การรถไฟฯ ยันไม่รื้อ ”หัวลำโพง” พร้อมเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็น

“ศักดิ์สยาม” สั่งการเร่งเปิดเวทีสาธารณะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ประเด็นการเดินรถเข้าสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง) ย้ำไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ด้านการรถไฟฯ ยืนยันจะไม่ทุบหรือรื้อทิ้งสิ่งปลูกสร้างสถานีรถไฟหัวลำโพงหรือปิดให้บริการ ระบุมีแผนพัฒนาเชิงพาณิชย์ในอนาคต ประเมิน 30 ปี สร้างรายได้ 8 แสนล้านบาท เพียงพอแก้ปัญหาภาระหนี้รถไฟ

วันนี้(27 พ.ย.64) นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานและการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) หลังจากที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์และความกังวลถึงเรื่องดังกล่าวว่า ยืนยันจะไม่มีการทุบหรือรื้อทิ้งสิ่งปลูกสร้างสถานีรถไฟหัวลำโพงหรือปิดให้บริการแต่อย่างใด โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้การรถไฟฯ ดำเนินการเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนตามนโยบายของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแล้ว

สำหรับแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีรถไฟหัวลำโพงในอนาคตนั้น การรถไฟฯ ได้มีการตั้งบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด เพื่อบริหารที่ดินของการการรถไฟฯ ทุกแปลง โดยจากการประเมินรายได้จากการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณหัวลำโพงในอนาคต ระยะเวลา 30 ปี พบว่า จะมีรายได้เข้ามารวม 800,000 ล้านบาท โดยในปีแรกจะอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท และปีที่ 5 จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะเพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาภาระหนี้ของรถไฟที่ขาดทุนสะสมต่อเนื่องที่ประมาณ 150,000 ล้านบาท – 160,000 ล้านบาท

ส่วนปัญหาเรื่องการเดินรถไฟเข้ามาในเขตกรุงเทพชั้นใน รัฐบาลได้เล็งเห็นปัญหานี้มานานแล้วจึงได้พัฒนาโครงการสถานีกลางบางซื่อขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของระบบคมนาคม โดยเฉพาะระบบราง ซึ่งประกอบไปด้วย รถไฟฟ้าสายสีแดง, รถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยายในอนาคต เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาการจราจรแออัดในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยเฉพาะจุดตัดเสมอระดับทางรถไฟ-รถยนต์ และเมื่อการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อแล้วเสร็จจึงเห็นควรให้มีการปรับการเดินรถเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรอย่างเป็นรูปธรรม

อย่างไรก็ดี ทางรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม และ การรถไฟฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาและหาข้อสรุป เพื่อให้สามารถตอบโจทย์การดำเนินงานในทุกมิติได้อย่างแท้จริง และไม่ให้เกิดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน

นอกจากนี้ ระทรวงคมนาคมยังได้มีการจัดทำระบบขนส่งมวลชนรอง หรือ ฟีดเดอร์ เช่น รถเมล์ ขสมก. รวมถึงประสานงานกับภาคเอกชนที่มีสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในการอำนวยความสะดวกและยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้แก่พี่น้องประชาชนอีกด้วย

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เปิดตัว "TKR Connect" แพลตฟอร์มจัดหางานครบวงจร สร้างมิติใหม่รองรับแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกม.
ออกหมายจับ "หมอบุญ" พร้อมพวกรวม 9 คน “ฉ้อโกง-ฟอกเงิน” ปลอมลายเซ็นอดีตลูกสะใภ้กู้เงิน 8 พันล้าน
ระทึกกลางดึก ไฟไหม้ "ร้านกาแฟ" เผาวอดทั้งหลัง เสียหายกว่า 7 แสนบาท
"อุตุฯ" เผย "เหนือ-อีสาน-กลาง" อากาศเย็นตอนเช้า เตือนใต้ยังรับมือฝนตก
แม่ทัพภาคที่ 2 ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัวกำลังพล ห่วงใยไปถึงบ้าน เพราะเราคือครอบครัวกองทัพบก
สวนนงนุชพัทยาเปิดเวที CHONBURI PROUD EXPO 2024 หนุน SMEs ชลบุรีสู่ตลาดโลก
“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น