อธิการบดีจุฬาฯ ยันการแก้ปัญหา อบจ. ยึดหลักความถูกต้องมาก่อน ถูกใจมาทีหลัง

“บัณฑิต เอื้ออาภรณ์” ยันการแก้ปัญหา อบจ. ยึดหลักความถูกต้องมาก่อน ถูกใจมาทีหลัง มีสติ ไม่ฉาบฉวย ทำงานภายใต้การกำกับของสภามหาวิทยาลัย พร้อมขอโทษบริหารไม่ถูกใจบางกลุ่ม

วันที่ 21 พ.ย. 64 นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ท็อปนิวส์ ถึงกรณีที่ถูกศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร้องเรียน กรณีไม่แก้ปัญหาองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬา (อบจ.) ปล่อยให้นายเนติวิทย์ โชติพัทร์ไพศาล นายก อบจ. กระทำหลายเรื่อง อาทิ การให้บุคคลที่ถูกดำเนินคดี ม.112 (เพนกวิน, รุ้ง ปนัสยา และ ปวิน นักวิชาการ ญี่ปุ่น) เผยแพร่คลิปบรรยายพิเศษในวัน ปฐมนิเทศนิสิตใหม่ การออกแถลงการณ์ยกเลิกการแห่พระเกี้ยว เนื่องในงานฟุตบอลประเพณี มธ.-จุฬาฯ ว่า ในฐานะอธิการบดี ตนได้รับความปราถนาดีจากทุก ๆ ฝ่าย โดยเฉพาะจากศิษย์เก่าของจุฬาลงกรณ์ฯ ให้ข้อคิดให้ความเห็นมากมาย ตนในฐานะอธิการบดี ก็ยึดหลักความถูกต้อง มหาวิทยาลัยก็มีสภามหาวิทยาลัย ที่เป็นผู้คอยให้สติแกทีมบริหารอธิการบดี ส่วนคอมเม็นท์ต่าง ๆ ก็มีหลากหลาย หลายฝ่าย ตนมองว่าตอนนี้สังคมกำลังเรียนรู้ ปรับตัว ตนเปรียบเทียบว่าวันนี้เราอยู่ในโลกดิจิทัล ซึ่งในโลกดิจิทัล มีตัวเลขสองตัวเป็นฐานของระบบ คือเลข 0 กับเลข 1

อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า ตนจะเปรียบเทียบว่าวันนี้ก็มีกลุ่ม 0 กับกลุ่ม 1 โดยที่กลุ่ม 0 ก็มีชุดความเชื่อหนึ่ง กลุ่ม 1 ก็มีอีกชุดความเชื่อหนึ่ง สิ่งสำคัญภายใต้โลกของดิจิทัล โลกของโซเชียลมีเดีย เหตุการณ์ที่ตนพบก็คือว่า กลุ่ม 0 ก็คุยกับกลุ่ม 0 กลุ่ม 1 ก็คุยกันเฉพาะกลุ่ม 1 สิ่งที่เกิดขึ้นคือว่ายิ่งคุยกันก็ยิ่งเชื่อมั่นว่าตัวเองถูก ไม่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันเท่าไหร่ เพราะฉะนั้น ความมั่นใจในสิ่งที่ตัวเองคิด ทำ ก็เป็นสิ่งที่ตนได้พบเห็น แต่ในฐานะที่บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คิดว่าวันนี้ทำอย่างไรจึงจะทำให้กลุ่ม 0 และ 1 กลับมาคุยกันได้และในที่สุดเกิดการพัฒนาต่อเนื่อง ยอมรับว่าปัจจุบันกลุ่ม 1 ก็มีความสนใจในแบบหนึ่ง กลุ่ม 0 ก็มีความสนใจในแบบหนึ่ง ทำอย่างไรจึงจะทำให้การเติบโตของกลุ่ม 0 ซึ่งจะเป็นกลุ่ม 1 ในอนาคต เป็นกลุ่ม 1 ที่มีคุณภาพ มีความคิดที่ดี เพราะฉะนั้นโลกวันนี้เราต้องเรียนรู้ ต้องถามว่าเราจะปรับตัวกันอย่างไร กลุ่ม 1 จะทำให้กลุ่ม 0 ต้องเชื่อตามที่ตัวเองบอก หรือเราจะทำให้กลุ่ม 0 เรียนรู้และปรับตัว เข้าสู่โลกในอนาคต และให้เกิดผลดีต่ออนาคต อันนี้เป็นสิ่งที่มหาลัยพิจารณาและดำเนินการภายใต้การชี้แนะการให้สติของสภามหาวิทยาลัย

“แต่ผู้ปราถนาดีทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นภายนอกจุฬาฯ ภายในจุฬาฯ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน เราในฐานะที่อยู่ตรงกลาง ต้องรับฟังทุกฝ่าย และเชื่อมั่นว่าสิ่งที่เรากำลังทำ ผมเห็นการพัฒนาของสังคม ๆ กำลังเรียนรู้และปรับตัวในโลกดิจิทัล ต้องขออภัยถ้าการบริหารงานไม่ถูกใจบางกลุ่ม แต่ตนคิดว่าวันนี้ ผมมีสภามหาวิทยาลัย ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิ มากมาย มีตัวแทนทุกฝ่าย เข้ามาคอยให้สติ และคอยกำกับการทำงานของผม เพราะฉะนั้นก็อยากให้ทุก ๆ ท่านเชื่อมั่นว่าฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัยทำงานอย่างมีสติ ไม่ฉาบฉวย และให้สังคมมั่นใจได้ อยากให้พี่น้องทุกคนเชื่อมั่นได้ว่า มหาวิทยาลัยดำเนินการตามความเหมาะสม ยึดหลักการความถูกต้องมาก่อน ถูกใจตามมาทีหลัง” นายบัณฑิต กล่าว

ต่อข้อถามว่าอยากจะฝากอะไรไปถึงฝ่ายที่กดดันบ้าง นายบัณฑิต กล่าวว่า ในอดีตก็มีบทเรียนพอสมควร เมื่อไหร่ที่เราใช้อารมณ์ความรู้สึกเป็นตัวนำ ในที่สุดก็ย้อนกลับมา มหาวิทยาลัยต้องทำให้ถูกต้องตั้งแต่ต้น ดีกว่าย้อนกลับมาแก้ไขภายหลัง ก็จะทำให้เสียชื่อ ในอดีตเราต้องยอมรับการลงโทษนิสิตเพราะเหมาะสม ไม่งั้นคราวหลังถ้าเกิดเหตุการณ์ที่เกินเลยไปเราก็ต้องมาแก้ไขอยู่ดี เพราะฉะนั้นทำให้ถูกต้องตั้งแต่ต้นจะดีกว่า เหมือนกับที่มหาวิทยาลัยดำเนินการในปัจจุบันตามกระบวนการที่ถูกต้องทุกขั้นตอน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น