‘ดร.อนันต์’เผยผลวิจัย “วัคซีนเข็ม 3″ยังไม่พอ เมื่อเจอ “โอมิครอน”

'ดร.อนันต์'เผยผลวิจัย "วัคซีนเข็ม 3"ยังไม่พอ เมื่อเจอ "โอมิครอน"

วันที่ 10 ธ.ค. 2564  ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ว่า ทีมวิจัยที่เมือง Cape town ของแอฟริกาใต้แสดงข้อมูลของผู้ป่วยชาวเยอรมัน 7 คน (ชาย 2 หญิง 5) อายุเฉลี่ย 27.7 ปี (25-39 ปี) ที่ติดไวรัสโอมิครอน (ยืนยันด้วย sequencingแล้ว) ในขณะพำนักอยู่ในประเทศแอฟริกาใต้ โดยผู้ป่วยทั้ง 7 คน ได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม โดย 5 คนได้ PZ 3 เข็มแล้ว โดยเข็มที่ 3 ได้ประมาณช่วง ตุลาคม-ต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ส่วนอีก 1 คนได้เข็ม PZx2 และ เข็มสามเป็น MDN เต็มโดสตั้งแต่ 3 ตุลาคม และ อีก 1 คนได้เข็มไขว้ AZ-PZ และ ได้เข็มสามเป็น PZ วันที่ 26 ตุลาคม โดยสรุปคือ ทุกคนได้เข็มกระตุ้นมาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนที่จะมีการระบาดของโอมิครอนในเมืองนี้ของแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นสภาวะที่ภูมิหลังเข็มสามยัง active เต็มที่

ทั้ง 7 คน มีอาการป่วยเล็กน้อยถึงปานกลาง ไม่จำเป็นต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล อาการที่เห็นชัดในผู้ป่วยคือ ไอแห้ง เจ็บคอ เยื่อบุจมูกอักเสบ หายใจไม่สะดวก อ่อนเพลีย เมื่อตรวจปริมาณไวรัสในตัวอย่างของผู้ป่วยแต่ละคน พบว่า ไวรัสในตัวอย่างมีปริมาณค่อนข้างสูง 1.41 x 10e4 ถึง 1.65 x 10e8 (เฉลี่ย 4.16 x 10e7 copies/ml) ซึ่งพบว่าจุดสูงสุดของไวรัสคือ วันที่ 4 หลังแสดงอาการ ถ้าเทียบดูปริมาณไวรัสโดยเฉลี่ยของโควิดโดยทั่วไปคือ 6.76 x 10e5 copies/ml ที่ 5 วันหลังมีอาการ ทำให้อาจเป็นไปได้ที่ โอมิครอนจะสามารถเพิ่มจำนวนได้ดีกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม แต่ข้อมูลยังน้อยเกินไปที่จะสรุปในตอนนี้
ที่น่าสนใจคือ ผู้ป่วยที่ 6 ใน 7 คน มีค่าแอนติบอดีในเลือดที่วัดในหน่วย AU/ml สูงเกินหมื่นทุกคน ผู้ป่วยรายที่ 2 ที่มีปริมาณไวรัสสูงสุดเป็นผู้ที่มีแอนติบอดีสูงถึงมากกว่า 40000 AU/ml ซึ่งชัดว่าปริมาณแอนติบอดีสูงๆด้วยการวัดวิธีนี้ไม่สามารถอนุมานต่อได้ว่าจะป้องกันการติดเชื้อโอมิครอนได้
ข้อมูลชุดนี้บอกว่า ภูมิจากเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนในปัจจุบันคงจะไม่เพียงพอต่อการป้องกัน “การติดเชื้อ” เข้าสู่ร่างกายของไวรัสโอมิครอน แต่ที่ชัดเจนคือ “อาการหลังติดเชื้อไม่หนัก” และ สามารถรักษาตัวเองให้หายได้ในเวลาไม่นาน ปริมาณไวรัสที่อยู่ในร่างกายของผู้ป่วยเหล่านั้นไม่น้อยและแพร่กระจายได้ การรับมือกับโอมิครอนคงจะพึ่งวัคซีนอย่างเดียวไม่ได้ครับ เครื่องมืออื่นๆคงต้องพร้อม

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สมาคมกีฬาเอ็กซ์ตรีมฯ เตรียมจัดมหกรรม "ไทยแลนด์ เอ็กซ์ตรีม เฟส 2025" คัดยอดฝีมือเสริมทีมชาติ
"อนุทิน" ถึงน้ำตาคลอตาม มอบเงินเยียวยาทายาทผู้เสียชีวิต เหตุตึกสตง.ถล่ม
"ดร.พิชาย"สวนคำ"อดีตผู้ว่าสตง."เหตุอาคารถล่ม ไม่เกี่ยวฮวงจุ้ย แต่มันคือความพังทลายจริยธรรมการใช้อำนาจ
"ผบ.ตร." ลั่นผมไม่มีญาติแบบนี้ ซัด"ลูกนายกเบี้ยว" โอ้อวดโชว์สนิทเรียก "อาต่าย"
เปิดใจญาติห่วง "ลุงประจักษ์" เหยื่อ BMW หวั่นอาการแย่ เพราะป่วยเป็นโรคหัวใจโต
"เพจดังชมรม STRONG ต้านทุจริต" แฉสภาพเพดาน-คาน-ปล่องลิฟท์ตึก สตง. เทคอนกรีตไม่เต็ม รูโบ๋
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนเร่งปฏิรูปวงการประกันภัยและธนาคารด้วย AI .
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนสร้างสถิติ 'ชาอัดก้อน' หนักสุดในโลก
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนผลักดันเกษตรทันสมัยด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยี .
"ดีเอสไอ-โยธาฯ" ประชุมลับ ตรวจเอกสารหลังเข้าค้น กิจการร่วมค้า 4 บริษัท ด้านวิศวกร 2 คน ขอให้ข้อมูลเป็นการส่วนตัว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น