“ทนายเชาว์” แนะ สังคายนา รปภ.ทั่วประเทศ ไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ

“ทนายเชาว์” ชี้ บชน.ต้องตอบคำถาม ทำไมออกใบอนุญาตให้ “มนตรี” เป็นรปภ. แนะ ควรสังคายนา รปภ.ทั่วประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ

วันที่ 6 ม.ค.2565 นายเชาว์ มีขวด ทนายความ และอดีตรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก ข้อความว่า บชน.ต้องตอบคำถาม ทำไมออกใบอนุญาตให้ “มนตรี” เป็นรปภ. จากกรณีนายมนตรี ใหญ่กระโทก หัวหน้า รปภ.ข่มขืนลูกบ้านคอนโดมิเนียม ที่กำลังเป็นข่าวที่สังคมให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้ หลายคนพูดถึงเรื่องข้อกฎหมายไปแล้วว่า ตำรวจมีอำนาจที่จะเข้าสถานที่เกิดเหตุได้ รปภ.ที่ขัดขวางจนทำให้เกิดความล่าช้า กระทั่งผู้ก่อเหตุหลบหนีไปได้ มีความผิดฐานขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน รวมถึงระเบียบของนิติบุคคลไม่สามารถอยู่เหนือกฎหมายได้ แต่เรื่องที่ยังไม่มีการพูดถึงกันมากนักคือ การออกใบอนุญาตให้นายมนตรี เป็น รปภ. ทั้ง ๆ ที่เคยติดคุกคดีข่มขืน ออกมาได้อย่างไร

นายเชาว์กล่าวอีกว่า เรื่องนี้มีคนต้องรับผิดชอบอย่างน้อย 2 หน่วยงานคือ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งตามกฎหมายธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ.2558 มาตรา 4 กำหนดให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นนายทะเบียนกลาง มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยยังเป็นผู้ออกใบอนุญาตพนักงานรักษาความปลอดภัยด้วย ซึ่งกรณีของนายมนตรี ได้รับใบอนุญาตวันที่ 28 พ.ย.2562 สิ้นอายุวันที่ 28 พ.ย.65 มี พล.ต.ต.ธิติ แสงสว่าง รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ปฏิบัติราชการแทน ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นผู้ลงนามในฐานะนายทะเบียน ทำให้เกิดคำถามว่าเหตุใดไม่มีการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของนายมนตรี เพราะหากทางนครบาลมีการตรวจสอบเรื่องนี้ นายมนตรีจะไม่มีทางได้รับใบอนุญาตเป็น รปภ.โดยเด็ดขาด เนื่องจากมีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 34 ข.(3) ที่บัญญัติว่า ผู้ที่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก สำหรับความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หรือความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามประมวลกฎหมายอาญาฯ จะเป็น รปภ.ไม่ได้

ทนายเชาว์กล่าวอีกว่า ตนคิดว่าทางนครบาลต้องมีคำชี้แจงในเรี่องนี้ เพราะหากไม่เกิดข้อบกพร่องในการตรวจสอบประวัติ จนปล่อยคนโฉดเข้าสู่แวดวงรักษาความปลอดภัย เหตุการณ์นี้ก็คงไม่เคยเกิดขึ้น และเราไม่รู้เลยว่าจะมีคนที่มีประวัติอาชญากรรม หลุดเข้าไปเป็นรปภ.อีกหรือไม่ ใช้โอกาสนี้สังคายนา ตรวจสอบ รปภ.ทั่วประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ ใครมีประวัติอาชญากรรม ต้องเพิกถอนใบอนุญาตทันที อย่าให้เรื่องหายไปกับสายลม โดยไม่มีการถอดบทเรียนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาใหม่ ขณะเดียวกัน บริษัทรปภ.ที่นายมนตรีสังกัด ก็ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย เพราะมีความบกพร่องไม่ตรวจสอบประวัติอาชญากรรม จนทำให้คนของตนเองก่อเหตุร้าย ต้องรับผิดทางแพ่ง ในการเข้าไปช่วยเหลือเยียวยาเหยื่อที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น