“กมธ.สิทธิฯ-วุฒิสภา” ชงฯนายกฯตู่ ปรับระบบสื่อสารเรื่องข้อมูล หวั่น “โอมิครอน” ลามหนักจนกระทบระบบสาธารณสุข

วุฒิสภา - กมธ.สิทธิมนุษยชนฯ วุฒิสภา ส่งหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.ศบค. แนะจัดระเบียบการกระจายและการเข้าถึงวัคซีนให้สะดวกยิ่งขึ้น รวมทั้งต้องเร่งจัดการระบบการสื่อสารกับประชาชน ที่จะต้องมีความชัดเจนและถูกต้องของข้อมูล ก่อนประชาชนจะตื่นตระหนกจนกระทบต่อระบบสาธารณสุขของชาติ

การประชุมคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ครั้งที่ 1/2565 วันที่ 10 มกราคม 2565 โดยมีนายสมชาย แสวงการ เป็นประธาน ฯ ได้มีการหยิบยกสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 สายพันธุ์ “โอมิครอน” ระลอกที่ 5 ด้วยความห่วงใยต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ส่งกระทบหลายด้าน คณะกรรมาธิการจึงได้มีการสรุปความคิดเห็นเป็นข้อเสนอแนะเป็นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์สถานการณ์โควิด-19 เพื่อพิจารณาดำเนินการ จำนวน 4 ประเด็น

1.จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 สายพันธุ์ “โอมิครอน” (ระลอกที่ 5) ซึ่งมีการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้ประชาชนจำนวนมากทั้งผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 และผู้ที่ความต้องการที่จะฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (เข็ม 3) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันโรคดังกล่าว แต่ เนื่องจากระบบในการจองวัคซีนดังกล่าวมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานเปิดให้จองฉีดวัคซีน จึงทำให้ประชาชนเกิดความสับสนในการเข้ารับการฉีดวัคซีน ดังนั้น เห็นว่ารัฐบาลควรหาแนวทางการบริหารจัดการระบบการกระจายวัคซีนให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบการจองวัคซีนได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น

2. จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าว พบผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นและคาดว่า ในอนาคตอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ทั้งโรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลสนาม ที่ไม่สามารถจัดสรรการรักษาพยาบาลให้เพียงพอต่อผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 ได้ ดังนั้น รัฐบาลควรจัดระบบการรักษาพยาบาลให้มีความชัดเจน เพื่อให้ระบบสาธารณสุขของประเทศรองรับผู้ติดเชื้อที่จะเพิ่มขึ้นได้ เช่น กลุ่มผู้ติดเชื้อที่มีอาการไม่รุนแรง (กลุ่มสีเขียว) ควรกักตัวและรักษาอาการป่วยที่บ้านพัก (Home Isolation) กลุ่มผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงกลุ่มที่มีโรคประจำตัวและเด็กให้ส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เป็นต้น

3. ปัจจุบันประชาชนมีความต้องการชุดตรวจการติดเชื้อโรคโควิด – 19 (Antigen test kit หรือ ATK) เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ในการตรวจหาเชื้อภายในครอบครัว จึงเห็นว่า รัฐบาลควรจัดหาชุดตรวจดังกล่าวที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน รวมทั้งให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม

4. รัฐบาลควรมีการสื่อสารข้อมูลการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 ระลอกที่ 5 กับประชาชนโดยตรง ทั้งในเรื่องการเข้ารับการรักษาพยาบาล การเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการเตรียมความพร้อมและรองรับการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ นายสมชาย แสวงการ ประธานคณะกรรมาธิการฯ ยังระบุว่า การทำหนังสือข้อเสนอแนะ ต่อนายกรัฐมนตรี ครั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยภาครัฐในการมุ่งหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและป้องกันการแพร่ระบาดของสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกภาคส่วนที่จะร่วมมือกันให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ด้วยกัน

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทักษิณ" ลั่นอย่าฟังเสียงนกเสียงกา "รัฐบาล" ใกล้พัง หยันฝันลมแล้งยุบสภา จวกขาประจำด่านายกฯระวังให้ดี
"พิพัฒน์" รับยังไม่พอใจ ผลผลักดันขึ้นค่าแรง 400 บาท คาดหวังจะได้หลายจังหวัดกว่านี้
ตร.ไซเบอร์ บุกทลาย "เว็บพนันรายใหญ่" เมืองเชียงราย พบเงินหมุนเวียน 200 ล้านต่อเดือน
เพจดังโคตรแสบ! ตั้งฉายา สส.พรรคส้ม แห่กระทืบไลก์ “มะขิ่น ขอสไลด์”
จีนเตือน ‘ฟิลิปปินส์’ ถอนระบบขีปนาวุธสหรัฐฯ ตามคำมั่น
ซานต้าเริ่มตระเวนแจกของขวัญในวันคริสต์มาสอีฟ
บริกส์รับไทยเป็นหุ้นส่วนอย่างเป็นทางการมกราคมปีหน้า
ตำรวจเปรูปลอมตัวเป็น “เดอะ กริ๊นช์” ทลายแก๊งยาเสพติด
ปูตินเผยคืบหน้าแผนพัฒนาดินแดนยึดครองรัสเซีย
อธิบดีกรมการจัดหางาน รับมีการซื้อใบรับรองแพทย์ 'ตรวจโรคต่างด้าว' ขอความร่วมมือนายจ้างเข้มงวด หวั่นเกิดโรคระบาด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น