“อัษฎางค์” เตือนหลักสูตร รร.-สถาบันศึกษาอ้าง “ปฏิรูป”ล้มล้างการปกครอง! ย้ำคนไทยต้องช่วยกันตัดตอนก่อนจะสายเกินไป

"อัษฎางค์" เตือนหลักสูตร รร.-สถาบันศึกษาอ้าง “ปฏิรูป”ล้มล้างการปกครอง! ย้ำคนไทยต้องช่วยกันตัดตอนก่อนจะสายเกินไป

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก “เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค” ระบุว่า “โรงเรียนทางเลือกหรือสถาบันล้างสมองเยาวชน” ถ่ายทอดวิชาการหรือฝึกฝนนักปฏิวัติ เหล้าเก่าในขวดใหม่ วิธีการเก่าๆ ที่ถูกนำมาใช้ใหม่ในปัจจุบัน ที่คุณคนไทย…อาจไม่ทันรู้ตัว

นายอัษฎางค์ กล่าวว่า จีนประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐและจีนแบบคอมมิวนิสต์เมื่อสมัยก่อน ใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งแนบเนียนและนุ่มนวลกว่าการใช้กำลังโดยตรง โดยค่อย ๆ ปลูกฝังความรู้สึกนึกคิดเรื่องการปฏิวัติให้กับเด็กๆ อย่างช้าๆ และแนบเนียน หนึ่งในยุทธวิธี คือการบิดเบือนประวัติศาสตร์ บิดเบือนข้อเท็จจริงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม เพื่อจุดมุ่งหมายในการปลูกฝังให้มีทัศนคติในเรื่องต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นสถาบันหลักของการปกครองของชาติอย่างช้า ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพื่อเปลี่ยนประเทศให้เป็นคอมมิวนิสต์หรือสาธารณรัฐในที่สุด เป็นการปลูกฝังลัทธิทางการเมืองแบบค่อยเป็นค่อยไปแบบไม่รู้ตัว นานไปข้างหน้าเมื่อเด็กเหล่านี้โตขึ้นจะเป็นภัยต่อต่อความมั่นคง พ่อแม่ผู้ปกครองผู้ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้ลูกหลานได้รับการศึกษาเล่าเรียนแบบทางเลือก แต่โรงเรียนแบบนี้กลับมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันไป โดยแอบสอดแทรกเพื่อเผยแพร่ความคิดและทัศนคติที่มีผลต่อความมั่นคงทางการเมือง

นายอัษฎางค์ กล่าวว่า ต่อไปนี้คือตัวอย่างภัยคุกคามความมั่นคงจากจีนแดงในอดีต ซึ่งจีนปัจจุบันเป็นคอมมิวนิสต์ที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ที่นอกจากไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงแล้วยังเป็นมหามิตรที่มีความจริงใจกับไทย ผิดกับมหาอำนาจตะวันตกที่เล่นบทที่ซ้อนเร้นภัยคุกคามกับไทยในปัจจุบัน ชาวจีนในเมืองไทยในอดีตมักขอจัดตั้งโรงเรียนจีน ด้วยข้ออ้างว่ามีจุดมุ่งหมายให้ลูกหลานชาวจีนได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาการต่าง ๆ เป็นภาษาจีน แต่ความจริงใจโรงเรียนจีนหลายแห่งกลับมีจุดมุ่งหมายที่มุ่งเผยแพร่เผยแพร่ลัทธิไตรราษฎร์ ของ ดร. ซุนยัดเซ็น (การปกครองแบบสาธารณรัฐ) หรือไม่ก็เผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ ตัวอย่างเช่น โรงเรียนอนุบาลซันเหมิน ธนบุรี ให้นักเรียนหยุดการเรียนในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2470 ซึ่งเป็นวันชาติของสาธารณรัฐจีน และทำการตกแต่งธงชาติจีนที่หน้าโรงเรียน และมีธงที่มีอักษรจีนซึ่งแปลความได้ว่า “การปฏิวัติในจีนยีงไม่สำเร็จ ต้องร่วมมือกันให้บรรลุผลขั้นสุดท้ายให้จงได้”

ข่าวที่น่าสนใจ

นายอัษฎางค์ กล่าวต่อว่า โรงเรียนเอ๋งเม้ง ธัญบุรี และโรงเรียนก๊กมิ้น อยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2472 นำในปลิวที่เผยแพร่ลัทธิ “ลัทธิซุนบุ๋น” ใส่กรอบติดไว้ที่โรงเรียน ซึ่งใบปลิวนี้กล่าวถึง”ลัทธิการเปลี่ยนแปลงระบอบปกครองให้เป็นประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ” และยุยงให้เกลียดชังคนชาติอื่น โรงเรียนจิ้นเต็ก กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2472 เปิดดาดฟ้าของของโรงเรียนเป็นศาลเจ้า และขายน้ำชาหารายได้ ทำให้มีกลุ่มคนชาวจีนไปพบปะชุมนุมเป็นประจำ ต่อมาตำรวจสืบทราบว่า เป็นการพบปะกันของชาวจีนคอมมิวนิสต์เพื่อประชุมวางแผนงานกัน โดยใช้การดื่มน้ำชาเป็นฉากบังหน้า ซึ่งนั้นคือตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น ยังมีการเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกันนี้ในอีกหลายโรงเรียนทั่วประเทศ

นายอัษฎางค์ กล่าวว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเคลื่อนไหวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในโรงเรียนจีน เป็นเรื่องที่สร้างความน่ากังวลจนเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำกรุงเทพฯ ทำให้มีหนังสือตั้งข้อสังเกตและชี้แจงเกี่ยวกับโรงเรียนจีนว่าเป็นแหล่งเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ ส่งให้กระทรวงการต่างประเทศสยามทราบ เพื่อให้รัฐบาลสยามได้หาทางป้องกัน ลักษณะหรือวิธีการดำเนินการของโรงเรียนจีนเหล่านี้ ทำให้เห็นถึงการแทรกซึมของลัทธิคอมมิวนิสต์หรือการปกครองในระบบสาธารณรัฐในสยามอย่างแนบเนียน

นายอัษฎางค์ กล่าวว่า ในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงมีกระแสพระราชดำรัสในที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภาว่า “เรื่องตำราของโรงเรียนจีนนี้จะต้องตรวจดูให้ดี เพราะมีการสอดแทรกการเมืองในตำราทุกเล่ม ทั้งนี้ เพราะจีนเอาอย่างมาจากโซเวียตรัสเซีย ซึ่งเป็นเจ้าตำรับลัทธิคอมมิวนิสต์โดยตรง” อย่าลืมว่า ปรีดี พนมยงค์ ก็เคยยอมรับว่าเขาได้รับอิทธิพลแนวความคิดการปกครองแบบสาธารณรัฐของจีน ผ่านทางข่าวสารและสื่อการเรียนการสอน ซึ่งในที่สุดได้หล่อหลอมให้ ด.ช.ปรีดี เติบโตมากลายเป็นนักปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในที่สุด พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรทรงตระหนักว่า โรงเรียนจีนได้กลายเป็นแหล่งปลูกฝังและเผยแพร่ลัทธิทางการเมืองซึ่งอาจเป็นภัยต่อสยาม จึงทรงคิดแก้ไขพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ โดยทรงนำเสนอต่อที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภา ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเห็นชอบโดยเร่งด่วน เพื่อจะได้ออกประกาศใช้พร้อมกับพระราชบัญญัติป้องกันการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ฉบับอื่น ๆ จนได้ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2470 มีบทบัญญัติเพิ่มเติมบางตอน ความว่า

“ ถ้าปรากฏว่ามีการสอนหรือเตรียมจะสอนลัทธิแบบแผนทางการเมืองหรือทางเศรษฐกิจในโรงเรียนใด ด้วยเจตนาคำนวณว่าจะให้เกิดความเกลียดชังต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือต่อรัฐบาล หรือต่อแผ่นดินก็ดี หรือจะให้มีการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลหรือพระราชกำหนดกฎหมายด้วยใช้กำลังบังคับ หรือกระทำร้ายก็ดี หรือจะให้คนทั้งหลายเกิดความไม่พอใจ และกระด้างกระเดื่อง ถึงอาจจะเกิดเหตุร้ายในแผ่นดินก็ดี หรือจะกวนให้เกิดขึ้นซึ่งความเกลียดชังระหว่างคนต่างชั้นก็ดี หรือจะยุยงให้คนทั้งหลายกระทำการล่วงละเมิดต่อรพะราชกำหนดกฎหมายก็ดี จะต้องถูกปิดโรงเรียนทันที ”

นายอัษฎางค์ กล่าวว่า กลยุทธ์ใช้โรงเรียนและสถาบันการศึกษา เป็นที่บ่มเพาะพืชพันธุ์ทางการเมืองในเรื่อง “การปกครองแบบสาธารณรัฐ” กำลังจะกลับมาซ้ำรอยประวัติศาสตร์อีกครั้งในยุคปัจจุบัน โดยขบวนการที่อ้างคำว่า “ปฏิรูป” ทั้งที่ความจริง “ซ้อนเร้นการล้มลางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”เอาไว้ในหลักสูตรและในโรงเรียนทางเลือก ไม่เฝ้าระวังหรือจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งตั้งแต่ต้นให้ทันท่วงที แล้วจะมาเสียใจที่หลังก็สายเกินไปแล้ว รัฐและข้าราชการผู้มีอำนาจหน้าที่ อยู่เฉยๆ หรือปฏิบัติการอย่างเชื่องช้า ด้วยเหตุผลเพียง 2 ข้อ คือ ไร้น้ำยา หรือไม่ก็มีความคิดไปในทางเดียวกันกับเขา คือต้องการปฏิรูป อันมีความหมายที่ซ้อนเร้นการล้มลางการปกครองเอาไว้นั้นเอง

นายอัษฎางค์ กล่าวว่า วิชาประวัติศาสตร์นอกจากเอาไว้เรียนรู้ที่มาที่ไปของชาติแล้ว ยังมีประโยชน์ในศึกษากรณีตัวอย่างของปัญหาการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่เคยเกิดขึ้นและมักเกิดขึ้นซ้ำอีก เพราะกลุ่มคนที่เป็นตัวปัญหายังไม่ตาย แต่เติบโตเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีอิทธิพลทางความคิดในสังคม คนที่เป็นตัวอันตรายต่อความมั่งคงของชาติในปัจจุบันเหล่านั้น แท้จริงก็คือผลผลิตจากโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาในอดีต หรือนักศึกษาที่เคยเดินขบวนต่อต้านการปกครองแล้วหนีเข้าป่า และผ่านการศึกษาอบรมเรื่องการปฏิวัติและลัทธิทางการเมือง แล้วกลับมาถ่ายทอดแนวคิดความเป็นขบถต่อสังคมให้กับคนรุ่นใหม่ต่อไปนั้นเอง

“รุ่นเขาที่ผ่านมาทำไม่สำเร็จ ไม่ได้แปลว่าจบ เพราะเขากลับมาสร้างกองทัพนักปฏิวัติรุ่นต่อไป จะรอให้สายเกินไปหรือตัดตอนตั้งแต่ต้น ขึ้นอยู่กับคนไทยทุกคน ต้องช่วยกันผลักดันและกดดันให้ผู้มีหน้าที่รู้ตัวว่า เขาต้องทำอะไร ก่อนจะสายเกินไป” นายอัษฎางค์ กล่าวว่า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น