“นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ” อธิบายชัด ทำไมราคาหมูถึงแพง?

"นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ" อธิบายชัด ทำไมราคาหมูถึงแพง?

ปัญหาราคาหมูแพงตั้งแต่ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ลากยาวมาจนถึงขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อประชาชนทุกย่อมหญ้า ทั้งภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจ เพราะจากเดิมราคาหมูหน้าเขียงไม่เกิน 120 บาทต่อกิโลกรัม ก็ปรับสูงขึ้นมากว่า 220-250 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ คาดการณ์ว่า ราคาหมูมีโอกาสที่จะทะลุ 300 บาทต่อกิโลกรัม ภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้

สำหรับสาเหตุที่ทำให้ราคาหมูแพงในช่วงนี้ นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ได้ชี้ชัดๆว่า สาเหตุมาจาก
1.ปริมาณผลผลิตหมูในตลาดปรับลดลง 50% จากปริมาณการบริโภคเฉลี่ยวันละ 40,000 ตัว ส่วนสาเหตุหลักที่ทำให้ปริมาณหมูลดลง มาจากโรคระบาดในหมูหลายโรค ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตหมูมา 2 ปีแล้ว

2.ต้นทุนการเลี้ยงจากราคาอาหารสัตว์ปรับสูงขึ้นกว่า 30% ทั้งวัตถุดิบข้าวโพด-กากถั่วเหลือง-มันสำปะหลังปรับสูงขึ้นหมด ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงเฉพาะค่าอาหารเฉลี่ย 8,000 บาทต่อกิโลกรัม

3.ต้นทุนแฝงจากการป้องกันโรคระบาดหมูเพิ่มขึ้นมาอีกเฉลี่ย 500 บาทต่อตัว ส่งผลให้ผู้เลี้ยงหมูต้องหยุดการเลี้ยงไปกว่า 80-90% คิดเป็นสัดส่วนการเลี้ยงของรายย่อย 20% ของทั้งประเทศ ขณะที่รายใหญ่เลี้ยงอยู่ประมาณ 80%

ล่าสุดรัฐบาลได้คลอดมาตรการออกมาแก้ปัญหาราคาหมูแพงแล้ว โดยมีทั้งมาตรการระยะเร่งด่วน มาตรการระยะสั้น และมาตรการการแก้ไขปัญหาระยะยาว

สำหรับมาตรการเร่งด่วน ได้แก่

1.ห้ามส่งออกหมูมีชีวิตเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2565 ถึง วันที่ 5 เมษายน 2565 เพื่อเพิ่มปริมาณเนื้อหมูภายในประเทศ และจะพิจารณาตามสถานการณ์ว่าควรให้มีการต่ออายุหรือไม่ โดยตัวเลขเบื้องต้นในปี 2564 มีการเลี้ยงหมูป้อนเข้าสู่ตลาด ประมาณ 19 ล้านตัว บริโภคในประเทศ 18 ล้านตัว ส่งออกไปต่างประเทศประมาณ 1 ล้านตัว

2.ช่วยเหลือด้านราคาอาหารสัตว์ โดยเฉพาะส่วนที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น การงดเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมหรือภาษี ,การจัดสินเชื่อพิเศษของ ธ.ก.ส. เพื่อให้เกษตรกรที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขได้กลับมาเลี้ยงใหม่ในพื้นที่ความเสี่ยงต่อโรคระบาดต่ำ การตรึงราคาจำหน่ายที่เหมาะสมและสอดคล้องกับต้นทุนที่เกิดขึ้น

3.เร่งสำรวจภาพรวมสถานการณ์การผลิตสุกร เพื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมายและมาตรการที่เหมาะสม พร้อมเพิ่มกำลังการผลิตแม่สุกรทดแทน โดยให้เกษตรกรใช้สุกรขุนตัวเมียมาใช้ทำพันธุ์ชั่วคราว เร่งเจรจาฟาร์มรายใหญ่ในการกระจายพันธุ์และลูกสุกรขุนให้กับรายย่อยและเล็กที่ต้องการกลับเข้ามาสู่ระบบใหม่ กำหนดโซนเลี้ยงและออกมาตรการบังคับใช้อย่างเหมาะสมเพื่อควบคุมโรค และเร่งรัดการวิจัยพัฒนาวัคซีนป้องกันโรค

มาตรการระยะสั้น ได้แก่ ส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ การขยายกำลังผลิตแม่สุกร สนับสนุนศูนย์วิจัยและบำรุงสัตว์ ในสังกัดกรมปศุสัตว์และเครือข่ายคู่ขนานกับฟาร์มเกษตรกรและภาคเอกชน เร่งศึกษาวิจัยยาและสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อลดความสูญเสียจากโรคระบาด

มาตรการระยะยาว กระทรวงเกษตรฯจะผลักดันการยกระดับมาตรฐานฟาร์มของเกษตรกรเพื่อป้องกันโรคระบาด ส่งเสริมให้ปรับปรุงเป็นฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม หรือ GFM มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่ามาตรฐานฟาร์ม GAP ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรกลับมาเลี้ยงสุกรใหม่ เพิ่มปริมาณการผลิตหมูให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภค สนับสนุนการเลี้ยงโดยจะมีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กู้ยืมจาก ธ.ก.ส. ในโครงการสานฝันสร้างอาชีพ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์ เร่งขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยเพื่อช่วยเหลือให้เข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว

มาตรการทั้งสามระยะ รัฐบาลเชื่อมั่นว่าจะทำให้ราคาเนื้อหมูกลับมาสู่ภาวะปกติได้อย่างแน่นอน

อย่างไรก็ดี สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ได้เสนออีกแนวทางคือ ให้มีการตั้ง “กองทุนฟื้นฟู” ขึ้นในอุตสาหกรรมนี้ โดยใช้โมเดลเรียกเก็บ “ค่าธรรมเนียมพิเศษ” หรือ Surcharge จากผู้ผลิตอาหารสัตว์ หรือผู้นำเข้าชิ้นส่วนต่าง ๆ ของหมู และนำเงิน Surcharge มาใช้ฟื้นฟูเกษตรกรรายย่อย แต่ขณะนี้ยังไม่ตกผลึกว่าจะเก็บเท่าไร เงินตั้งต้นกองทุนต้องเป็นเท่าไหร่

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนอากาศหนาวในตอนเช้า อุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย เตือนภาคใต้มีฝนตกบางแห่ง
"กรมโยธาฯ" จับมือ "คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล" ลงนาม MOU ช่วยชีวิตผู้ป่วยด้วยการบริจาคโลหิต
“ไทด์” แฉลึก! ยศใหญ่โทรปิดเกม สั่งย้าย “แตงโม” เข้านิติเวช รพ.ตำรวจ
เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น