนาทั้งระบบ ทั้งด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนเกิดสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ในปีการศึกษา 2564 มีโรงเรียนสังกัด สช. เข้าร่วมโครงการพัฒนาตนเองรุ่นที่ 2 จำนวน 27 แห่ง ครอบคลุมนักเรียนที่จะได้รับประโยชน์และยกระดับคุณภาพการศึกษาจำนวน 10,000 คน อย่างไรก็ตาม การจัดทำบันทึกข้อตกลงในวันนี้ ยังนำไปสู่การเชื่อมต่อระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลรายบุคคลและรายสถานศึกษาระยะยาว ครอบคลุมเด็กเยาวชนที่มาจากครัวเรือนซึ่งมีรายได้น้อยที่สุดร้อยละ 20 ของประเทศ จำนวนมากกว่า 1 ล้านคน ในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ครอบคลุมสถานศึกษาสังกัด สช. กว่า 3,902 แห่ง

 

นายพีรศักดิ์ รัตนะ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กล่าวว่า การสนับสนุนนวัตกรรมดังกล่าว จะช่วยให้ สช. มีฐานข้อมูลความยากจนของนักเรียนที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ และสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการขอรับงบประมาณประจำปี เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่มีความเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา เนื่องจากปัญหาความยากจน และด้อยโอกาสได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ สช. และ กสศ. ยังมุ่งพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ ผ่านโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง หรือ Teacher and School Quality Program : TSQP ที่เน้นการพัฒนาคุณภาพของระบบบริหารจัดการโรงเรียน และการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพสูงในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะในศตวรรษที่ 21

 

 

ที่มา..กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

ศูนย์ข่าว TOPNEWS

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เคาะวันแล้ว กกต. เปิดแผนงานเลือกตั้งนายก-สมาชิกอบจ.
"เคนโด้" นำ "กลุ่มผู้เสียหาย" ค้านประกันตัว "แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์" หวั่นคุกคามเหยื่อ
วัดพิบูลสัณหธรรม เตรียมจัดงานวันลอยกระทงเพื่อสมทบทุนบูรณะต่อเติมศาลาการเปรียญให้แล้วเสร็จ เพื่อใช้ประโยชน์ ในการประกอบศาสนกิจของวัด ใช้ประกอบพิธีในพระพุทธศาสนา
ชื่นชม หนุ่มใหญ่จิตอาสาชาวชะอำ จ.เพชรบุรี เดินลุยฝนเก็บขยะอุดตันตามท่อ เพื่อช่วยระบายน้ำท่วม
สุดเสียวกลางดึกช้างป่าบุกใจกลางชุมชนบ้านเกาะลอยซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ โฉบบ้านนักข่าวก่อนเข้าพังรั้วค่ายทหารพรานที่1306 เสียหาย ทำชาวบ้านผวาหวั่นอันตราย
หมูเด้ง เสี่ยงทายเลือกตั้งสหรัฐฯ ประธานาธิบดีอเมริกาคนต่อไป คือคนนี้ รอลุ้นจะใช่หรือไม่
"ทนายสมชาติ" พา "เจ๊อ้อย" เข้าให้ปากคำ "ตำรวจกองปราบฯ" เพิ่ม ปมเงิน 71 ล้านบาท
“ทนายตั้ม” โผล่พบตํารวจกองปราบฯ ชี้แจงปมเงิน 71 ล้านบาท
"ภูมิธรรม" มอง MOU44 กลไกที่ดีที่สุด ก่อนย้อน พปชร.ไปถาม "บิ๊กป้อม" เคยนำเจรจากัมพูชา ก่อนมาคัดค้าน
"ก.แรงงาน" เตรียมเปิดขึ้นทะเบียน "แรงงานต่างด้าว" รอบใหม่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น