เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ครม.รับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน เสนอการแต่งตั้งโฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) (เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 มกราคม 2559) ที่กำหนดให้ทุกส่วนราชการแต่งตั้งผู้ทำหน้าที่โฆษกกระทรวงหน่วยงานอย่างเป็นทางการแล้วแจ้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรวบรวมรายชื่อเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ) โดยได้แต่งตั้ง นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ เป็นโฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) เพื่อให้การประชาสัมพันธ์เผยแพร่นโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงแรงงาน ตลอดจนผลการดำเนินงานของกระทรวงแรงงาน เป็นไปอย่างคล่องตัว ซึ่งกระทรวงแรงงานได้มีคำสั่งกระทรวงแรงงาน ที่ 246/2564 เรื่อง แต่งตั้งโฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) ด้วยแล้ว
และครม.รับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอการเปลี่ยนแปลงโฆษก สศช. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการดำรงตำแหน่งระดับสูงภายใน สศช. [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 มกราคม 2559) ที่กำหนดให้ทุกส่วนราชการแต่งตั้งผู้ทำหน้าที่โฆษกกระทรวง/หน่วยงานอย่างเป็นทางการ แล้วแจ้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรวบรวมรายชื่อเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ] สรุปได้ ดังนี้ 1.นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็น โฆษก สศช. 2.นางนภัสชล ทองสมจิตร ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน เป็น รองโฆษก สศช.
ครม.อนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอแต่งตั้ง นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ครม.อนุมัติการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ซึ่งจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ 4 ปี ในวันที่ 5 มิถุนายน 2564 ต่อไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2564 ถึงวันที่ 5 มิถุนายน 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอ
ครม.อนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษ จำนวน 9 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระ2ปี ดังนี้ 1.นายศรพล ตุลยะเสถียร (ด้านเศรษฐศาสตร์) 2.นายสราวุธ เบญจกุล (ด้านการเงินการธนาคาร) 3.พันตำรวจเอก ญาณพล ยั่งยืน (ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ) 4.นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส (ด้านกฎหมาย) 5.นายดำรงศักดิ์ เครือแก้ว (ด้านกฎหมาย) 6.พลเอก ณรงค์ฤทธิ์ อิศรัตน์ (ด้านความมั่นคงประเทศ) 7.พลตำรวจเอก ธนิตศักดิ์ ธีระสวัสดิ์ (ด้านการสอบสวนคดีอาญา) 8.พลตำรวจเอก ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล (ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน) 9.นายมานะ นิมิตรมงคล (ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป