นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยความคืบหน้าการตรวจสายพันธุ์โควิด-19 ไทยพบการติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะนี้พบทั้ง 77 แล้ว พบมากที่สุดในกรุงเทพฯ 4,178 คน ชลบุรี 837 คน และ ภูเก็ต 434 คน แนวโน้ม สมุทรปราการ และเชียงใหม่ เพิ่มขึ้น
การติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน พบว่า มาจากต่างประเทศ 97% ติดเชื้อในประเทศ 80.4% คาดว่า ปลายเดือนนี้ การติดเชื้อภายในประเทศเท่ากับที่มาจากต่างประเทศ 97-98% สายพันธุ์เดลตาจะหายไป ในการสุ่มตรวจหาเชื้อจะมีการตรวจหาเชื้อทุกคนที่เดินทางมาจากต่างประเทศแถบชายแดน เนื่องจาก กังวลว่าจะนำเชื้อเข้ามา จากนั้นก็จะสุ่มตัวอย่างออกมาประมาณ 140 ตัวอย่าง เพื่อนำมาถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว อย่างไรก็ตาม ต่อไปกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังมีการตรวจอยู่ แต่จะลดลง เนื่องจาก คนที่เดินทางมาจากต่างประเทศเมื่อพบการติดเชื้อจะเป็นโอไมครอน 100% แต่ยังต้องถอดรหัสพันธุกรรมอยู่ เนื่องจาก ต้องดูว่าโอไมครอนมีการเปลี่ยนแปลงหรือการกลายพันธุ์หรือไม่
-สัดส่วนสายพันธุ์ที่เฝ้าระวัง แบ่งตามกลุ่มย่อยของกลุ่มภายในประเทศ การตรวจระหว่างวันที่ 11-17 ม.ค.65 จำนวนตัวอย่าง 727 ตัวอย่าง พบโอไมครอน 83.77%
-กลุ่มคนติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง จำนวน 61 คน พบว่าเป็นเดลตา 32.8% โอไมครอน 67.2% ยืนยันว่าโอไมครอน รุนแรงน้อยกว่าเดลตา เนื่องจาก เดลตามากกว่าค่าเฉลี่ย
-กลุ่มคนเสียชีวิต และอาการรุนแรง ยังพบเป็นเดลตาสูงกว่าโอไมครอน
-กลุ่มที่ได้รับวัคซีนสองเข็มครบถ้วนและมีการติดเชื้อ 358 คน พบเป็นเดลตาพอสมควร เป็นโอไมครอน 72.35%
-บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ 59 คน พบเป็นเดลตา 25.4% เนื่องจาก ได้รับวัคซีนเข็ม 3 และ เข็ม 4 มากกว่าคนทั่วไป และพบโอไมครอน 74.58%
-กลุ่มที่ติดเชื้อซ้ำ จากตัวอย่าง 8 คน พบโอไมครอน 100% หมายความว่า คนที่ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาแล้ว สามารถติดเชื้อได้อีก แต่จะไม่ใช่สายพันธุ์เดลตา แต่เป็นโอไมครอน
-การตรวจสอบในเชิงพื้นที่ เขตสุขภาพต่างๆ หลายเขตที่พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนจำนวนมาก เขต 4 เขต 6 และ เขต 7 เกือบจะ 90% และเขต 13 กทม.พบการติดเชื้อ 86% ส่วนใหญ่เป็นโอไมครอน ส่วนเขตสุขภาพที่ 12 ในภาคใต้ พบการติดเชื้อโอไมครอน และ เดลตา สัดส่วนคนละครึ่ง เนื่องจาก ไม่มีสถานบันเทิง เชื้อไม่ได้มาจากมาเลเซีย แต่ในที่สุดแล้วจะถูกแทนด้วยโอไมครอน
CR:กระทรวงสาธารณสุข