อย่าแชร์ ข่าวปลอม! รัฐบาลให้สิทธิพิเศษ “ศาสนาอิสลาม” มากกว่า “ศาสนาพุทธ”

อย่าแชร์ ข่าวปลอม! รัฐบาลให้สิทธิพิเศษ "ศาสนาอิสลาม" มากกว่า "ศาสนาพุทธ"

ตามที่มีการส่งต่อข่าวสารในประเด็นเรื่องรัฐบาลให้สิทธิพิเศษศาสนาอิสลามมากกว่าศาสนาพุทธทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีการส่งต่อข้อความโดยระบุว่าไม่มีความเท่าเทียม อิสลามมีธนาคารปลอดดอกเบี้ย มีสิทธิ์บินไปต่างประเทศฟรีด้วยงบของรัฐ และสร้างมัสยิดด้วยภาษีชาวพุทธ ทางกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยได้ตรวจสอบและชี้แจงแต่ละประเด็นว่า

1. ประเด็นศาสนาอิสลามมีธนาคารอิสลามที่ปลอดดอกเบี้ย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 และเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง

2. ประเด็นศาสนาอิสลามมีตราฮาลาลที่เก็บเงินปีละสามแสนล้านบาท การรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาล
เป็นการรับรองเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลามซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดตามมาตรา 18 (6) หรือ (9) หรือมาตรา 26 (13) แห่ง พ.ร.บ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540

3. ประเด็นการเดินทางไปราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียด้วยงบประมาณของรัฐ สำหรับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ของชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลาม เป็นเงินส่วนตัวของผู้เดินทางทั้งสิ้นประกอบด้วยค่าบัตรโดยสารค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่ารถโดยสาร และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เป็นต้น โดยมิได้มีงบประมาณของราชการสนับสนุนแต่อย่างใด

4. ประเด็นการสร้างมัสยิดด้วยภาษีของชาวพุทธ มัสยิดเป็นศาสนสถานใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเช่นเดียวกับศาสนสถานในศาสนาอื่น ซึ่งการสร้างมัสยิดเกิดจากความเชื่อความศรัทธาโดยการบริจาค (วากัฟ)
ทั้งที่ดินและเงินที่ใช้ในการก่อสร้าง รัฐบาลจึงไม่มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการสร้างมัสยิดเป็นการทั่วไปแต่อย่างใดและการสร้างมัสยิดทั่วไปต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน พ.ร.บ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540

5. ประเด็นที่อิหม่ามมีเงินเดือนเหมือนข้าราชการ อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น เป็นผู้นำทางศาสนาอิสลามมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ดังนั้น จึงมีการกำหนดค่าตอบแทนให้แก่ผู้นำทางศาสนาโดยเบิกจ่ายตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัด อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552

6. ประเด็นศาสนาอิสลามมีกฎหมายคุ้มครอง จำนวน 7 ฉบับ ขอเรียนว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารศาสนาอิสลามมี 4 ฉบับ ดังนี้

1. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ. 2488

2. พระราชบัญญัติมัสยิด พ.ศ. 2490

3. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2491

4. พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 ซึ่งปัจจุบันกฎหมาย ตามข้อ 1. – 3. ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว โดยผลของกฎหมายตามข้อ 4. และ 5. พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. 2524

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย สามารถติดตามได้ที่ www.dopa.go.th/main/web_index หรือโทร 1567

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : รัฐบาลไม่ได้ให้สิทธิพิเศษใดกับศาสนาอิสลาม รัฐบาลไม่มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการสร้างมัสยิด รวมถึงธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยก็เป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง อีกทั้งการเดินทางไปราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์นั้นเป็นเงินส่วนตัวของผู้เดินทางทั้งสิ้น โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารศาสนาอิสลามมี 4 ฉบับ มิใช่ 7 ฉบับตามที่กล่าวอ้าง

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น