สธ. เน้นย้ำตรวจ ATK ก่อนร่วมเคาท์ดาวน์

สธ. เน้นย้ำตรวจ ATK ก่อนร่วมเคาท์ดาวน์

เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวอัพเดตสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในไทยว่า วันพรุ่งนี้ (27 ธ.ค.) ช่วงเช้าในการประชุมอีโอซีกระทรวงสาธารณสุข จะมีการหารือถึงประเด็นต่างๆ รวมถึงมาตรการรับมือโควิด-19 และช่วงบ่ายจะมีการแถลงข่าวอัพเดตการระบาดโควิด-19 หลังปีใหม่ ซึ่งจะเป็นการคาดการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อเทียบกับการปฏิบัติตามมาตรการที่แตกต่างกันออกไป เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน โดยปกติเราจะทำใน 3 ฉากทัศน์คือ 1.สถานการณ์แย่ที่สุด (Worst Case Scenario) 2.ฉากทัศน์ที่เป็นไปได้ (Plausible Scenario) และ 3.ฉากทัศน์ที่ดีที่สุด (Best Case Scenario) เพื่อดูว่าหากจะให้สถานการณ์ดีที่สุด ต้องทำอะไรบ้าง ปานกลางต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้เราออกมาตรการออกมาเป็นแนวทางให้ประชาชน

ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำลังรวบรวมข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสของสัปดาห์ล่าสุด ซึ่งจะอัพเดตตัวเลขผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน และคลัสเตอร์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ (27 ธ.ค.) พร้อมกับการแถลงฉากทัศน์ ทั้งนี้ย้ำว่าสถานการณ์ล่าสุดข้อมูลจากประเทศอังกฤษที่ติดโอมิครอนเป็นแสนราย แต่อัตราเสียชีวิตไม่มาก แต่ข้อสรุปเบื้องต้นคือ แพร่เร็วแน่นอนส่วนคนที่เคยติดเชื้ออื่นหรือได้รับวัคซีนป้องกันมาแล้วก็แพร่ได้ แต่วัคซีนช่วยไม่ให้อาการรุนแรงได้

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า ในปีใหม่ประชาชนเดินทางกันมากขึ้น มีการเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น ดังนั้นคำแนะนำที่สำคัญคือ การคัดกรองตัวเองด้วยชุดตรวจ ATK สร้างความปลอดภัยได้ระดับหนึ่ง แต่ก็มีข้อจำกัดในตัวเอง หากตรวจไม่ถูกวิธี ตรวจในวันแรกๆ เชื้อน้อยๆ ตามหลักความจริงก็คือ อาจจะหาไม่เจอ ยังไงก็ต้องระวัง แต่ไม่อยากให้ยึดเป็นสรณะ เพราะ การตรวจครั้งแรกเป็นลบ แต่ต้องมีการตรวจซ้ำใน 3-5 วันถัดไป ระหว่างนั้นก็ต้องป้องกันตัวเอง หากมีความเสี่ยงก็ควรแยกตัวออกจากผู้อื่นให้มากที่สุด แต่สำหรับคนที่มีการตรวจเป็นซีเรียล คือตรวจบ่อยทุกๆ 3-5 หรือ 7 วันถือเป็นสิ่งที่ดี ตรวจได้บ่อยก็ยิ่งดี ซึ่งตอนนี้หาซื้อได้ง่ายและมีราคาถูกลง สิ่งที่เน้นย้ำคือ การเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ ต้องมีความถูกต้อง ปั่นไม้ที่จมูกต้องปั่นข้างละ 5 รอบ ให้ติดน้ำมูกที่อยู่ตรงเพดานจมูก ไม่ใช่ปั่นแล้วไม่โดน เวลาตรวจก็อาจจะไม่เจอเชื้อได้

“หลักทางระบาดไม่ว่าจะเครื่องมือใดก็ตาม หากช่วงที่ภาพรวมการติดเชื้อต่ำ ก็จะหาไม่เจอ จะมีผลลบปลอม(false negative) เยอะ แต่หากตอนที่ติดเชื้อสูง มันก็ช่วยได้ อย่างตอนที่เราติดเชื้อเป็นหมื่นราย ตรวจ ATK ก็เจอผลบวกเยอะ แต่เมื่อติดเชื้อวันละ 2 พัน ภาพรวมก็เหลือ 1-2% ก็จะหาไม่ค่อยเจอ ซึ่งเป็นหลักระบาดทั่วไป” นพ.ศุภกิจ กล่าว

เมื่อถามว่าประชาชนควรจะตรวจ ATK ในช่วงไหน ก่อนการเดินทางหรือเข้าร่วมกิจกรรม นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ประเด็นนี้ก็มีคนถามเยอะว่า หากจะต้องเดินทางวันนี้ จะต้องเมื่อไหร่ ซึ่งอธิบายตามหลักการคือ หากจะเข้าร่วมกิจกรรมกับใคร ก็ขอผลตรวจให้ล่าสุดจะดีที่สุด ส่วนการเดินทางกลับมาจากภูมิลำเนา หรือหลังเข้าร่วมกิจกรรม ก็แนะนำว่าตรวจซ้ำได้ เพราะ ATK ราคาถูก หากมีความเสี่ยงก็ตรวจบ่อยทุก 3 วันก็ได้

“สมมติว่าจะดูคอนเสิร์ตเย็นนี้ ให้ตรวจก่อนเข้างานก็ดีที่สุด ไม่ใช่ว่าตรวจ 3-5 วันที่แล้ว แล้วเอาผลมาขอเข้างาน แบบนี้ก็อาจผิดพลาดได้เยอะ ดังนั้นหากจะตรวจครั้งเดียวให้เอาผลล่าสุด แต่หากตรวจเป็นระยะ เป็นซีเรียล ATK อันนี้ไม่เป็นไร ตรวจบ่อยแค่ไหน ก็ดีมากขึ้นเท่านั้น” นพ.ศุภกิจ กล่าว

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เปิดตัว "TKR Connect" แพลตฟอร์มจัดหางานครบวงจร สร้างมิติใหม่รองรับแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกม.
ออกหมายจับ "หมอบุญ" พร้อมพวกรวม 9 คน “ฉ้อโกง-ฟอกเงิน” ปลอมลายเซ็นอดีตลูกสะใภ้กู้เงิน 8 พันล้าน
ระทึกกลางดึก ไฟไหม้ "ร้านกาแฟ" เผาวอดทั้งหลัง เสียหายกว่า 7 แสนบาท
"อุตุฯ" เผย "เหนือ-อีสาน-กลาง" อากาศเย็นตอนเช้า เตือนใต้ยังรับมือฝนตก
แม่ทัพภาคที่ 2 ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัวกำลังพล ห่วงใยไปถึงบ้าน เพราะเราคือครอบครัวกองทัพบก
สวนนงนุชพัทยาเปิดเวที CHONBURI PROUD EXPO 2024 หนุน SMEs ชลบุรีสู่ตลาดโลก
“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น