ม.ขอนแก่น ค้นพบบึ้งสกุลใหม่ของโลก ที่ จ.ตาก พร้อมตั้งชื่อ “บึ้งปล้องพระเจ้าตากสิน”

ม.ขอนแก่น ค้นพบบึ้งสกุลใหม่ของโลก ที่ จ.ตาก พร้อมตั้งชื่อ “บึ้งปล้องพระเจ้าตากสิน” หลังพบบนพื้นที่ภูเขาสูงกว่า 1,000 เมตร อาศัยอยู่ในป่าไผ่ วอนประชาชนช่วยกันรักษาผืนป่าหวั่นบึ้งสูญพันธ์ ขณะที่ “นรินทร์”เผยเป็นการค้นพบบึ้งสายพันธุ์ใหม่ในรอบ 104 ปี ของทวีปเอเชีย

วันที่ 2 ก.พ. 2565  ที่อาคาร 5101 คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น รองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ ดรุณี โชดิษฐยางกูล คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ ปรเมศ บรรเทิง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและการต่างประเทศ แถลงข่าวการค้นพบบึ้งต้นไม้สกุลใหม่ของโลก Taksinus bambus หรือ บึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน ซึ่งเป็นการค้นพบบึ้งสกุลใหม่ของเอเชียในรอบ 104 ปี และยังเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการค้นพบบึ้งสกุลใหม่จากประเทศไทยโดยถูกค้นพบเป็นครั้งแรกที่จังหวัดตาก และได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

โดยลักษณะนิเวศวิทยาของบึ้งชนิดนี้มีความพิเศษ เนื่องจากเป็นบึ้งชนิดแรกในโลกที่มีการดำรงชีวิตอยู่เฉพาะบนต้นไผ่เท่านั้น สร้างความน่าประหลาดใจแก่วงการวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีบึ้งต้นไม้อยู่เพียง 4 สกุลคือ Omothymus, Lampropelma, Phormingochilus และ Melognathus กระจายตัวอยู่ในแถบมาเลเซีย สิงคโปร์ สุมาตรา บอเนียว อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยบึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน ถูกค้นพบห่างไกลออกไปในทางพื้นที่ภูมิศาสตร์ทั้งหมดที่เคยถูกค้นพบมาก่อนหน้านี้ โดยค้นพบในป่าไผ่บนภูเขาสูงกว่า 1,000 เมตร ในพื้นที่จังหวัดตาก บึ้งเป็นสัตว์ไม่สามารถเจาะรูไม้ไผ่ได้เอง จากการศึกษาสันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากสัตว์ฟันแทะเจาะเข้ามาใช้ประโยชน์ในการหาอาหารจากไผ่เพื่อกินหนอนที่อยู่ภายใน รวมถึงอาจเกิดจากสัตว์อื่น ๆ เช่น แมลงที่เจาะเข้าไป หรือเกิดกจากการปริแตกตามธรรมชาติของต้นไผ่ รวมจากการกระทำของคน บึ้งชนิดนี้จะอาศัยอยู่ภายในปล้องไผ่โดยสร้างใยปกคลุมล้อมรอบภายในปล้อง และมักออกมาหาอาหารซึ่งจะเป็นสัตว์ขนาดเล็กหรือแมลงในช่วงกลางคืน

ลักษณะสำคัญในการจำแนกบึ้งสกุล Taksinus มีลักษณะแตกต่างจากบึ้งต้นไม้ในสกุลอื่น ๆ คือลักษณะของอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ที่สั้นและความชันของส่วนปลายน้อยกว่าบึ้งต้นไม้ในสกุลอื่นที่พบทั้งหมด รวมทั้งบึ้งสกุลนี้ยังมีขนาดเล็กกว่าบึ้งต้นไม้ในสกุลอื่น ๆ ด้วย แต่ปัจจุบันพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยเหลืออยู่เพียง 31 เปิร์เซ็นต์ หากในอนาคตพื้นที่ป่าลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง บึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน ก็เป็นหนึ่งในสัตว์ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ อันเนื่องมาจากลักษณะการดำรงชีวิตที่ผูกติดกับป่าไผ่ และสามารถพบได้บนพื้นที่บนภูเขาสูงทางภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น.

 

ภาพ/ข่าว นิติกรณ์ ฝางมาลา ผู้สื่อข่าวภูมิภาค  จ.ขอนแก่น

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น