“นพ.ธีระ” เผยติดเชื้อโควิด ไม่ใช่รักษาแล้วจบ! ยังโดนผลกระทบระยะยาวคงค้างในร่างกาย

"นพ.ธีระ" เผยติดโควิด ไม่ใช่รักษาแล้วจบ! ยังโดนผลกระทบระยะยาวคงค้างในร่างกาย

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด ผ่านทางเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat มีเนื้อหาดังนี้

14 มกราคม 2565 ทะลุ 320 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 2,924,753 คน ตายเพิ่ม 6,532 คน รวมแล้วติดไปรวม 320,352,433 คน เสียชีวิตรวม 5,537,649 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ อเมริกา ฝรั่งเศส อินเดีย อิตาลี และสเปน จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 83.39 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 87.27

ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 41.32 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 49.2

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 10 ใน 20 อันดับแรกของโลก

อัพเดต Omicron

1. พบความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยโควิด-19 อาการน้อยถึงปานกลางที่เป็น Long COVID นานถึงอย่างน้อย 8 เดือน

Phetsouphanh C และคณะจากมหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ ออสเตรเลีย เพิ่งเผยแพร่งานวิจัยใน Nature Immunology เมื่อวานนี้ 13 มกราคม 2565

จากความสนใจว่าอาการคงค้างที่เกิดขึ้นของผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 ที่เรารู้จักกันในชื่อ Long COVID นั้นมีอาการแสดงได้หลายระบบในร่างกาย รวมถึงระบบประสาทและภาวะทางจิตใจและอารมณ์ หลายอาการคล้ายกับภาวะที่พบหลังจาก SARS และ MERS ซึ่งมักพบในคนที่ติดเชื้อแล้วมีอาการน้อยถึงปานกลาง

ทีมวิจัยจึงศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการน้อยและปานกลาง และพบว่าแม้จะรักษาหายจากโควิดตอนแรกแล้วนานถึง 8 เดือน กลุ่มคนที่มีอาการคงค้างเป็น Long COVID ก็ยังมีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่สามารถตรวจพบได้อยู่

นี่จึงตอกย้ำความสำคัญให้เราตระหนักว่า การติดเชื้อนั้นไม่ใช่รักษาแล้วจบ ยังสามารถทำให้เกิดผลกระทบตามมาในระยะยาวของระบบต่างๆ ในร่างกายด้วย โดยภาวะ Long COVID นั้นเกิดได้ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก แม้โอกาสเกิดในเด็กจะน้อยกว่าผู้ใหญ่ก็ตาม

การป้องกันตัวอย่างเคร่งครัดเพื่อไม่ติดเชื้อ ลดละเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง

2. Huang J Sr. และทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Lanzhou ประเทศจีน เผยแพร่งานวิจัยใน medRxiv วันที่ 13 มกราคม 2565ทำโมเดลคาดการณ์การระบาดของ Omicron และนำเสนอผลคาดการณ์ว่า หลังจากระบาดหนักต้นปีนี้ อาจมีการปะทุขึ้นมาในประเทศแถบซีกโลกเหนือราวเดือนเมษายน และซีกโลกใต้ราวเดือนมิถุนายน แต่การปะทุจะไม่สูงนัก

อย่างไรก็ตาม คงต้องติดตามสถานการณ์กันต่อไป เพราะมีหลายปัจจัยที่จะมีอิทธิพลต่อการระบาดของทั่วโลก ทั้งสายพันธุ์ไวรัส ผลลัพธ์ของการควบคุมป้องกันโรคในรอบต้นปีนี้ รวมถึงนโยบายต่างๆ ของแต่ละประเทศที่จะส่งผลต่อความเสี่ยงในการระบาดซ้ำ และพฤติกรรมการป้องกันตัวของประชาชนในแต่ละพื้นที่

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ประดับเข็มเครื่องหมายผู้บังคับการเรือ ตำแหน่งที่สำคัญที่สุด เพราะเรือ คือหัวใจของกองทัพเรือ
ชาวบ้าน สุดทน หลังจากยอมทนดมกลิ่นขี้หมู มานานนับ 10 ปี
ทัวร์ลงหนักจนต้องถอย “จิรัฏฐ์” ยอมขอโทษ ปมพูดโจมตีฝ่ายตรงข้ามว่า "ตุ๊ด" อ้างเป็นคำพูดติดปา
กทม.หมดเวลายื้อ"ศาลปกครองสูงสุด"ยกคำร้องขอรื้อคดีหนี้ BTS "ชัชชาติ" ยื่นสภาฯ 12 พ.ย. ขออนุมัติงบฯ
เดือด "ทนายเดชา" โพสต์ปริศนา งานนี้อาจจะเป็นจุดจบของ "ทนายตั้ม"
จีนผวาสงครามการค้าหลังทรัมป์ชนะเลือกตั้ง
ผู้นำโลกแสดงความยินดีกับทรัมป์
ทรัมป์ประกาศชัยชนะศึกเลือกตั้งสหรัฐ
"นายกฯ" ยินดี "โดนัลด์ ทรัมป์" เป็นปธน.สหรัฐฯ พร้อมทำงานร่วมกัน
‘รองหมู’เผยพนง.สอบสวนกองปราบฯ ยังไม่ตั้ง 4 ข้อหา‘ทนายตั้ม’ เร่งเก็บหลักฐานให้สำนวนรัดกุม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น