“ดร.อนันต์” เผยเคสน่าสนใจติด “โอมิครอน” ทั้งคู่ แต่คุณสมบัติต่างกัน!

“ดร.อนันต์” เผยเคสน่าสนใจติด "โอมิครอน" ทั้งคู่ แต่คุณสมบัติต่างกัน!

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเรื่อง เคสน่าสนใจของโอมิครอนในประเทศไทย พร้อมเปิดเผยภาพเปรียบเทียบการตรวจพบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนของผู้ติดเชื้อ 2 คน แต่กลับพบว่าเชื้อมีคุณสมบัติแตกต่างกัน รวมถึงผลการตรวจATK ของผู้ติดเชื้อทั้ง 2 คน ที่พบว่า อีกคนเชื้อในร่างกายลดลงเร็วกว่าอีกคน

โดย ดร.อนันต์ เล่าว่า เมื่อช่วงหยุดยาวปีใหม่ที่ผ่านมา J และ K ได้เดินทางไปพักผ่อนที่เกาะแห่งหนึ่งในภาคใต้ของไทย กลับมาทั้งคู่มีอาการน่าสงสัยเลยไปซื้อ ATK มาตรวจพบผลเป็นบวกทั้งคู่ ทั้งคู่อาศัยอยู่ด้วยกันตลอด จึงเป็นไปได้สูงว่าจะติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดียวกัน ในวันเดียวกันทั้งคู่ได้ส่งตัวอย่างน้ำลายมาให้ผมเพาะเชื้อ และ ตรวจ ATK ทุกวัน เพื่อดูระดับของไวรัสในร่างกาย ซึ่งตั้งแต่วันแรกที่เริ่มตรวจพบเชื้อ K มีอาการไม่มาก ในขณะที่ J มีอาการชัดเจนกว่า แต่ไม่หนักมาก ทั้งคู่ home isolation อยู่ด้วยกัน

ทั้งนี้เมื่อนำตัวอย่างน้ำลายมาเพาะเชื้อแล้วพบสิ่งที่น่าสนใจมาก ตัวอย่างไวรัสจาก J สามารถติดเชื้อเข้าเซลล์ได้อย่างรวดเร็ว มีการหลอมรวมกันของเซลล์เหมือนที่พบได้ในเซลล์ที่ติดไวรัสเดลตา ขณะที่ไวรัสจาก K ติดเชื้อได้ไม่ดี เซลล์เปลี่ยนแปลงรูปร่างไม่ชัด และใช้เวลาหลายวันกว่าเชื้อจะเพิ่มจำนวนจนตรวจสอบได้ ทำให้คาดว่า J คงติดเดลตามา และ K อาจติดโอมิครอน แต่เมื่อนำ RNA ของไวรัสมาตรวจสอบเพิ่มเติม พบว่า ไวรัสของทั้ง 2 คน เป็นโอมิครอนทั้งคู่ แต่ โอมิครอนของทั้ง 2 คน มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ของ K เหมือนกับหลายที่รายงานว่า ติดเซลล์ได้ช้าและไม่ทำให้เซลล์เกิดการรวมตัวกัน ในขณะที่ J เป็น โอมิครอนที่มีลักษณะเหมือนที่พบในไวรัสเดลตา

ผลจากการตรวจ ATK เป็นประจำทุกวันของทั้ง 2 คน เหมือนจะสอดคล้อง คือ ปริมาณไวรัสในตัว K ลดลงไวมากภายใน 3 วัน ขณะที่ปริมาณไวรัสใน J เป็นแถบสีเข้มมากเป็นเวลานานถึง 8 วัน ก่อนเริ่มลดลงอย่างเห็นชัดในวันที่ 9 ซึ่งบ่งชี้ว่าปริมาณไวรัสใน J มีสูงและอยู่ในร่างกายนานกว่า K ชัดเจน ที่น่าสนใจคือ K ได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกา มา 2 เข็ม ในขณะที่ J ได้วัคซีนไฟเซอร์ เข็มที่ 3 มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงการศึกษาข้อมูลเชิงลึก โดยการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสทั้ง 2 สายพันธุ์ ซึ่งเชื่อว่ามีความแตกต่างกันอย่างแน่นอน ทีมวิจัยคงรวบรวมผลวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในเร็วๆนี้

ดร.อนันต์ ทิ้งท้ายว่า ไวรัสโอมิครอนดูเหมือนจะมีความหลากหลายในตัวเอง ข้อมูลส่วนใหญ่ที่มีตอนนี้มาจากสายพันธุ์หลักที่ระบาดเป็นวงกว้าง ขณะที่โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยอาจมีความแตกต่างกันทางไวรัสวิทยาอย่างชัดเจน ในประเทศไทยก็สามารถตรวจพบโอมิครอนที่แตกต่างกันได้ เราต้องทำความรู้จักไวรัสตัวนี้ให้มากขึ้นกว่านี้มาก ก่อนจะมีข้อสรุปอะไรที่ชัดเจน

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นักเขียนซีไรท์" ชวนให้คิด ถ้า "พรรคส้ม" มีอำนาจ ทำไมอยากยุบ 1 สถาบัน 5 องค์กร
“สุชาติ” รมช. พาณิชย์ ยืนยันไม่ได้หายไปไหน เดินหน้าผลักดันส่งออก ชี้ต้องการทำให้ FTA มีประโยชน์สูงสุด
เหนือ-อีสาน หนาวจัด บางพื้นที่มีน้ำแข็งค้าง 8 จว.ใต้ เจอฝนฟ้าคะนอง กทม.มีหมอกบางช่วงเช้า เย็นสุด 19 องศา
"ปลาหมอคางดำ" แก้เป็นระบบเดินหน้าครบ 5 มาตรการ จบปัญหา หนุนคืนความสมดุลสู่ระบบนิเวศ 
ผลงานชิ้นโบว์แดง "หิมาลัย" เผย "พีระพันธุ์-เอกนัฏ" ผสานกำลังปลดล็อก "โซลาร์รูฟท็อป" ได้สำเร็จ
“อรรถวิชช์-พงศ์พล-ฐิติภัสร์” พร้อมใจโพสต์ปกป้อง “พีระพันธุ์-เอกนัฏ” หลังสื่อทำเนียบตั้งฉายา “พีระพัง” ลั่นพร้อมพังทุกรูปแบบการโกงกิน
"การรถไฟฯ" ออกแถลงการณ์ ยันเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ "ที่ดินเขากระโดง" เดินหน้าทวงคืนตามกม. ไม่ใช่ละเมิดสิทธิปชช.
‘อี้ แทนคุณ’ พาเหยื่อร้องปคม. ถูกหลอกข้ามแดนลวงเปิดบัญชีม้า หลังพบมีหมาย 450 คดี
คืนส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2568 รถไฟฟ้าบีทีเอส - สายสีทอง ขยายเวลาให้บริการถึงตี 2
“เพื่อไทย” จัดเต็ม ชาวเชียงใหม่เรือนหมื่นแห่ฟัง “ทักษิณ” สว.ก๊องมั่นใจ พ่อใหญ่แม้วช่วยหาเสียงชนะแน่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น