นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์กรณีการลดโทษให้ผู้ต้องขังคดีจำนำข้าวนั้น ว่า ตนจะขอพูดเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่ คณะกรรมการอิสระ ที่พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อตรวจสอบในกระบวนการ และการจัดชั้นนักโทษ รวมถึงให้ทำหน้าที่เสนอแนะว่าควรจะกำหนดหลักเกณฑ์อะไร อย่างไร จะมีมติออกมาซึ่งตนยังไม่ทราบกรอบระยะเวลาในการดำเนินงาน
โดย พรฎ.อภัยโทษ ที่ตนดำเนินการในสมัยที่เป็นรัฐมนตรีอยู่ขณะนี้มี 4 ครั้ง ซึ่งตนไม่ได้เปลี่ยนแปลงในหลักการเดิมของรัฐมนตรีคนก่อน กระแสข่าวที่บอกว่าแตกต่างไม่มีอย่างแน่นอน ส่วนกรณีที่มีการพิจารณาพักโทษในส่วนของคดีทุจริตจำนำข้าวยังไม่มีการพิจารณาพักโทษใด ๆ ตัวบุคคลยังอยู่ในเรือนจำ มีการปล่อยข่าวสร้างความไขว้เขวทำลายความน่าเชื่อถือ และการขอพระราชทานอภัยโทษไม่มีบัญชีแนบท้ายว่าใครจะได้เท่าไหร่เป็นการปฎิบัติในหน้าที่ การพิจารณาการลดโทษเป็นอำนาจหน้าที่ของข้าราชการ ตั้งแต่ผบ.เรือนจำขึ้นมาและ ในส่วนของการเมืองไม่ได้เข้าไปยุ่งและไม่มีอำนาจในเรื่องดังกล่าว นายสมศักดิ์ยืนยันว่าตนเองดำเนินการทุกส่วนถูกกฎหมายและย้ำว่า ขอตอบในเรื่องนี้เป็นครั้งสุดท้ายเพื่อให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการที่นายกจัดตั้งขึ้น
โดยก่อนที่จะให้สัมภาษณ์ในประเด็นดังกล่าว นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงานประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางการดำเนินงานตามกระบวนกฎหมายยาเสพติด โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ผู้ทรงคุณวุฒิศาลยุติธรรมสำนักงานอัยการสูงสุดสำนักงานตำรวจแห่งชาติกรมพระธรรมนูญและสำนักงาน ป.ป.ส. เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนและกำหนดแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐานการตรวจสอบทรัพย์สินและการวิเคราะห์ทรัพย์สินคดียาเสพติดเพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ชัดเจนใช้ในการยึดทรัพย์และตัดกระบวนการลักลอบยาเสพติด
นายสมศักดิ์ ระบุว่า ระหว่างนี้อยู่ในรอยต่อของการยกเลิกกฎหมาย 24 ฉบับและตั้งประมวลกฎหมายยาเสพติดขึ้นมาฉบับเดียวและได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 ธันวาคม 2554 ซึ่งมีการพิจารณาอัตราโทษที่แตกต่าง โดยกฎหมายเก่าเน้นการจับกุมและปริมาณอัตราโทษแต่กฎหมายฉบับใหม่มีการดูถึงพฤติกรรมและตัดวงจรยาเสพติดและหาก เป็นบรรทัดฐานเดียวกันแล้วเป้าหมายที่รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีก็จะชัดเจน
และมีตัวชี้วัดได้ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท ในปี2565 และมีการวางกรอบไว้ 5 ด้านคือการกำหนดนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกันปราบปรามแก้ไขปัญหายาเสพติดการจัดโครงสร้างและกลไกในการบริหารจัดการปัญหา / กำหนดนโยบายตัวยาเสพติดนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และเศรษฐกิจอย่างเหมาะสม / มองปัญหาผู้เสพและผู้ติดยาเสพติดในมิติของปัญหาด้านสาธารณสุขและสุขภาพมากยิ่งขึ้นมิใช่ถือว่าเป็นปัญหาทางอาชญากรรมอย่างเดียว/วางกรอบการลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่ได้รับสัดส่วนและความเหมาะสมกับความร้ายแรงของการกระทำความผิด /มุ่งเน้นต่อการทำลายโครงสร้างและเครือข่ายค้ายาเสพติดที่สำคัญ โดยมีการติดตามบูรณาการต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากการยึดทรัพย์จะต้องมีการดูเรื่องคดีมาตราการสมคบ/ฟอกเงิน/และภาษี เป็นตัวชี้วัดให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการซึ่งจะต้องมีการทำงานที่โปร่งใส่ ชัดเจน หรือดำเนินการถึงที่สุดด้วยเพื่อให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกันโดยไม่เลือกปฎิบัติ
ในส่วนของประมวลกฎหมายไม่ผูกพันกับคดีอาญาแต่สามารถยึดทรัพย์ได้นั้นนายสมศักดิ์ขยายความว่า การ ในกฎหมายใหม่หาก จำเลยรอดพ้นจากการพิจารณาของศาลในขั้นตอนสุดท้ายคดีทรัพย์ก็ยังดำเนินการได้แตกต่างจากฎหมายฉบับเดิมที่ต้องคืนทรัพย์สินและยึดได้ไม่เกินปีละ 600 ล้านบาท โดยจะให้ ป.ป.ส.เป็นทำงานนำหน้าในช่วง 2 ปีเนื่องจากเป็นกฎหมายใหม่และต้องมีการประสานงานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บูรณาการเป็นแนวทางเดียวกัน