อธิบดีราชทัณฑ์ มีหนังสือด่วนที่สุด เตรียมยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ผู้ต้องขังกลุ่มเปราะบาง เพื่อลดความแออัดในเรือนจำ

อธิบดีกรมราชทัณฑ์เผย Top News เตรียมยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ผู้ต้องขังกลุ่มเปราะบางจริง เพื่อลดความแออัดในเรือนจำ

มีรายงานว่า กรมราชทัณฑ์ ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ถึง เรือนจำทัณฑสถานทั่วประเทศ จากสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรนา (COVID19) เกิดขึ้นและลุกลามไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย และลุกลามเข้าไปเรือนจำ/ทัณฑสถาน ซึ่งเป็นจุดที่อ่อนไหวเนื่องจากมีจำนวนผู้ต้องขังถูกคุมขังอย่างหนาแน่น อาจเกิดอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของผู้ต้องขัง และสร้างปัญหาให้แก่เรือนจำ/ทัณฑสถานอยู่ในปัจจุบัน

เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรมราชทัณฑ์จะได้ดำเนินการขออภัยโทษเป็นการเฉพาะรายให้แก่นักโทษเด็ดขาดกลุ่มเปราะบาง สุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเป็นอันตรายแก่ชีวิต จึงขอให้เรือนจำ ทัณฑสถาน สำรวจจำนวนนักโทษเด็ดขาดตามลักษณะที่กำหนดดังต่อไปนี้

1.นักโทษเด็ดขาดที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (นับถึงวันที่ 20 พ.ค.64) และมีโรคประจำตัว
2.นักโทษเด็ดขาดที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป (นับถึงวันที่ 20 พ.ค.64)
3.นักโทษเด็ดขาดที่มีสภาพร่างกายพิการ โดยตาบอดทั้งสองข้าง มือหรือเท้าด้วนทั้งสองข้างหรือแพทย์ให้การรับรองว่าเป็นบุคคลทุพพลภาพพ
4.นักโทษเด็ดขาดที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง(เอดส์) และโรคจิต
5.นักโทษเด็ดขาดที่เป็นโรคอื่นๆ ซึ่งแพทย์ให้การรับรองว่าไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และล่อแหลมต่อการติดโรค
6.นักโทษเด็ดขาดซึ่งแพทย์ให้การรับรองว่าเป็นผู้ป่วยติดเตียง

โดยให้แจ้งจำนวนนักโทษเด็ดขาดซึ่งมีลักษณะดังกล่าว ไปยังกรมราชทัณฑ์โดยด่วน ภายในวันที่ 21 พ.ค.64 และส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่นหมายจำคุก หมายลดโทษ และใบรับรองแพทย์ พร้อมรายงานให้กรมราชทัณฑ์ทราบภายในวันที่ 25 พ.ค.2564

ทีมข่าว Top News ได้สอบถามเรื่องนี้ไปยัง นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้รับการเปิดเผยว่า เป็นเรื่องจริง ซึ่งเป็นการขอพักการลงโทษเป็นกรณีพิเศษ สำหรับกลุ่มเปราะบาง จากเดิมการพิจารณาคุณสมบัติการพักโทษอาจมีข้อจำกัดบางประการ แต่ตอนนี้ก็จะปลดล็อกข้อจำกัดบางอย่างออกไป เพื่อที่จะได้มีจำนวนผู้ได้รับการพักโทษเพิ่มขึ้น ขณะนี้กำลังร่างหนังสือเพื่อเตรียมเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมอนุมัติเห็นชอบ

สำหรับข้อกังวลของประชาชนเรื่องการปล่อยนักโทษออกมาสู่สังคมนั้น ต้องแบ่งเป็น 2 ประเด็น คือคนอาจกังวลเรื่องเชื้อโควิด ต้องชี้แจงว่ามีระบบการส่งต่อของผู้พักการลงโทษ ถ้าเป็นผู้ติดเชื้อกลุ่มสีเขียวก็จะถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลสนาม อีกข้อกังวลของประชาชนคือเรื่องของการก่อคดีอาชญากรรมนั้น ในระหว่างที่ผู้ต้องขังอยู่ในเรือนจำ แต่ละคนจะได้รับการพัฒนาทักษะต่างๆ ทั้งการศึกษา การฝึกอาชีพ การอบรมบ่มนิสัย เพื่อให้พร้อมกลับคืนสู่สังคม ขณะเดียวกันทางกรมราชทัณฑ์ได้ประสานกับกรมพัฒนาชุมชน กรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เพื่อให้ผู้พักโทษได้มีงานทำ อีกทั้งผู้พักโทษเป็นผู้ที่ถูกคุมความประพฤติ ดังนั้นจะต้องมีการเข้ารายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติในพื้นที่ของตัวเองตามกำหนดอยู่แล้ว ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าจะไม่มีการละเมิดเงื่อนไขการคุมประพฤติ

ซึ่งทางราชทัณฑ์จะส่งรายชื่อผู้พักโทษให้กับทางกระทรวงมหาดไทย และท้องถิ่นรับทราบด้วยว่าผู้พักโทษกำลังจะกลับไปในพื้นที่แล้ว ส่วนเคสที่เป็นคดีสำคัญ เชื่อว่าคณะกรรมการพิจารณาการพักโทษคงไม่อนุมัติอยู่แล้ว ยืนยันว่ามีการคัดกรองเป็นอย่างดี ส่วนตัวเลขผู้ที่เข้าเกณฑ์ได้รับการพักโทษเบื้องต้นคาดว่าประมาณ 2-3 พันคน อย่างไรก็ตาม ย้ำว่ามาตรการนี้เป็นมาตรการแก้ไขปัญหานักโทษล้นคุก ลดความแออัด ส่วนการป้องกันการก่ออาชญากรรมนั้นคงจะต้องร่วมกันทุกฝ่ายในสังคม

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น