‘หมอยง’ ชี้อีก 2 สัปดาห์รู้คำตอบ โควิดสายพันธุ์ “โอมิครอน” รุนแรงหรือไม่?

'หมอยง' ชี้อีก 2 สัปดาห์รู้คำตอบ โควิดสายพันธุ์ “โอมิครอน” รุนแรงหรือไม่?

วันที่ 7 ธ.ค. ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กข้อความว่า โควิด-19 “โอมิครอน” คำถามที่ต้องการคำตอบ ทั่วโลกให้ความสนใจกับโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน เป็นสายพันธุ์ที่พบใหม่ มีการกลายพันธุ์เป็นจำนวนมาก สิ่งที่ต้องการคำตอบ เร่งด่วนคือ 1. โอมิครอน ติดต่อง่ายจริงหรือไม่ /ขณะนี้หลังจากพบสายพันธุ์โอมิครอน ที่แอฟริกาตอนใต้ ไวรัสนี้ ได้แพร่กระจาย พบในประเทศต่างๆ นอกทวีปแอฟริการวมแล้วเกือบ 50 ประเทศรวมทั้งประเทศไทย แสดงให้เห็นว่าสายพันธุ์นี้แพร่กระจายได้ง่าย กว่าสายพันธุ์ Delta อย่างแน่นอน โดยมีอำนาจการแพร่กระจายโรคมากกว่าสายพันธุ์เดลต้าอย่างน้อย 2 เท่าขึ้นไป และในอนาคตสายพันธุ์นี้จะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดลต้า

ศ.นพ.ยงกล่าวว่า 2.โอมิครอน หลบหลีกภูมิต้านทานจากการติดเชื้อเดิม หรือวัคซีนได้หรือไม่ /ผู้ป่วยติดเชื้อที่พบขณะนี้ มีจำนวนหนึ่งฉีดวัคซีนครบแล้ว 2 เข็ม และอีกจำนวนหนึ่งถึงแม้ว่าจะเคยเป็นโรคโควิด-19 มาก่อน ก็สามารถติดเชื้อได้ แสดงว่าภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นป้องกันได้แบบไม่สมบูรณ์ จึงเกิดการติดเชื้อได้ แต่เกือบทั้งหมดมีอาการลดลงหรือ ไม่มีอาการเลย วัคซีนยังสามารถป้องกันความรุนแรงของโรคได้ 3.โอมิครอน ความรุนแรงของโรคเป็นอย่างไร /ในผู้ป่วยที่พบ นอกทวีปแอฟริกา จำนวนมากกว่าพันราย ส่วนใหญ่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ในทวีปแอฟริกาเอง มีการรายงานเบื้องต้น ในถิ่นระบาดของโรค พบว่าส่วนใหญ่เกือบครึ่งหนึ่งไม่มีอาการ และที่เหลือส่วนใหญ่มีอาการน้อย อย่างไรก็ตาม คงต้องรอ เพราะในระยะเริ่มต้นการติดเชื้อ อาจจะยังมีอาการน้อย การเกิดปอดบวม หรือต้องเข้าโรงพยาบาล จะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง คำถามข้อนี้จึงยังไม่สามารถสรุปได้ ว่ามีความรุนแรงอย่างไร คงต้องรอคำตอบอีกประมาณ 2 สัปดาห์ก็น่าจะรู้เรื่อง แต่แนวโน้มความรุนแรงลดลง

ศ.นพ.ยงกล่าวอีกว่า ความสำคัญของโอมิครอนอยู่ที่ “ความรุนแรงของโรค” ว่าเชื้อนี้จะลดความรุนแรงลงหรือไม่ ถึงแม้ว่าโรคนี้จะแพร่กระจายได้เป็นจำนวนมาก และหลบหลีกภูมิต้านทานได้เป็นบางส่วน ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว หรือผู้ที่เคยป่วยมาก่อน มีอาการน้อยมากหรือไม่มีอาการ เมื่อติดเชื้อแล้วไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย ก็จะช่วยกระตุ้นภูมิต้านทาน เหมือนกับโรคทางเดินหายใจที่พบอยู่ขณะนี้ และในอนาคตความจำเป็นในการต้องตรวจกรองผู้สัมผัสทั้งหมด ก็ไม่มีความจำเป็น จะเป็นโรคทางเดินหายใจ ที่มักจะเป็นในเด็กที่ไม่มีภูมิต้านทาน หรือเคยติดเชื้อมาก่อน และเมื่อติดเชื้อแล้ว ก็จะมีภูมิต้านทานเกิดขึ้น การติดเชื้อครั้งต่อไปก็จะไม่มีอาการ เป็นเพียงเสริมภูมิต้านทานให้แข็งแรงยิ่งขึ้น และเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะมีภูมิต้านทาน

ศ.นพ.ยงกล่าวต่อว่า โรคไวรัสทางเดินหายใจในผู้ที่แข็งแรง ที่พบส่วนใหญ่ในขณะนี้จึงไม่ได้เป็นปัญหาสำคัญ จะเป็นปัญหาในกลุ่มเสี่ยงหรือร่างกายไม่แข็งแรง ในระยะเวลาอีกไม่นานก็คงรู้คำตอบจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่ขณะนี้ทุกคนตั้งใจรอ

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ระทึกไปอีก "แอร์ปูซาน" บินวนก่อนลงจอด เครื่องตรวจจับระบบล้อมีปัญหา
แอร์ปูซานของเกาหลีใต้บินวนหลังอุปกรณ์ตรวจจับล้อมีปัญหา
"น.1" แจงปมร้อน เรียกรับผลประโยชน์ เป็นข้อมูลเก่า ไขน็อตสั่งสอบตำรวจในสังกัด
อุทาหรณ์ "เด็ก ป.4" เล่นเศษประทัด โชคร้ายเกิดระเบิดใส่หน้า หวิดตาบอด
"คารม" เผย ครม.เคาะเพิ่ม "เงินสงเคราะห์บุตร" 1,000 บาท พร้อมเปิดขั้นตอนลงทะเบียน
"ผู้เสียหายดิไอคอน" ยื่นค้านการประกันตัว 18 บอส ก่อนที่จะครบกำหนดฝากขัง
เมืองไทยประกันภัย คว้า Set ESG Rating ระดับ AA ในปี 2567 ตอกย้ำการดำเนินงานด้วยแนวทางแห่งความยั่งยืน
"ญาญ่า อุรัสยา" ลุคสุดปัง พร้อม "เครื่องแต่งกาย-เครื่องประดับ" สำหรับผู้หญิง ในงาน Louis Vuitton SS25 กรุงปารีส
กรมส่งเสริมสหกรณ์ ขานรับนโยบาย รมว.เกษตรฯ เปิดรับสมัครทุนเรียนฟรีแก่ทายาทสหกรณ์ มุ่งสานต่ออาชีพพระราชทาน “เลี้ยงโคนม”
ปรากฏการณ์ ‘แสงเหนือ’ สีสันสุดโรแมนติกที่จีน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น