“อธิบดีกรมปศุสัตว์” แฉสต็อกหมูในห้องเย็น 14 ล้านกิโล ส่อเก็งกำไร

“อธิบดีกรมปศุสัตว์” รายงานตรวจฟาร์มหมูทั่วประเทศตามคำสั่งนายกฯแล้ว คาดตลอดทั้งปีจำนวนหมูลดลง 11.81% ชี้ราคาพุ่งอาจมีสาเหตุอื่นด้วย แฉสต็อกหมูในห้องเย็น 14 ล้านกิโล อาจจงใจหลบเลี่ยงอะไรบางอย่าง ส่อมีพฤติกรรมเก็งกำไร วอนนำออกมาขาย

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทั่วประเทศออกตรวจนับจำนวนสุกรมีชีวิตรอบการผลิตแรกของปี 65 พบว่า มี 10.847 ล้านตัว โดย 1 ปีมี 2 รอบการผลิต คาดว่าตลอดทั้งปีจะลดลง 11.81% เมื่อจำแนกพบว่า สุกรพ่อพันธุ์มี 4.9 หมื่นตัว ลดลง 41.1% สุกรแม่พันธุ์มี 9.79 แสนตัว ลดลง 11.16% และสุกรขุนมี 9.569 ล้านตัว ลดลง 13.90% สาเหตุที่ลดลงเนื่องจากผู้เลี้ยงรายย่อยชะลอการเลี้ยง เพราะไม่มั่นใจตลาดที่เกิดจากสถานการณ์โควิด-19 รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับโรคระบาด ตลอดจนมีการทำลายสุกรในพื้นที่เสี่ยงเพื่อลดความหนาแน่นของสุกรที่เลี้ยงตามระบาดวิทยาทางการแพทย์ ทำให้ผู้เลี้ยงทั้งประเทศมี 1.07 แสนราย โดยผู้เลี้ยงรายย่อยและรายเล็กมีสัดส่วนมาก แต่จำนวนสุกรน้อย ส่วนผู้เลี้ยงรายกลางและรายใหญ่สัดส่วนน้อย แต่จำนวนสุกรที่ผลิตได้รวมกันมากกว่า 70% ของสุกรที่ทั้งประเทศ โดยจำนวนสุกรที่หายไปเป็นของรายย่อยที่หยุดเลี้ยง แต่ของรายใหญ่แทบไม่ลดลง ดังนั้นอาจส่งผลกระทบให้เนื้อสุกรที่ออกสู่เขียงน้อยลงในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งพึ่งพาสุกรจากผู้เลี้ยงรายย่อย แต่ในซูเปอร์มาร์เก็ตที่รับเนื้อสุกรจากรายใหญ่ยังมีตามปกติ ดังนั้นปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาสูงขึ้นจึงไม่ใช่เพราะจำนวนสุกรที่ลดลงอย่างเดียว แต่อาจมีสาเหตุอื่นร่วมด้วย

อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงการตรวจสอบห้องเย็นด้วยว่า ทั่วประเทศมี 1,000 กว่าแห่ง ตรวจแล้ว 500 กว่าแห่ง พบเนื้อหมูจัดเก็บกิโลกรัมบางแห่งมีใบเคลื่อนย้าย แต่ระบุไม่ได้ว่า สุกรมาจากไหน บางแห่งไม่แจ้งการจัดเก็บต่อกระทรวงพาณิชย์ ขณะนี้ยังไม่ได้กล่าวหาว่า กักตุนเพื่อเก็งกำไร ซึ่งตามกฎหมายเปิดให้นำใบขออนุญาตเคลื่อนย้ายโดยจะต้องแจ้งต่อกรมปศุสัตว์ทุกครั้ง และนำใบแจ้งจัดเก็บต่อกระทรวงพาณิชย์มาแสดง หากนำมาแสดงได้จะถอนอายัด แต่ถ้านำมาแสดงไม่ได้ต้องกล่าวโทษตามกฎหมาย ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่าอาจหลบเลี่ยงอะไรบางอย่าง จึงต้องวิเคราะห์เป็นรายๆ แต่ตามสามัญสำนึก เมื่อสุกรมีน้อยลงและราคาสูงขึ้น ควรนำเนื้อสุกรที่มีอยู่มาจำหน่าย แม้ผู้ค้าย่อมหวังกำไร แต่ต้องไม่หวังมากจนทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อน จึงสงสัยว่า มีพฤติกรรมเก็งกำไรหรือไม่ อีกทั้งปริมาณที่ตรวจพบเกือบ 14 ล้านกิโลกรัม เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยการบริโภคเนื้อสุกรของคนไทย 20 กิโลกรัมต่อคนต่อปี จึงเพียงพอต่อการบริโภคถึง 700,000 คนต่อปี

สำหรับการทำ “เกษตรพันธสัญญา” ด้านปศุสัตว์พบว่า มี 56 บริษัท เป็นสุกร 14 บริษัทและสัตว์ปีก 42 บริษัทตามพ.ร.บ. เกษตรพันธสัญญา โดยเกษตรกรต้องไปแจ้งต่อเกษตรและสหกรณ์จังหวัดซึ่งเป็นนายทะเบียน แต่ในรายที่จังหวัดนครปฐมซึ่งมีลูกฟาร์มของบริษัทแห่งหนึ่งออกมาระบุว่า ทางบริษัทยังไม่มาจับสุกรไป ทั้งที่เลี้ยงได้ตามน้ำหนักแล้ว มีข้อน่าสงสัยเนื่องจากหากสุกรในตลาดขาดก็ควรจับ จึงมีนัยยะว่า อาจเป็นการบริหารสต็อก โดยเมื่อห้องเย็นเต็ม จึงเก็บไว้ในลักษณะสุกรมีชีวิตเพราะใกล้ตรุษจีน

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ขอความร่วมมือให้นำเนื้อสุกรที่เก็บไว้ในสต็อกมาจำหน่าย เพื่อไม่ให้มีผู้หาผลประโยชน์ซ้ำเติมประชาชน ทั้งนี้เมื่อนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สั่งการให้บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยไม่เลือกปฏิบัติจึงเชื่อมั่นว่า จะหาตัวผู้ฉวยโอกาสสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนและทำให้ประเทศเสียหายมารับโทษได้

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น