สธ.เตรียมรับมือ โควิดระบาดระลอก 5 ห่วงบางจังหวัดยังฉีดวัคซีนน้อย

สธ.เตรียมพร้อมยา-เตียง-ความพร้อมสายด่วน รับมือโควิดระบาดระลอก 5 ห่วงจังหวัดฉีดวัคซีนน้อย

ที่กรมการแพทย์ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงมาตรการด้านการแพทย์รองรับสถานการณ์โควิด-19 ว่า ดร.สันต์ ศรีอรรฆ์ธำรง อาจารย์พิเศษคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า ซึ่งทำงานร่วมกัน ได้รายงานสถานการณ์การติดเชื้อโควิดขึ้นเร็วมาก และมาเร็วกว่าที่คาดการณ์ กราฟค่อนข้างชัน เป็นระลอกที่ 5 ขณะนี้เข้าสู่การระบาดระลอกใหม่แล้ว เพราะยังมียอดตรวจ ATK เป็นบวก 3,000 กว่าราย วันนี้ที่กลัวคือจังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนน้อย อย่างไรก็ตามเชื้อโอมิครอนยืนยันว่าอาการไม่มาก โดยจากการรักษาคนติดโอมิครอนในไทย 100 ราย มี 7 คนเชื้อลงปอด แต่ไม่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ ไม่ต้องใส่ออกซิเจนไฮโฟลว์ ส่วนใหญ่พบไอ 54% เจ็บคอ 37% มีไข้ 29% ปวดกล้ามเนื้อ 15% มีน้ำมูก 12% ปวดศีรษะ 10% หายใจลำบาก 5% ได้กลิ่นลดลง 2% พบครึ่งหนึ่งมีอาการ ครึ่งหนึ่งไม่มีอาการ ดังนั้นจากนี้การตรวจวัดไข้ก่อนเข้าสถานที่ต่างๆ นั้นไม่ได้ผลแล้ว ขอให้คัดกรองอย่างอื่นด้วย นอกจากนี้ อาการของผู้ติดเชื้อโอมิครอนแยกได้ยากกับโรคหวัดทั่วไป ดังนั้นใครที่มีอาการหวัดขอให้ตรวจ ATK และไม่พบปะผู้อื่น

นายแพทย์สมศักดิ์ ยืนยันยาฟาวิพิราเวียร์มีประสิทธิภาพ รักษาโรคโควิดสายพันธุ์อื่นๆ โดยคนเริ่มมีอาการได้รับยา 3 วันอาการดีขึ้น ทั้งนี้ หากตัวเลขผู้ติดเชื้อเป็นไปตามที่กรมควบคุมโรคคาดการณ์ ในกรณีหนักสุดติดเชื้อวันละ 30,000 รายนั้นยังรับไหว ซึ่งขณะนี้เราเตรียมเตียงดูแลผู้ติดเชื้อทุกระดับ 52,300 เตียง โดยในรอบนี้จะเน้นการรักษาที่บ้าน หรือ Home Isolation และศูนย์ดูแลในชุมชน หรือ Community Isolation และประสานเข้าระบบผ่าน 1330 ซึ่งจะดำเนินการจับคู่โรงพยาบาลให้ และประเมินอาการควรอยู่ที่บ้านหรือส่งต่อรักษาในโรงพยาบาล รับประกันภายใน 6 ชั่วโมง จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ หากคลินิกไหนทำไม่ได้จะดำเนินการถอดออกจากระบบการดูแล แต่หากอาการหนักให้โทร.1669 เพื่อรับส่งต่อรักษาในโรงพยาบาล ขณะนี้ นายแพทย์เกียรติถูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เตรียมศูนย์ประสานงานในทุกจังหวัดไว้แล้ว

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่ารอบนี้จะเกิดการระบาดในเด็กเยอะ เพราะเด็กยังไม่ได้ฉีดวัคซีน แต่ย้ำว่าเด็กติดได้แต่อาการไม่รุนแรง หากไม่มีโรคประจำตัว ขณะนี้มีการประสาน กทม.ให้จัดทำเตียง ศูนย์ดูแลในชุมชน สำหรับเด็กและครอบครัวเอาไว้ 6 โซน โซนละ 1 แห่ง แห่งละอย่างน้อย 50 เตียง และ 1 ห้องเด็กอยู่ร่วมกัน 3-4 คน มีพื้นที่ให้ทำกิจกรรมได้ พร้อมทั้งมอบสถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชราชินี ในการเตรียมยาน้ำฟาวิพิราเวียร์สำหรับเด็กทั่วประเทศ โดยโรงพยาบาลแต่ละแห่งสามารถทำได้เอง ไม่ต้องสำรอง พร้อมทั้งจัดหมอเด็กเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้ด้วย นอกจากนี้ยังเตรียมศูนย์ดูแลในชุมชนสำหรับแรงงานต่างด้าวด้วย โซนละ 1 แห่ง แห่งละประมาณ 100 เตียง

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น