“หมอเฉลิมชัย” วิเคราะห์ “โอมิครอน” อาจทำให้โควิด ยุติการระบาด!

"หมอเฉลิมชัย" วิเคราะห์ "โอมิครอน" อาจทำให้โควิด ยุติการระบาด!

วันนี้ นายแพทย์เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว “ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย” โดยมีข้อความว่า โอมิครอนอาจทำให้โควิด-19 ยุติการระบาดต่อมนุษยชาติได้ ในมุมมองที่ดีที่สุด เนื่องจากไวรัสโคโรนาลำดับที่ 7 ที่ก่อโรคโควิด-19 เป็นไวรัสสารพันธุกรรมเดี่ยวที่เรียกว่าอาร์เอ็นเอ จึงมีการกลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา ในช่วงเกือบสองปีที่ผ่านมา กลายพันธุ์ไปแล้ว กว่า 1,000 สายพันธุ์หลักและสายพันธุ์ย่อย แต่มีสายพันธุ์ที่คนรู้จักอยู่ประมาณ 10 สายพันธุ์ เพราะจะต้องมีลักษณะที่ทั้งแพร่ระบาดรวดเร็วกว้างขวาง และสร้างการเจ็บป่วยที่มีอาการมาก หรือดื้อต่อวัคซีน และจะมีไวรัสจำนวนมาก ที่แพร่ระบาดไม่รวดเร็วกว้างขวาง ก็จะไม่ได้รับความสนใจจากมนุษย์ ขณะเดียวกันไวรัสที่ก่ออาการรุนแรง แต่ไม่ได้แพร่ระบาดรวดเร็วกว้างขวาง ก็จะไม่มีความสำคัญกับมนุษยชาติเช่นกัน

นายแพทย์เฉลิมชัย ระบุอีกว่า การพิจารณาลักษณะเด่นของไวรัส 3 ประการ จะทำให้สามารถคาดการณ์การกลายพันธุ์ของไวรัสได้ว่า จะมีผลกระทบกับมนุษยชาติอย่างไรบ้าง ประกอบด้วย 1.ความสามารถในการแพร่ระบาดว่ารวดเร็ว กว้างขวางมากเพียงใด 2.การก่อโรคที่สร้างอาการรุนแรงในมนุษย์ 3.การดื้อต่อวัคซีน

สำหรับในฉากทัศน์ หรือ Scenarioที่ดีที่สุดสำหรับมนุษยชาติ ก็คือ ในประเด็นที่หนึ่ง ไวรัสต้องแพร่รวดเร็วกว้างขวางมากเพียงพอที่จะครอบคลุมทุกสายพันธุ์ จนเหลือเป็นสายพันธุ์เดียว และต้องโชคดี ไวรัสไม่ก่อให้เกิดอาการเลย เป็นการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ ส่วนประเด็นดื้อต่อวัคซีนหรือไม่ ก็จะไม่มีความสำคัญหรือจำเป็น ถ้าไวรัสโอมิครอนมีประเด็นที่หนึ่งคือ แพร่ระบาดกว้างขวางครอบคลุมทั้งโลก และมีประเด็นที่สองคือไม่รุนแรงไม่มีอาการ ประเด็นที่สามเรื่องดื้อแต่วัคซีนก็จะไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เมื่อไวรัสโอมิครอนระบาดจนแซงเดลต้าสำเร็จแล้ว แต่ตัวเองไม่มีความรุนแรงไม่ก่อให้เกิดอาการ โควิด-19 ก็จะยุติลงโดยสมบูรณ์

ส่วนถ้าเป็นกรณีอื่น ก็จะมีความรุนแรงผลกระทบต่อมนุษยชาติแตกต่างกันออกไป แม้ไวรัสโอมิครอนจะไม่เป็นไปในทางดีที่สุด แต่ในอนาคตก็อาจจะมีไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่ง ที่มีลักษณะดังกล่าว โควิด-19 ก็จะยุติลงได้ โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องวัคซีนหรือภูมิคุ้มกันหมู่แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม การเร่งวิจัยพัฒนาวัคซีนให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ หรือการที่มีการติดเชื้อมากพอจนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ก็ยังเป็นอีกหนึ่งฉากทัศน์ที่จะทำให้โรคระบาดโควิด-19 ยุติลงได้เช่นกัน จึงต้องลุ้นและติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดกันต่อไปว่า โควิด-19 จะยุติลงด้วยฉากทัศน์แบบใด ระหว่างไวรัสกลายพันธุ์แพ้ภัยตนเองจนไม่ก่อโรค หรือมนุษยชาติวิจัยพัฒนาวัคซีนจนป้องกันได้สำเร็จ หรือไวรัสระบาดมาก จนมนุษย์สร้างภูมิคุ้มกันหมู่สำเร็จ

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น