เพจ “กฎหมายแรงงาน” ไขสงสัย ไม่รับปริญญา ไม่รับทำงานได้หรือไม่?

เพจ "กฎหมายแรงงาน" ไขสงสัย ไม่รับปริญญา ไม่รับทำงานได้หรือไม่?

เฟซบุ๊กเพจ “กฎหมายแรงงาน” โพสต์ข้อความระบุว่า จากการที่แพทย์หญิงท่านหนึ่งออกมาโพสต์ “ไม่เข้ารับปริญญา ระวังเขาจะไม่รับเข้าทำงาน” ส่งผลให้เกิด #ไม่รับปริญญา

และยังได้กล่าวถึงการดูโทรศัพท์ ซึ่งถือเป็นการล่วงล้ำเข้าไปทำลายความเป็นส่วนตัว โดยเอาเงื่อนไขการรับสมัครงาน ซึ่งการไม่เข้ารับปริญญาอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ไม่มีเงิน เพราะการรับปริญญามีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร หรือหลายอาจเรียนเพื่อต้องการความรู้แต่ก็ไม่ได้สนใจเข้ารับปริญญา โดยปกติมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาจะเปิดให้ลงทะเบียนว่าใครจะเข้ารับปริญญาบ้าง และใครจะไม่เข้ารับปริญญา ซึ่งก็เป็นการให้สิทธิหรือเสรีภาพที่จะเข้ารับหรือไม่

ส่วนจะรับปริญญากับใครก็สุดแล้วแต่ อย่างต่างประเทศก็อาจรับกับอธิการบดี ในไทยหากเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐก็อาจรับกับราชวงศ์ มหาวิทยาลัยเอกชนส่วนใหญ่ก็รับกับอธิการบดี หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งการวางกติกาว่า หากใครไม่เข้ารับปริญญาจะไม่รับเข้าทำงานนั้นถือว่าผิดธรรมชาติการรับคนเข้าทำงานที่จะต้องพิจารณาจากความรู้ความสามารถ หรือทัศนคติ และการไม่เข้ารับปริญญาก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลเหล่านั้นจะมีทัศนคติที่ไม่ดีเสมอไป

ขณะเดียวกัน แม้มีการกำหนดกติกาการรับสมัครงานเอาไว้แต่เมื่อตราบใดที่ยังไม่มีสถานะเป็นลูกจ้าง ก็ไม่อาจนำกฎหมายคุ้มครองแรงงานเข้าไปใช้บังคับได้ แต่เมื่อเปิดรัฐธรรมนูญมาดูเราก็จะพบกับหลักการห้ามเลือกปฎิบัติงถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นในทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งหลักการเหล่านี้ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิดการใช้อำนาจตามอำเภอใจ

การเลือกปฎิบัติและทัศนคติที่มองคนเห็นต่างเป็นศัตรูย่อมเป็นอันตรายต่อความก้าวหน้าของสังคม จริง ๆ แล้วตราบาปที่ถูกบันทึกไว้จากการเลือกปฎิบัติในสังคมไทย มีหลายกรณี ดังนี้

1. การเลือกปฎิบัติเพราะความแตกต่างในเรื่องเพศ เกิดกรณีบริษัทได้กำหนดให้ลูกจ้างหญิงเกษียณอายุ 55 ปี ลูกจ้างชายเกษียณ 60 ปี ซึ่งเป็นการเลือกปฎิบัติกรณีเกษียณเพราะเหตุความแต่งต่างในเรื่องเพศ ส่งผลให้การกำหนดอายุการเกษียณของเพศหญิงเป็นโมฆะ (คำพิพากษาที่ ๒๑๒๗/๒๕๕๕)
2. การเลือกปฎิบัติเพราะความพิการทางร่างกาย เคสนี้ น่าตกใจมากเพราะเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้บังคับใช้กฎหมายเอง เรียกว่า “ความพิการของกฎหมายและผู้บังคับใช้กฎหมาย” โดยเป็นกรณีการเลือกปฎิบัติต่อผู้พิการในการสอบเป็นผู้ช่วยอัยการ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๑๔๒/๒๕๔๗) และการตัดสิทธิทนายโปลิโอในการเข้าสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา
3. การเลือกปฎิบัติเพราะผลการเรียนเป็นกรณีที่เกิดกับการเลือกรับราชการ โดยรับเฉพาะเกียรตินิยม คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด และน่าตกใจที่แนวคิดการเลือกปฎิบัติอันเกิดจากการไม่เข้ารับปริญญา ขอเถอะจงเลือกจากความสามารถและคุณค่าในตัวเขา

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"จุฬาราชมนตรี" แถลงเตรียมจัดงาน "เมาลิดกลาง แห่งประเทศไทย" ครั้งที่ 59 เริ่ม 18- 20 เม.ย.นี้
จนท.รวบ "หนุ่มไทยเชื้อสายอินเดีย" หอบเงิน 15.7 ล้าน เข้าไทย อ้างเล่นพนันได้จากฝั่งปอยเปต
โผล่อีก “หมู่บ้านเขมร” จองแผ่นดินไทย อึ้ง! อุ้มลูกเดินยั้วเยี้ย ตร.เพิ่งจะจับ
งามไส้! “หนุ่มไทย” พกปืน-กระสุนใส่เต็มแม็ก คุ้มกัน “พม่าเถื่อน” เข้าเมือง
ผู้นำสหรัฐเรียกนายกฯแคนาดาว่า” ขี้แพ้”
เพจดังจับโป๊ะพรรคส้ม ขุดยับ “เท้ง-ไอซ์” นำทีมสส.ร่วมทริปกมธ. บินเกาหลีใต้ ใช้งบฯหลักล้านคาใจดูงานแน่เปล่า
มัสก์จี้ข้าราชการอเมริกันเขียนรายงานวันๆทำอะไรบ้าง
ผู้ปกครองพา "ด.ช.วัย 13" ร้องสายไหมต้องรอด ถูกสาวสอง สร้างไอจีปลอม ลวงทำอนาจาร
"ทักษิณ" เอ่ยขออภัยเหตุการณ์ "ตากใบ" ปี 47 ลั่นไม่ตกใจ เหตุบึ้มรถในสนามบินนราฯ รับลงชายแดนใต้
“ทักษิณ” ลั่นปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ ต้องจบในรัฐบาลนี้ ยึดการพูดคุย เป็นแนวทางสร้างสันติสุข

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น