“หมอยง” เผย “โอมิครอน” แพร่กระจายง่าย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการน้อย ชี้ยังไม่รุนแรงถึงเสียชีวิต!

“หมอยง” เผย "โอมิครอน" แพร่กระจายง่าย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการน้อย ชี้ยังไม่รุนแรงถึงเสียชีวิต!

วันนี้ ศาสตราจารย์นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัวเรื่อง โควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอน โดยศาสตราจารย์นายแพทย์ยง ระบุประเด็นสำคัญส่วนหนึ่งว่า นับตั้งแต่เริ่มพบและวินิจฉัยสายพันธุ์ โอมิครอน ได้ในวันที่ 23 พฤศจิกายน ความจริงโอมิครอน ได้หลบซ่อนกระจายไปหลายท้องที่ เพราะไม่ได้มีการตรวจสายพันธุ์ ในผู้ป่วยทุกราย จึงไม่แปลก ในปัจจุบันพบมากกว่า 20 ประเทศ และเริ่มพบในผู้ที่ไม่เคยเดินทางไปแอฟริกาตอนใต้ เช่น ในประเทศนอร์เวย์ ก็ระบาดภายในประเทศ อเมริกาเอง ที่ตรวจสายพันธุ์มากก็พบในประชากรที่ไม่เคยเดินทางไปต่างประเทศ จึงแสดงถึงการระบาดในท้องที่แล้ว ทั้งนี้โอมิครอน พบได้แม้กระทั่งในผู้ป่วยที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว และติดเชื้อซ้ำ อย่างไรก็ตามจากรายงานมาจนถึงขณะนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการน้อย แต่ปริมาณไวรัสในลำคอมีปริมาณมาก เช่น ผู้ป่วยในฮ่องกง มีปริมาณไวรัสค่อนข้างสูง และได้รับวัคซีนมาก่อน สามารถติดต่อไปยังห้องตรงข้ามได้ ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้ก็เคยเกิดในประเทศไทยในระยะแรกของสายพันธุ์เดลต้า แต่ทั้งนี้ก็ไม่มีหลักฐานที่จะยืนยันที่แน่ชัดได้ว่าโรคนี้ติดต่อผ่านทางอากาศที่ลอยไปมาแน่นอน การสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ บางครั้งเป็นการยากที่จะบอก อาจจะมีคนกลาง สัมผัสเป็นสื่อ ข้ามไปมา

ศาสตราจารย์นายแพทย์ยง บอกอีกว่า โอมิครอน แพร่กระจายได้ง่าย ระบาดได้ง่าย จึงพบได้อย่างรวดเร็ว และกระจายไปในหลายทวีป ยังไม่มีหลักฐานว่า อาการที่เกิดจากสายพันธุ์นี้ จะรุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลต้า แต่จากข้อมูลถึงปัจจุบัน รวมทั้งที่มีการระบาดนอกแอฟริกาตอนใต้ จะเห็นว่าผู้ป่วยครึ่งหนึ่งไม่มีอาการ และอีกประมาณครึ่งหนึ่งมีอาการน้อย ยังไม่มีผู้ป่วยที่มีอาการมาก ถึงต้องนอนโรงพยาบาล หรือเสียชีวิต

ศาสตราจารย์นายแพทย์ยง ทิ้งท้ายว่า การฉีดวัคซีนให้มีภูมิต้านทาน แล้วสายพันธุ์นี้ระบาด มีอาการน้อย โรคไม่รุนแรง ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล หรือเสียชีวิต และจะเป็นการกระตุ้นภูมิต้านทาน ให้สูงขึ้นและอยู่นาน ก็จะเป็นไปตามวิวัฒนาการของไวรัส ในการปรับตัวให้ลดความรุนแรงของโรคลง เหมือนโคโรน่าไวรัสที่ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจในเด็กที่พบอยู่ทุกวันนี้ ไม่ได้สร้างปัญหาให้กับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเลย

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ก.แรงงาน" เตรียมเปิดขึ้นทะเบียน "แรงงานต่างด้าว" รอบใหม่
เจาะ "MOU44" พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา "เกาะกูด" เป็นของใคร
"สมชัย" เผยเคยทำงานร่วม "กิตติรัตน์" ยอมรับเป็นคนเก่ง แต่เพราะเคยตามใจฝ่ายการเมืองทำประเทศชาติเสียหาย
ระทึก "รถทัวร์กรุงเทพฯ-เชียงแสน" ชน "รถพ่วง" พลิกคว่ำตกข้างทาง ผู้โดยสารบาดเจ็บอื้อ
"ศิริกัญญา" ปูดข่าว รบ.วางแผนยึดการบินไทย ส่ง 2 ผู้บริหารฟื้นฟู
โมเดลใหม่...ประมงสมุทรสงครามเปิดตัวกิจกรรม “สิบหยิบหนึ่ง” ปราบปลาหมอคางดำ จับมือเกษตรกรร่วมแก้ปัญหาในบ่อเลี้ยงเกษตรกรและแหล่งน้ำธรรมชาติ
"กองปราบฯ" รับโอนคดี "ซินแสชื่อดัง" หลอกผู้เสียหายสูญเงิน 66 ล้าน
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 6 (ตรัง) ศึกษาดูงานด้านการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
"นครราชสีมา" เสี่ยงภัยแล้ง 10 อำเภอ ชลประทานประกาศงดทำนาปรังทั้งจังหวัด
"อัจฉริยะ" แจงผลสอบ "อาหารเสริม Eighteen 18" พบมีเลข อย.ถูกต้อง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น